วันอาทิตย์ที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

6. ทฤษฎีหลักสูตร แนวคิด รูปแบบ ขั้นตอนการพัฒนาหลักสูตรของนักวิชาการไทยและต่างประเทศ

ขั้นตอนการพัฒนาหลักสูตร
    จาก ทาบา (Taba. 1962 : 67) ได้เสนอแนะขั้นตอนการพัฒนาหลักสูตร ดังนี้
1. สำรวจสภาพปัญหา ความต้องการและความจำเป็นต่าง ๆ ของสังคม
2. กำหนดวัตถุประสงค์ของการศึกษาที่สังคมต้องการ
3. คัดเลือกเนื้อหาวิชาความรู้ที่ครูจะนำมาสอน เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ตรงกับวัตถุประสงค์ของการศึกษาที่ตั้งไว้
4. จัดลำดับขั้นตอนแก้ไขปรับปรุงเนื้อหาสาระที่เลือกมาได้
5. คัดเลือกประสบการณ์เพื่อการเรียนรู้ต่าง ๆ ซึ่งจะนำมาเสริมเนื้อหาสาระกระบวนการเรียนให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น และสอดคล้องกับวัตถุประสงค์
6. จัดระเบียบ จัดลำดับขั้นตอน และแก้ไขปรับปรุงประสบการณ์ต่าง ๆ ที่จะนำมาเสริมเนื้อหาสาระการเรียน
7. กำหนดเนื้อหาสาระอะไรบ้าง หรือประสบการณ์อย่างใดที่ต้องการประเมินว่า ได้มีการเรียนรู้ตรงกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้หรือไม่เพียงใด นอกจากนี้ต้องกำหนดไว้ด้วยว่าจะมีข้อมูลอะไรบ้าง ที่จะนำมาช่วยในการกำหนดเกณฑ์การประเมินผล และจะใช้วิธีการประเมินอย่างไร
     จาก สงัด อุทรานันท์ (2532 : 36-43) ได้กล่าวถึงกระบวนการพัฒนาหลักสูตร ซึ่งต่อเนื่องสัมพันธ์เป็น วัฏจักร ดังนี้
1. จัดวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานเพื่อการพัฒนาหลักสูตร
2. การกำหนดจุดมุ่งหมาย
3. การคัดเลือกและจัดเนื้อหาสาระและประสบการณ์
4. การกำหนดมาตรการวัดและประเมินผล
5. การนำหลักสูตรไปใช้
6. การประเมินผลการใช้หลักสูตร
7. การปรับปรุงแก้ไขหลักสูตร
    จาก มณฑิชา  ชนะสิทธิ์ (2539:17) ได้กล่าวถึงขั้นตอนการพัฒนาหลักสูตรไว้ดังนี้
1.การสร้างหลักสูตร
1.1 การศึกษาข้อมูลพื้นฐาน
1.2 การกำหนดจุดมุ่งหมาย
1.3 การกำหนดเนื้อหาสาระ
1.4 การกำหนดประสบการณ์การเรียนรู้
1.5 การกำหนดวิธีกาวัดผลและประเมินผล
2.การนำหลักสูตรไปใช้
3.การประเมินผลหลักสูตร
4.การปรับปรุงแก้ไขหลักสูตร
      ไทเลอร์ (Ralph W. Tyler) ได้ให้หลักเกณฑ์และเหตุผลไว้ว่า ในการพัฒนาหลลักสูตรและวางแผนการสอนนั้น จะต้องตอบคำถาม 4 ประการ ดังนี้
1.      มีจุดประสงค์ทางการศึกษาอะไรบ้าง ที่โรงเรียนควรแสวงหา
2.     มีประสบการณ์ทางการศึกษาอะไรบ้าง ที่สามารถจัดขึ้นเพื่อช่วยให้บรรลุจุดประสงค์ที่กำหนดไว้นั้น
3.      จะจัดระบบประสบการณ์ดังกล่าวนี้อย่างไร จึงจะมีประสิทธิภาพมากที่สุด
