ปัญหาการพัฒนาหลักสูตรไทย
1. ปัญหาการขาดครูที่มีคุณสมบัติเหมาะสม
2. ปัญหาการไม่ยอมรับและไม่เปลี่ยนแปลงบทบาทการสอนของครู
3. ปัญหาการจัดอบรมครู
4. ศูนย์การพัฒนาหลักสูตร ไม่เข้าใจบทบาทหน้าที่ของตน
5. ขาดการประสานงานที่ดีระหว่างหน่วยงานต่างๆ
6. ผู้บริหารต่างๆ ไม่สนใจเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงหลักสูตร
7. ปัญหาการขาดแคลนเอกสาร
ปัญหาหลักสูตรในการศึกษาปฐมวัย
การเรียนการสอนจะเน้นสอนเนื้อหาวิชาตามหลักสูตรมากกว่าการพัฒนาการเด็ก ทำให้เด็กเกิดความเครียด
- การไม่ได้ใช้ประโยชน์จากหลักสูตรอย่างเต็มที่
- แนวทางการปฏิบัติเกี่ยวกับการใช้หลักสูตรยังขาดความเป็นเอกภาพ
ปัญหาหลักสูตรในการศึกษาขั้นพื้นฐาน
- การจัดโครงสร้างหลักสูตรใหม่ทำให้ครูต้องสอนเนื้อหาหนักมากขึ้น และผู้เรียนต้องเรียนหนักมากขึ้น
- สถานศึกษาจัดทำเองไม่มีความชัดเจกรมวิชาการและกรมเจ้าสังกัดมีจุดเน้นที่ไม่ตรงกัน
- มีเสียงสะท้อนว่านโยบายการจัดทำหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2544 ที่ให้โรงเรียนจัดทำเองไม่มีความชัดเจน
- ทำให้ครูเกิดความสับสน
ปัญหาหลักสูตรการอาชีวศึกษา
ผู้เข้าเรียนในการอาชีวศึกษาไม่มีคุณภาพเท่าที่ควรหลักสูตรก่อนถึงระดับ ปวช. คือระดับมัธยมต้น หรือการศึกษาผู้ใหญ่เป็นการปูพื้นฐานความรู้ระดับต่ำ เช่น อ่าน สะกดคำไม่ได้ ขาดความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษ เมื่อมาเรียนต่อในระดับอาชีวศึกษาจึงเกิดปัญหา แม้ครูจะเตรียมการสอนดีอย่างไร ผู้เรียนไม่สามารถต่อยอดความรู้ได้ เพราะพื้นฐานความรู้ไม่ดีเพียงพอ
การจัดหลักสูตรสำหรับผู้ด้อยโอกาส
- ยังไม่เหมาะสม เพราะหลักสูตรยังยึดวิธีการแบบเก่าๆไม่สนองความต้องการและความสนใจและสอดคล้องกับวิถีชีวิตของผู้ด้อยโอกาสในแต่ละกลุ่มเป้าหมาย
สภาพและปัญหาของหลักสูตร
1. การกระจายโอกาสและความเสมอภาคทางการศึกษา
2. คุณภาพการศึกษา
3. หลักสูตรและการเรียนการสอน
4. การบริหารและการจัดการศึกษา
5. งบประมาณและการลงทุนทางการศึกษา
6. คุณภาพของผู้สำเร็จการศึกษา
7. แนวโน้มผู้เข้าเรียน
แนวโน้มการพัฒนาหลักสูตรประถมศึกษา
การศึกษาสำหรับเด็กเล็ก และก่อนประถมศึกษาจะขยายตัวมากกว่าระดับอื่น
- การเพิ่มคุณภาพของครูประถม
- การเพิ่มงบประมาณ การปรับปรุงคุณภาพ และหลักสูตรโดยเน้นการประกอบอาชีพ
- การพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนให้ใกล้ชิดยิ่งขึ้น
- การยุบโรงเรียนรวมเข้าด้วยกันแทนการสร้างโรงเรียนแห่งใหม่
แนวโน้มการพัฒนาหลักสูตรมัธยมศึกษา
- เป็นบุคคลที่มีความสามารถในการใช้ภาษา เพื่อการสื่อสาร
- มีความสามารถใช้เทคโนโลยีมาช่วยส่งเสริมทักษะการทำงานและการดำเนินชีวิต
- มีความสามารถปรับตัวอยู่ร่วมกับคนอื่นได้
- มีแนวทางที่จะเลือกดำเนินชีวิต
- มีความสามารถพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ของตนเองให้เจริญถึงขีดสุด
- มีความสามารถที่จะนำตนเองได้ การควบคุมตนเองได้
- มีโลกทัศน์ที่กว้างและมีน้ำใจแบบนานาชาติรวมทั้งมีค่านิยมและความสำนึกในความเป็นชาติไทยของตน
- มีค่านิยมคุณธรรมและจริยธรรม
- มีสุนทรียภาพในการดำเนินชีวิต
สภาพปัญหาการพัฒนาหลักสูตรของอุดมศึกษา
- ขาดแคลนอาจารย์ประจำที่มีคุณวุฒิและประสบการณ์โดยเฉพาะสาขาวิชาที่มีความต้องการมากทางด้านวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ และเกษตรกรรม
- อุดมศึกษามุ่งความเป็นเลิศทางวิชาการ ละเลยคุณธรรม จริยธรรม การบริการวิชาการแก่สังคม
- มหาวิทยาลัยมักเลียนแบบต่างประเทศโดยไม่เข้าใจ หลักการและเป้าหมายที่แท้จริงของหลักการที่เลียนแบบ
- การเรียนการสอนยังเน้นทฤษฎีมากกว่าปฏิบัติเน้นความรู้มากกว่าการนำไปใช้
- การตื่นตัวทางการวิจัยมุ่งการกำหนดให้เลื่อนตำแหน่งทางวิชาการซึ่งเน้นการวิจัยมากเกินไปจนทำให้ลดความสำคัญด้านการสอน
- กลุ่มผู้บริหารอุดมศึกษามีลักษณะอนุรักษ์นิยมสูง
- งบประมาณในการพัฒนาการศึกษาระดับนี้ก็ยังมีไม่เพียงพอ
แนวโน้มสำคัญของการศึกษาไทยใน 5 ปีข้างหน้า
- มุ่งพัฒนาหลักสูตรใหม่ ๆ อาทิ หลักสูตรที่บูรณาการระหว่างสองศาสตร์ขึ้นไป เช่น ระดับอาชีวศึกษา หลักสูตรเดียวจะมีหลายสาขาวิชาเรียนช่างยนต์ จะผนวกการตลาดและการบัญชีเข้าไปด้วย เป็นต้น หลักสูตรที่ให้ปริญญาบัตร 2 ใบ และมีการพัฒนาหลักสูตรให้ทันสมัยตลอดเวลา
- หลักสูตรนานาชาติมีแนวโน้มมากขึ้น เนื่องจากสภาพยุคโลกาภิวัตน์ที่มีการเชื่อมโยงด้านการค้าและการลงทุน
- การจัดการศึกษามีความเป็นสากลมากขึ้นสภาพโลกาภิวัฒน์ที่มีการเชื่อมโยงในทุกด้านร่วมกันทั่วโลก
- ความเหลื่อมล้ำด้านโอกาสทางการศึกษาลดลง
- โอกาสรับบริการทางการศึกษาที่มีคุณภาพเพิ่มขึ้น
การพัฒนาหลักสูตร
วันอาทิตย์ที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2558
15. การประเมินผลหลักสูตร(ต่อ)
ระยะของการประเมินหลักสูตร ระยะที่ 1 การประเมินหลักสูตรก่อนนำหลักสูตรไปใช้ (Project Analysis)
1.1 ประเมินหลักสูตรเมื่อสร้างหลักสูตรฉบับร่างเสร็จแล้ว
1.2 ประเมินผลในขึ้นตอนทดลอง
ระยะที่ 2 การประเมิน หลักสูตรระหว่างการดำเนินการใช้หลักสูตร (Formative Evaluation)
ระยะที่ 3 การประเมินหลักสูตรหลังการใช้หลักสูตร (Summative Evaluation)
1.มิติด้านข้อมูลที่มีอยู่ (Information Grasp)
2.มิติด้านปริมาณความเปลี่ยนแปลงที่ต้องการให้เกิดขึ้น (Degree of Change)
จากรูปแบบการประเมินผลหลักสูตรตามแนวคิดของสตัฟเฟิลบีมแสดงให้เห็นว่า
1.สถานการณ์ตัดสินใจที่ต้องการให้มีการเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อย แต่ทว่าข้อมูลที่จะช่วยในการตัดสินใจนั้นมีอยู่มาก สถานการณ์ตัดสินใจอย่างนี้เรียกว่า Homeostatic
2.สถานการณ์ตัดสินใจที่ต้องการให้มีการเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อย และข้อมูลที่จะช่วยในการตัดสินใจนั้นมีอยู่น้อย สถานการณ์ตัดสินใจอย่างนี้เรียกว่า Incremental
3.สถานการณ์ตัดสินใจที่ต้องการให้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมาก และข้อมูลที่จะช่วยในการตัดสินใจนั้นมีอยู่น้อย สถานการณ์ตัดสินใจอย่างนี้เรียกว่า Neomobilistic
4.สถานการณ์ตัดสินใจที่ต้องการให้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมาก และข้อมูลที่จะช่วยในการตัดสินใจนั้นมีอยู่มาก สถานการณ์ตัดสินใจอย่างนี้เรียกว่า Metamorphismจากที่กล่าวมาจะเห็นได้ว่า การตัดสินใจไม่ว่าจะอยู่ในสถานการณ์แบบไหน จำเป็นต้องอาศัยข้อมูลเชิงประมาณ (Evaluation Data) มาช่วยเป็นพื้นฐาน ในการตัดสินใจ
สตัฟเฟิลบีมได้ให้แนวคิดไว้ว่า การประเมินผลหลักสูตรนั้นมีสิ่งสำคัญที่เราต้องประเมินอยู่ 4 ด้าน คือ
1.การประเมินสภาพแวดล้อม (Context Evaluation) ในการประเมินสภาพแวดล้อมนี้ ผู้ประเมินอาจใช้วิธีดังต่อไปนี้
1.1 การวิเคราะห์ความคิดรวบยอด
1.2 การทำวิจัยด้วยการเก็บข้อมูลมาวิเคราะห์จริงๆ
1.3 การอาศัยทฤษฎีและความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ
2.ประเมินตัวป้อน (Inputs Evaluation) อาจทำได้โดย
2.1 จัดทำในรูปแบบของขณะกรรมการ
2.2 อาศัยงานวิจัยที่เกี่ยวข้องที่มีผู้ทำเอาไว้แล้ว
2.3 ว่าจ้างผู้เชี่ยวชาญมาให้คำปรึกษา
2.4 ทำการวิจัยเชิงทดลองเป็นการนำร่อง
3.การประเมินกระบวนการ (Process Evaluation) มีด้วยกันหลายวิธี
3.1 การสังเกตแบบมีส่วนร่วมปฏิบัติ
3.2 การวิเคราะห์ความสัมพันธ์
3.3 การสัมภาษณ์
3.4 การใช้แบบสอบถามประเภทมาตราส่วนประมาณค่า
3.5 การเขียนรายงานประเภทปลายเปิด
4.การประเมินผลผลิต (Products Evaluation)
โรเบอร์ต แฮมมอนด์ มีแนวคิดการประเมินหลักสูตรโดยยึดจุดประสงค์เป็นหลักคล้ายไทเลอร์ แต่แฮมมอนด์ได้เสนอแนวคิดที่ต่างจากไทเลอร์ว่า โครงสร้างสำหรับการประเมินนั้นประกอบด้วยมิติใหญ่ๆหลายมิติ แต่ละมิติก็จะประกอบด้วยตัวแปรสำคัญอีกหลายตัวแปร ความสำเร็จหรือความล้มเหลวของหลักสูตรขึ้นอยู่กับการปะทะสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรในมิติต่างๆดังนี้ มิติทั้ง 3 ได้แก่ มิติด้านการเรียนการสอน มิติด้านสถาบัน และมิติด้านพฤติกรรม
1.มิติด้านการสอน ประกอบด้วยตัวแปรสำคัญ 5 ตัวแปร
1.1 การจัดชั้นเรียนและตารางสอน
1.2 เนื้อหาวิชาที่จะนำมาจัดการเรียนการสอน
1.3 วิธีการ หลักการเรียนรู้การออกแบบพฤติกรรมการเรียน
1.4 สิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ เช่น สถานที่ อุปกรณ์ เครื่องมือ และห้องปฏิบัติการ 1.5 งบประมาณหรือเงินที่ใช้ในการจัดการเรียนการสอน
2.มิติด้านสถาบัน ประกอบด้วยตัวแปรสำคัญ 6 ตัวแปร
2.1 นักเรียน องค์ประกอบที่ต้องคำนึงถึงได้แก่ อายุ เพศ ระดับชั้นที่กำลังศึกษา
2.2 ครู องค์ประกอบที่ต้องคำนึงถึงได้แก่ อายุ เพศ วุฒิสูงสุดทางการศึกษา ประสบการณ์การสอน
2.3 ผู้บริหาร องค์ประกอบที่ต้องคำนึงถึงได้แก่ อายุ เพศ วุฒิสูงสุดทางการศึกษา ประสบการณ์ทางการศึกษา การฝึกอบรมเพิ่มเติมเกี่ยวกับการใช้หลักสูตร
2.4 ผู้เชี่ยวชาญ องค์ประกอบที่ต้องคำนึงถึงได้แก่ อายุ เพศ ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน 2.5 ครอบครัว องค์ประกอบที่ต้องคำนึงถึงได้แก่ สถานภาพ ขนาดครอบครัว รายได้
2.6 ชุมชน องค์ประกอบที่ต้องคำนึงถึงได้แก่ สถานภาพชุมชน จำนวนประชากร ความเชื่อ
3.มิติด้านพฤติกรรม มีองค์ประกอบของพฤติกรรม 3 ด้าน คือ พฤติกรรมด้านความรู้ พฤติกรรมด้านทักษะ พฤติกรรมด้านเจตคติ
แนวคิดการประเมินหลักสูตรของแฮมมอนด์ เริ่มด้วยการประเมินหลักสูตรที่เริ่มดำเนินการในปัจจุบันแล้วจึงกำหนดทิศทางและกระบวนของการเปลี่ยนแปลงหลักสูตร มีดังนี้
1.กำหนดสิ่งที่ต้องการประเมิน ควรจะเริ่มต้นที่วิชาใดวิชาหนึ่งในหลักสูตร
2.กำหนดตัวแปรในมิติการสอนและมิติสภาบันให้ชัดเจน
3.กำหนดจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม โดยระบุถึง
3.1.พฤติกรรมของนักเรียนที่แสดงว่าประสบความสำเร็จตามจุดประสงค์
3.2.เงื่อนไขของพฤติกรรมที่เกิดขึ้น
3.3.เกณฑ์ของพฤติกรรมที่บอกให้รู้ว่านักเรียนประสบความสำเร็จตามจุดประสงค์มากน้อยเท่าใด
3.4.ประเมินพฤติกรรมที่ระบุไว้ในจุดประสงค์
3.5.วิเคราะห์ผลภายในองค์ประกอบและความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบต่างๆ เพื่อให้ได้ข้อสรุปพฤติกรรมแท้จริงที่เกิดขึ้นซึ่งเป็นผลสะท้อนกลับไปสู่วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้และเป็นการตัดสินว่าหลักสูตรนั้นมีประสิทธิภาพเพียงใด