4.     จะประเมินประสิทธิภาพของประสบการณ์ในการเรียนอย่างไร จึงจะตัดสินใจได้ว่าบรรลุถึงจุดประสงค์ที่กำหนดไว้
         คำถามทั้ง 4 ประการนี้ ตรงกับองค์ประกอบที่สำคัญในการวางแผนหรือพัฒนาหลักสูตร    4 ด้าน ตามลำดับดังนี้ 1. การตั้งเป้าประสงค์ 2. การเลือกเนื้อหา 3. การสอน และ 4. การประเมินผล
ตามรูปแบบการพัฒนาหลักสูตรของไทเลอร์ การพัฒนาหลักสูตรจะต้องเป็นไปตามลำดับขั้น ดังต่อไปนี้
ขั้นที่ 1 การกำหนดจุดประสงค์ของหลักสูตร เริ่มด้วยการกำหนดจุดประสงค์ชั่วคราวโดยอาศัยข้อมูลจากการศึกษาสังคม ศึกษาผู้เรียน และข้อเสนอแนะของผู้เชี่ยวชาญในเนื้อหาวิชามาช่วยกำหนดจุดประสงค์อย่างคร่าวๆ ซึ่งอาจมีมากกว่าที่จะจัดเข้าไว้ในหลักสสูตรได้ทั้งหมด จึงควรกลั่นกรองให้เหลือไว้เฉพาะจุดที่สำคัญและสอดคล้องกัน เป็นจุดประสงค์ขั้นสุดท้าย หรือจุดประสงค์ที่ใช้จริง ในการพิจารณากลั่นกรองจุดมุ่งหมายชั่วคราวนั้น จะใช้หลักจิตวิทยาการเรียนรู้และหลักปรัชญญามาประกอบการกลั่นกรอง
ขั้นที่ 2 การเลือกประสบการณ์การเรียน หลังจากกำหนดจุดประสงค์ของหลักสูตรแล้ว ขั้นต่อมา ทำการเลือกประสบการณ์การเรียน อันเป็นสื่อที่จะทำให้บรรลุถึงจุดประสงค์ที่กำหนดไว้ ในการเลือกประสบการณ์การเรียนจะต้องคำนึงถึง ลำดับก่อนหลัง ความต่อเนื่องและบูรณาการ (Integraty) ของประสบการณ์เหล่านั้น
ขั้นที่ 3 การประเมินผล เป็นขั้นสุดท้ายซึ่งจะทำให้ทราบว่าประสบการณ์การเรียนที่จัดขึ้นนั้นบรรลุจุดประสงค์ตามที่กำหนดไว้เพียงใด
รูปแบบการพัฒนาหลักสูตรของเลวี
               เลวี (Arich Lewy) ได้กล่าวถึงขั้นตอนและงานสำคัญในการพัฒนาหลักสูตรดังนี้
               รูปแบบการพัฒนาหลักสูตรของเลวีแบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน คือ ขั้นเตรียมโครงร่างของหลักสูตร ขั้นเตรียมวัสดุ อุปกรณ์ประกอบการเรียน และขั้นดำเนินการ
               1. ขั้นเตรียมโครงร่างของหลักสูตร แบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอนย่อยๆ ได้แก่ การเลือกจุดมุ่งหมาย
เลือกเนื้อหาวิชา เลือกกิจกรรมการเรียนการสอน
               2. ขั้นเตรียมววัสดุ อุปกรณ์ประกอบการสอน แบ่งออกเป็น 4 ขั้นย่อยๆ ได้แก่ การสร้างวัสดุ อุปกรณ์ประกอบการสอน จัดวัสดุอุปกรณ์ตามรายวิชา ทดลองใช้วัสดุอุปกรณ์ที่สร้างขึ้นใหม่ และปรับปรุงแก้ไข
3. ขั้นดำเนินการ แบ่งออกเป็น 6 ขั้นตอนย่อยๆ ได้แก่ การเตรียมจัดระบบงาน ฝึกอบรมครู ปรับปรุงแก้ไขระบบการสอน ประสานงานกับฝ่ายวิชาการ ควบคุมคุณภาพ ปรับปรุงและนำมาใช้ใหม่
รูปแบบการพัฒนาหลักสูตรของ สสวท.

               สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ได้ทำการพัฒนาหลักสูตรวิทายาศาสตร์ระดับมัธยมศึกษาและประกาศใช้ตั้งแต่ปี 2519 ในการพัฒนาหลักสูตรนอกจากจะปรับปรุงเนื้อหาให้เหมาะสมและสอดคล้องกับวิทยาการด้านวิทยาศาสตร์ยังพัฒนาด้านแผนการเรียนการสอนและการวัดผลอีกด้วย

     จากทฤษฎีข้างต้นสรุปได้ว่า การพัฒนาหลักสูตรมี 6 ขั้นตอน ดังนี้ 
1.การศึกษาข้อมูลพื้นฐาน ได้แก่ ข้อมูลความต้องการ ปัญหาและความจำเป็นทางสังคม ศึกษาข้อมูลทางเศรษฐกิจ การเมืองการปกครอง ข้อมูลทางปรัชญาการศึกษา จิตวิทยา และความต้องการ ความสนใจของผู้เรียน ในการศึกษาข้อมูลเหล่านี้เพื่อนำไปกำหนดแนวทางในการพัฒนาหลักสูตรให้สอดคล้องกับตัวผู้เรียน สภาพแวดล้อมรอบตัวผู้เรียน สังคม และความจำเป็นในอนาคต
2.การร่างหลักสูตร
2.1การกำหนดจุดมุ่งหมาย ให้สอดคล้องกับข้อมูลพื้นฐาน โดยจุดมุ่งหมายของหลักสูตรจะระบุคุณสมบัติของผู้ที่จบหลักสูตรนั้นๆ มุ่งพัฒนาผู้เรียนทั้ง 3 ด้าน คือ พุทธิพิสัย จิตพิสัย ทักษะพิสัย และต้องครอบคลุม เก่ง ดี มีสุข
                     2.2การกำหนดเนื้อหาสาระ จะต้องสอดคล้องกับจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้ในหลักสูตร มีความสอดคล้องกับความต้องการ ความสนใจของผู้เรียน มีความยากง่ายสอดคล้องเหมาะสมกับวัย เนื้อหาต้องเป็นประโยชน์ต่อผู้เรียน และเนื้อหานั้นเป็นสิ่งที่สามารถจัดให้ผู้เรียนได้ ในแง่ของความพร้อมด้านเวลา ผู้สอน และวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ
                     2.3การกำหนดประสบการณ์การเรียนรู้ ต้องสามารถทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้เร็ว รวมไปถึงยุทธวิธีการสอน การเลือกใช้สื่อการสอนให้สอดคล้องกับจุดประสงค์การเรียนรู้ และการจัดสภาพแวดล้อมของโรงเรียนต้องเอื้อต่อการเรียนรู้ และกระตุ้นความสนใจของผู้เรียน
2.4การกำหนดวิธีการวัดและประเมินผล วิธีการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ จะต้องสอดคล้องกับจุดประสงค์ เนื้อหา และเวลา ต้องสามารถวัดผู้เรียนได้ในทุกๆด้าน
3.การตรวจสอบคุณภาพหลักสูตร เป็นการตรวจสอบคุณภาพของหลักสูตรและวัสดุหลักสูตร       ต่าง ๆ เพื่อนำผลมาปรับปรุงข้อบกพร่องก่อนนำหลักสูตรไปทดลองใช้ โดยจะต้องมีการกำหนดเป็นแผนอย่างมีขั้นตอนและเป็นระบบ มีการประชุมพิจารณาร่วมกันหรือให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบว่าองค์ประกอบต่าง ๆ ของหลักสูตร เช่น จุดประสงค์ เนื้อหา กิจกรรมการเรียนการสอน คาบเวลาเรียนวิธีการวัดและประเมินผล มีความสอดคล้องกันหรือไม่ อย่างไร
          4.การทดลองใช้หลักสูตร โดยครูผู้สอนต้องวางแผนและจัดทำแผนการสอนตามรูปแบบ         ต่าง ๆครูผู้สอนเลือกวิธีการสอน สื่อ วัสดุการเรียนการสอนที่ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามที่กำหนดไว้
5.การประเมินหลักสูตร ประกอบด้วยการวางแผนการประเมินผลการใช้หลักสูตร ทั้งการประเมินย่อย การประเมินระบบหลักสูตร ระบบการบริหารและผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียน
6.การปรับปรุงแก้ไขหลักสูตร วิเคราะห์ปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่องของหลักสูตรก่อนนำไปใช้จริง























ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น