3.6.พิจารณาสิ่งที่ควรเปลี่ยนแปลงปรับปรุง
1.1 ประเมินหลักสูตรเมื่อสร้างหลักสูตรฉบับร่างเสร็จแล้ว
1.2 ประเมินผลในขึ้นตอนทดลอง
ระยะที่ 2 การประเมิน หลักสูตรระหว่างการดำเนินการใช้หลักสูตร (Formative Evaluation)
ระยะที่ 3 การประเมินหลักสูตรหลังการใช้หลักสูตร (Summative Evaluation)
แดเนียล แอล สตัฟเฟิลบีม (Daniel L. Stufflebeam) ได้อธิบายความหมายของการประเมินผลทางการศึกษาเอาไว้ว่าเป็นกระบวนการการบรรยายการหาข้อมูล และการใช้ข้อมูลเพื่อการตัดสินใจหาทางเลือก รูปแบบการประเมินของสตัฟเฟิลบีมเป็นรูปแบบที่เหมาะสมแก่การช่วยตัดสินใจเพื่อหาทางเลือกที่ดีที่สุดตามปกติสถานการณ์ในการตัดสินใจ จะประกอบไปด้วยมิติที่สำคัญ 2 ประการ
2.มิติด้านปริมาณความเปลี่ยนแปลงที่ต้องการให้เกิดขึ้น (Degree of Change)
จากรูปแบบการประเมินผลหลักสูตรตามแนวคิดของสตัฟเฟิลบีมแสดงให้เห็นว่า
1.สถานการณ์ตัดสินใจที่ต้องการให้มีการเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อย แต่ทว่าข้อมูลที่จะช่วยในการตัดสินใจนั้นมีอยู่มาก สถานการณ์ตัดสินใจอย่างนี้เรียกว่า Homeostatic
2.สถานการณ์ตัดสินใจที่ต้องการให้มีการเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อย และข้อมูลที่จะช่วยในการตัดสินใจนั้นมีอยู่น้อย สถานการณ์ตัดสินใจอย่างนี้เรียกว่า Incremental
3.สถานการณ์ตัดสินใจที่ต้องการให้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมาก และข้อมูลที่จะช่วยในการตัดสินใจนั้นมีอยู่น้อย สถานการณ์ตัดสินใจอย่างนี้เรียกว่า Neomobilistic
4.สถานการณ์ตัดสินใจที่ต้องการให้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมาก และข้อมูลที่จะช่วยในการตัดสินใจนั้นมีอยู่มาก สถานการณ์ตัดสินใจอย่างนี้เรียกว่า Metamorphismจากที่กล่าวมาจะเห็นได้ว่า การตัดสินใจไม่ว่าจะอยู่ในสถานการณ์แบบไหน จำเป็นต้องอาศัยข้อมูลเชิงประมาณ (Evaluation Data) มาช่วยเป็นพื้นฐาน ในการตัดสินใจ
1.การประเมินสภาพแวดล้อม (Context Evaluation) ในการประเมินสภาพแวดล้อมนี้ ผู้ประเมินอาจใช้วิธีดังต่อไปนี้
1.1 การวิเคราะห์ความคิดรวบยอด
1.2 การทำวิจัยด้วยการเก็บข้อมูลมาวิเคราะห์จริงๆ
1.3 การอาศัยทฤษฎีและความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ
2.ประเมินตัวป้อน (Inputs Evaluation) อาจทำได้โดย
2.1 จัดทำในรูปแบบของขณะกรรมการ
2.2 อาศัยงานวิจัยที่เกี่ยวข้องที่มีผู้ทำเอาไว้แล้ว
2.3 ว่าจ้างผู้เชี่ยวชาญมาให้คำปรึกษา
2.4 ทำการวิจัยเชิงทดลองเป็นการนำร่อง
3.การประเมินกระบวนการ (Process Evaluation) มีด้วยกันหลายวิธี
3.1 การสังเกตแบบมีส่วนร่วมปฏิบัติ
3.2 การวิเคราะห์ความสัมพันธ์
3.3 การสัมภาษณ์
3.4 การใช้แบบสอบถามประเภทมาตราส่วนประมาณค่า
3.5 การเขียนรายงานประเภทปลายเปิด
4.การประเมินผลผลิต (Products Evaluation)
1.มิติด้านการสอน ประกอบด้วยตัวแปรสำคัญ 5 ตัวแปร
1.1 การจัดชั้นเรียนและตารางสอน
1.2 เนื้อหาวิชาที่จะนำมาจัดการเรียนการสอน
1.3 วิธีการ หลักการเรียนรู้การออกแบบพฤติกรรมการเรียน
1.4 สิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ เช่น สถานที่ อุปกรณ์ เครื่องมือ และห้องปฏิบัติการ 1.5 งบประมาณหรือเงินที่ใช้ในการจัดการเรียนการสอน
2.มิติด้านสถาบัน ประกอบด้วยตัวแปรสำคัญ 6 ตัวแปร
2.1 นักเรียน องค์ประกอบที่ต้องคำนึงถึงได้แก่ อายุ เพศ ระดับชั้นที่กำลังศึกษา
2.2 ครู องค์ประกอบที่ต้องคำนึงถึงได้แก่ อายุ เพศ วุฒิสูงสุดทางการศึกษา ประสบการณ์การสอน
2.3 ผู้บริหาร องค์ประกอบที่ต้องคำนึงถึงได้แก่ อายุ เพศ วุฒิสูงสุดทางการศึกษา ประสบการณ์ทางการศึกษา การฝึกอบรมเพิ่มเติมเกี่ยวกับการใช้หลักสูตร
2.4 ผู้เชี่ยวชาญ องค์ประกอบที่ต้องคำนึงถึงได้แก่ อายุ เพศ ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน 2.5 ครอบครัว องค์ประกอบที่ต้องคำนึงถึงได้แก่ สถานภาพ ขนาดครอบครัว รายได้
2.6 ชุมชน องค์ประกอบที่ต้องคำนึงถึงได้แก่ สถานภาพชุมชน จำนวนประชากร ความเชื่อ
3.มิติด้านพฤติกรรม มีองค์ประกอบของพฤติกรรม 3 ด้าน คือ พฤติกรรมด้านความรู้ พฤติกรรมด้านทักษะ พฤติกรรมด้านเจตคติ
แนวคิดการประเมินหลักสูตรของแฮมมอนด์ เริ่มด้วยการประเมินหลักสูตรที่เริ่มดำเนินการในปัจจุบันแล้วจึงกำหนดทิศทางและกระบวนของการเปลี่ยนแปลงหลักสูตร มีดังนี้
1.กำหนดสิ่งที่ต้องการประเมิน ควรจะเริ่มต้นที่วิชาใดวิชาหนึ่งในหลักสูตร
2.กำหนดตัวแปรในมิติการสอนและมิติสภาบันให้ชัดเจน
3.กำหนดจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม โดยระบุถึง
3.1.พฤติกรรมของนักเรียนที่แสดงว่าประสบความสำเร็จตามจุดประสงค์
3.2.เงื่อนไขของพฤติกรรมที่เกิดขึ้น
3.3.เกณฑ์ของพฤติกรรมที่บอกให้รู้ว่านักเรียนประสบความสำเร็จตามจุดประสงค์มากน้อยเท่าใด
3.4.ประเมินพฤติกรรมที่ระบุไว้ในจุดประสงค์
3.5.วิเคราะห์ผลภายในองค์ประกอบและความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบต่างๆ เพื่อให้ได้ข้อสรุปพฤติกรรมแท้จริงที่เกิดขึ้นซึ่งเป็นผลสะท้อนกลับไปสู่วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้และเป็นการตัดสินว่าหลักสูตรนั้นมีประสิทธิภาพเพียงใด
3.6.พิจารณาสิ่งที่ควรเปลี่ยนแปลงปรับปรุง
14. การประเมินผลหลักสูตร: แนวคิด ทฤษฎี และรูปแบบ
การประเมินผลหลักสูตร
1.ตามหลักของ SU Model
การประเมินหลักสูตร
การประเมินหลักสูตร มี 3 ขั้นตอน คือ ประเมินก่อนนำหลักสูตรไปใช้ ประเมินหลักสูตรระหว่างใช้ ประเมินหลักสูตรหลังใช้ ซึ่งการประเมินหลักสูตรระหว่างใช้ จัดได้ว่าเป็นการประเมินความก้าวหน้า วัดความรู้ ข้อบกพร่องของนักเรียน การประเมินหลักสูตรหลังใช้เป็นการประเมินสรุปรวม เพื่อตัดสินความสำเร็จของผู้เรียน
เครื่องมือการประเมิน เช่น แบบทดสอบความรู้ตามสภาพจริง แบบทดสอบวัดความสามารถตามสภาพจริง แบบสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้ แบบประเมินการเรียนรู้โดยใช้แฟ้มผลงานและกำหนดเกณฑ์การประเมินโดยใช้ SOLO taxonomy
1.ตามหลักของ SU Model
การประเมินหลักสูตร
การประเมินหลักสูตร มี 3 ขั้นตอน คือ ประเมินก่อนนำหลักสูตรไปใช้ ประเมินหลักสูตรระหว่างใช้ ประเมินหลักสูตรหลังใช้ ซึ่งการประเมินหลักสูตรระหว่างใช้ จัดได้ว่าเป็นการประเมินความก้าวหน้า วัดความรู้ ข้อบกพร่องของนักเรียน การประเมินหลักสูตรหลังใช้เป็นการประเมินสรุปรวม เพื่อตัดสินความสำเร็จของผู้เรียน
เครื่องมือการประเมิน เช่น แบบทดสอบความรู้ตามสภาพจริง แบบทดสอบวัดความสามารถตามสภาพจริง แบบสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้ แบบประเมินการเรียนรู้โดยใช้แฟ้มผลงานและกำหนดเกณฑ์การประเมินโดยใช้ SOLO taxonomy
2. ทาบา (Taba, 1962 : 310) ได้กล่าวไว้ว่า การประเมินหลักสูตรทำขึ้นเพื่อศึกษากระบวนการต่างๆ ที่
กำหนดไว้ว่ามีการเปลี่ยนแปลงใดบ้างที่สอดคล้องหรือขัดแย้งกับวัตถุประสงค์ของการศึกษาการประเมิดังกล่าวจะครอบคลุมเนื้อหาทั้งหมดของหลักสูตรและกระบวนการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องซึ่งได้แก่ จุดประสงค์ ขอบเขตของเนื้อหาสาระ คุณภาพของผู้ใช้บริหารและผู้ใช้หลักสูตร สมรรถภาพของผู้เรียน ความสัมพันธ์ของวิชาต่างๆ การใช้สื่อและวัสดุการสอน ฯลฯ
3. ใจทิพย์ เชื้อรัตนพงษ์ (2539 : 192-193) กล่าวว่าโดยทั่วไปการประเมินหลักสูตรใดๆ ก็ตามจะมีจุดมุ่งหมายสำคัญที่คล้ายคลึงกัน ดังนี้ คือ เพื่อหาทางปรับปรุงแก้ไขสิ่งบกพร่องที่พบในองค์ประกอบต่างๆ ของหลักสูตรเพื่อหาทางปรับปรุงแก้ไขระบบการบริหารหลักสูตร การนิเทศกำกับดูแลการจัดกระบวนการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นเพื่อช่วยในการตัดสินใจของผู้บริหารว่าควรใช้หลักสูตรต่ออีกหรือควรยกเลิกการใช้หลักสูตรเพื่อต้องการทราบคุณภาพของผู้เรียน
กำหนดไว้ว่ามีการเปลี่ยนแปลงใดบ้างที่สอดคล้องหรือขัดแย้งกับวัตถุประสงค์ของการศึกษาการประเมิดังกล่าวจะครอบคลุมเนื้อหาทั้งหมดของหลักสูตรและกระบวนการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องซึ่งได้แก่ จุดประสงค์ ขอบเขตของเนื้อหาสาระ คุณภาพของผู้ใช้บริหารและผู้ใช้หลักสูตร สมรรถภาพของผู้เรียน ความสัมพันธ์ของวิชาต่างๆ การใช้สื่อและวัสดุการสอน ฯลฯ
3. ใจทิพย์ เชื้อรัตนพงษ์ (2539 : 192-193) กล่าวว่าโดยทั่วไปการประเมินหลักสูตรใดๆ ก็ตามจะมีจุดมุ่งหมายสำคัญที่คล้ายคลึงกัน ดังนี้ คือ เพื่อหาทางปรับปรุงแก้ไขสิ่งบกพร่องที่พบในองค์ประกอบต่างๆ ของหลักสูตรเพื่อหาทางปรับปรุงแก้ไขระบบการบริหารหลักสูตร การนิเทศกำกับดูแลการจัดกระบวนการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นเพื่อช่วยในการตัดสินใจของผู้บริหารว่าควรใช้หลักสูตรต่ออีกหรือควรยกเลิกการใช้หลักสูตรเพื่อต้องการทราบคุณภาพของผู้เรียน
13. การนำหลักสูตรไปใช้ต่อ
หลักการที่สำคัญในการนำหลักสูตรไปใช้
1. จะต้องมีการวางแผนและเตรียมการ
2. จะต้องมีองค์คณะบุคคลทั้งส่วนกลางและส่วนท้องถิ่นทำหน้าที่ประสานงานกัน
3. ดำเนินการอย่างเป็นระบบ
4. คำนึงถึงปัจจัยที่จะช่วยในการนำหลักสูตรไปใช้
5. ครูเป็นบุคคลที่สำคัญที่สุด ดังนั้น ครูจะต้องได้รับการพัฒนาอย่างเต็มที่และจริงจัง
6. จัดตั้งให้มีหน่วยงานที่มีผู้เชี่ยวชาญพิเศษ เพื่อให้การสนับสนุนและพัฒนาครู
7. หน่วยงานและบุคคลในฝ่ายต่างๆ ต้องปฏิบัติหน้าที่อย่างเต็มความสามารถ
8. มีการติดตามและประเมินผลเป็นระยะๆ
กิจกรรม/งานที่เกี่ยวข้องกับการนำหลักสูตรไปใช้
สงัด อุทรานันท์ (2532 : 263-271) กล่าวว่า การนำหลักสูตรไปใช้มีงานหลัก 3 ประการ คือ
1. งานบริหารและบริการหลักสูตร จะเกี่ยวข้องกับ งานเตรียมบุคลากร การจัดครูเข้าสอนตามหลักสูตร การบริหารและบริการวัสดุหลักสูตร การบริการหลักสูตรภายในโรงเรียน
2. งานดำเนินการเรียนการสอนตามหลักสูตรประกอบด้วย การปรับปรุงหลักสูตรให้สอดคล้องกับสภาพท้องถิ่น การจัดทำแผนการสอน การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
3. งานสนับสนุนและส่งเสริมการใช้หลักสูตรประกอบด้วย การนิเทศและติดตามผลการใช้หลักสูตรและการตั้งศูนย์บริการเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมการใช้หลักสูตร
ขั้นตอนการนำหลักสูตรไปใช้
1. ขั้นการเตรียมการใช้หลักสูตร
2. ขั้นดำเนินการใช้หลักสูตร
3. ขั้นติดตามและประเมินผล
การประเมินหลักสูตร
1. การตรวจสอบประสิทธิผลและความตกต่ำของคุณภาพของหลักสูตร
2. การตรวจสอบหาเหตุที่ทำให้คุณภาพตกต่ำ3. แก้ไขและตรวจสอบประสิทธิผลของวิธีการที่นำมาแก้ไข
บทบาทของหน่วยงานส่วนกลางและส่วนท้องถิ่นในการนำหลักสูตรไปใช้
• การใช้หลักสูตรโดยหน่วยงานส่วนกลางที่มีบทบาทเต็มที่
• การใช้หลักสูตรโดยให้โรงเรียนมีบทบาทเต็มที่
• การใช้หลักสูตรโดยให้หน่วยงานส่วนกลางมีบทบาทเป็นส่วนใหญ่ และมีหน่วยงานท้องถิ่นเป็นผู้ให้ความช่วยเหลือ
• ใช้หลักสูตรโดยให้หน่วยงานส่วนท้องถิ่นมีบทบาทสำคัญ และหน่วยงานส่วนกลางเป็นผู้ให้การสนับสนุน
บทบาทของบุคลากรในการนำหลักสูตรไปใช้
• ผู้บริหารโรงเรียน
• หัวหน้าหมวดวิชาหรือสาขาวิชา
• ครูผู้สอน
12. การนำหลักสูตรไปใช้
การนำหลักสูตรไปใช้
มโนทัศน์(Concept)
การนำหลักสูตรไปใช้เป็นขั้นตอนที่สำคัญยิ่งในการพัฒนาหลักสูตร เพราะเป็นการนำอุดมการณ์ จุดมุ่งหมายของหลักสูตร เนื้อหาวิชา และประสบการณ์การเรียนรู้ที่คัดสรรค์อย่างดีแล้วไปสู่ผู้เรียน นักพัฒนาหลักสูตรทุกคนต่างก็ยอมรับความสำคัญของขั้นตอนในการนำหลักสูตรไปใช้ ว่ามีความสำคัญยิ่งกว่าขั้นตอนอื่นใดทั้งหมด เป็นตัวบ่งชี้ถึงความสำเร็จหรือความล้มเหลวของหลักสูตรโดยตรง
เพราะฉะนั้นการนำหลักสูตรไปใช้จึงมีความสำคัญที่บุคคลผู้เกี่ยวข้องในการนำหลักสูตรไปใช้จะต้องทำความเข้าใจกับวิธีการขั้นตอนต่างๆ เพื่อให้สามารถนำหลักสูตรไปใช้อย่างมีประสิทธิผลสูงสุดสมความมุ่งหมายทุกประการ
ผลการเรียนรู้(Learning Outcome)
มีความรู้ ความเข้าใจการนำหลักสูตรไปใช้ การใช้ทรัพยากรในท้องถิ่น และแหล่งเรียนรู้ สามารถบอกบุคคลที่เกี่ยวข้องเพื่อการประสานงานเมื่อนำหลักสูตรไปใช้
สาระเนื้อหา(Content)
การนำหลักสูตรไปใช้
การนำหลักสูตรไปใช้เป็นกระบวนการดำเนินงาน กิจกรรมต่างๆในการนำหลักสูตรไปสู่โรงเรียนและจัดการเรียนการสอนเพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายของหลักสูตร เป็นงานที่เกี่ยวข้องกับบุคคลหลายฝ่าย ตั้งแต่ระดับกระทรวงศึกษาธิการ แต่ละฝ่ายมีความเกี่ยวข้องกัน เช่น หน่วยงานส่วนกลางเกี่ยวข้องในด้านการบริหารและบริหารหลักสูตรกับการนิเทศและติดตามผลการใช้หลักสูตร
การนำหลักสูตรไปใช้จำต้องเป็นขั้นตอนตามลำดับ
1.ขั้นการวางแผน และเตรียมการในการประชาสัมพันธ์หลักสูตรและการเตรียมบุคลากรที่เกี่ยวข้อง 2.ขั้นดำเนินการนำหลักสูตรไปใช้อย่างมีระบบ การจัดครูเข้าสอนตามหลักสูตร การบริการวัสดุ
3.ขั้นติดตามประเมินผลการนำหลักสูตรไปใช้ การติดตามและประเมินผลการใช้หลักสูตร การนำหลักสูตรไปใช้ถือเป็นกระบวนการที่สำคัญ ที่จะทำให้หลักสูตรที่สร้างขึ้นบรรลุผลตามจุดหมาย และเป็นกระบวนการที่ต้องได้รับความร่วมมือจากบุคคลที่เกี่ยวข้องหลายๆฝ่าย และที่สำคัญที่สุดคือครูผู้สอน
ความหมายของการนำหลักสูตรไปใช้
โบแชมป์ (Beauchamp,1975:164) ให้ความหมายของการนำหลักสูตรไปใช้ว่า การนำหลักสูตรไปปฏิบัติ โดยกระบวนการการแปลงหลักสูตรไปสู่การสอน การจัดสภาพสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนให้ครูได้มีพัฒนาการเรียนการสอน
สันติ ธรรมบำรุง (2527.120) กล่าวว่า การนำหลักหลักสูตรไปใช้หมายถึงการที่ผู้บริหารโรงเรียนและครูนำโครงการของหลักสูตรที่เป็นรูปเล่มนั้นไปปฏิบัติให้บังเกิดผล รวมถึงการบริหารงานด้านวิชาการของโรงเรียนเพื่ออำนวยความสะดวกให้ครูและนักเรียนสามารถสอนและเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
จันทรา (Chandra, 1977:1) ได้ให้ความหมายของการนำหลักสูตรไปใช้ว่าเป็นการทดลองใช้เนื้อหาวิชาวิธีการสอน เทคนิคการประเมิน การใช้อุปกรณ์การสอน แบบเรียนและทรัพยากรต่างๆให้เกิดประโยชน์แก่นักเรียน โดยมีครูและผู้ร่างหลักสูตรเป็นผู้ปัญหาแล้วหาคำตอบให้ได้จากการประเมินผล
มโนทัศน์(Concept)
การนำหลักสูตรไปใช้เป็นขั้นตอนที่สำคัญยิ่งในการพัฒนาหลักสูตร เพราะเป็นการนำอุดมการณ์ จุดมุ่งหมายของหลักสูตร เนื้อหาวิชา และประสบการณ์การเรียนรู้ที่คัดสรรค์อย่างดีแล้วไปสู่ผู้เรียน นักพัฒนาหลักสูตรทุกคนต่างก็ยอมรับความสำคัญของขั้นตอนในการนำหลักสูตรไปใช้ ว่ามีความสำคัญยิ่งกว่าขั้นตอนอื่นใดทั้งหมด เป็นตัวบ่งชี้ถึงความสำเร็จหรือความล้มเหลวของหลักสูตรโดยตรง
เพราะฉะนั้นการนำหลักสูตรไปใช้จึงมีความสำคัญที่บุคคลผู้เกี่ยวข้องในการนำหลักสูตรไปใช้จะต้องทำความเข้าใจกับวิธีการขั้นตอนต่างๆ เพื่อให้สามารถนำหลักสูตรไปใช้อย่างมีประสิทธิผลสูงสุดสมความมุ่งหมายทุกประการ
ผลการเรียนรู้(Learning Outcome)
มีความรู้ ความเข้าใจการนำหลักสูตรไปใช้ การใช้ทรัพยากรในท้องถิ่น และแหล่งเรียนรู้ สามารถบอกบุคคลที่เกี่ยวข้องเพื่อการประสานงานเมื่อนำหลักสูตรไปใช้
สาระเนื้อหา(Content)
การนำหลักสูตรไปใช้
การนำหลักสูตรไปใช้เป็นกระบวนการดำเนินงาน กิจกรรมต่างๆในการนำหลักสูตรไปสู่โรงเรียนและจัดการเรียนการสอนเพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายของหลักสูตร เป็นงานที่เกี่ยวข้องกับบุคคลหลายฝ่าย ตั้งแต่ระดับกระทรวงศึกษาธิการ แต่ละฝ่ายมีความเกี่ยวข้องกัน เช่น หน่วยงานส่วนกลางเกี่ยวข้องในด้านการบริหารและบริหารหลักสูตรกับการนิเทศและติดตามผลการใช้หลักสูตร
การนำหลักสูตรไปใช้จำต้องเป็นขั้นตอนตามลำดับ
1.ขั้นการวางแผน และเตรียมการในการประชาสัมพันธ์หลักสูตรและการเตรียมบุคลากรที่เกี่ยวข้อง 2.ขั้นดำเนินการนำหลักสูตรไปใช้อย่างมีระบบ การจัดครูเข้าสอนตามหลักสูตร การบริการวัสดุ
3.ขั้นติดตามประเมินผลการนำหลักสูตรไปใช้ การติดตามและประเมินผลการใช้หลักสูตร การนำหลักสูตรไปใช้ถือเป็นกระบวนการที่สำคัญ ที่จะทำให้หลักสูตรที่สร้างขึ้นบรรลุผลตามจุดหมาย และเป็นกระบวนการที่ต้องได้รับความร่วมมือจากบุคคลที่เกี่ยวข้องหลายๆฝ่าย และที่สำคัญที่สุดคือครูผู้สอน
ความหมายของการนำหลักสูตรไปใช้
โบแชมป์ (Beauchamp,1975:164) ให้ความหมายของการนำหลักสูตรไปใช้ว่า การนำหลักสูตรไปปฏิบัติ โดยกระบวนการการแปลงหลักสูตรไปสู่การสอน การจัดสภาพสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนให้ครูได้มีพัฒนาการเรียนการสอน
สันติ ธรรมบำรุง (2527.120) กล่าวว่า การนำหลักหลักสูตรไปใช้หมายถึงการที่ผู้บริหารโรงเรียนและครูนำโครงการของหลักสูตรที่เป็นรูปเล่มนั้นไปปฏิบัติให้บังเกิดผล รวมถึงการบริหารงานด้านวิชาการของโรงเรียนเพื่ออำนวยความสะดวกให้ครูและนักเรียนสามารถสอนและเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
จันทรา (Chandra, 1977:1) ได้ให้ความหมายของการนำหลักสูตรไปใช้ว่าเป็นการทดลองใช้เนื้อหาวิชาวิธีการสอน เทคนิคการประเมิน การใช้อุปกรณ์การสอน แบบเรียนและทรัพยากรต่างๆให้เกิดประโยชน์แก่นักเรียน โดยมีครูและผู้ร่างหลักสูตรเป็นผู้ปัญหาแล้วหาคำตอบให้ได้จากการประเมินผล