1.1 ประเมินหลักสูตรเมื่อสร้างหลักสูตรฉบับร่างเสร็จแล้ว
1.2 ประเมินผลในขึ้นตอนทดลอง
ระยะที่ 2 การประเมิน หลักสูตรระหว่างการดำเนินการใช้หลักสูตร (Formative Evaluation)
ระยะที่ 3 การประเมินหลักสูตรหลังการใช้หลักสูตร (Summative Evaluation)
แดเนียล แอล สตัฟเฟิลบีม (Daniel L. Stufflebeam) ได้อธิบายความหมายของการประเมินผลทางการศึกษาเอาไว้ว่าเป็นกระบวนการการบรรยายการหาข้อมูล และการใช้ข้อมูลเพื่อการตัดสินใจหาทางเลือก รูปแบบการประเมินของสตัฟเฟิลบีมเป็นรูปแบบที่เหมาะสมแก่การช่วยตัดสินใจเพื่อหาทางเลือกที่ดีที่สุดตามปกติสถานการณ์ในการตัดสินใจ จะประกอบไปด้วยมิติที่สำคัญ 2 ประการ
2.มิติด้านปริมาณความเปลี่ยนแปลงที่ต้องการให้เกิดขึ้น (Degree of Change)
จากรูปแบบการประเมินผลหลักสูตรตามแนวคิดของสตัฟเฟิลบีมแสดงให้เห็นว่า
1.สถานการณ์ตัดสินใจที่ต้องการให้มีการเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อย แต่ทว่าข้อมูลที่จะช่วยในการตัดสินใจนั้นมีอยู่มาก สถานการณ์ตัดสินใจอย่างนี้เรียกว่า Homeostatic
2.สถานการณ์ตัดสินใจที่ต้องการให้มีการเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อย และข้อมูลที่จะช่วยในการตัดสินใจนั้นมีอยู่น้อย สถานการณ์ตัดสินใจอย่างนี้เรียกว่า Incremental
3.สถานการณ์ตัดสินใจที่ต้องการให้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมาก และข้อมูลที่จะช่วยในการตัดสินใจนั้นมีอยู่น้อย สถานการณ์ตัดสินใจอย่างนี้เรียกว่า Neomobilistic
4.สถานการณ์ตัดสินใจที่ต้องการให้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมาก และข้อมูลที่จะช่วยในการตัดสินใจนั้นมีอยู่มาก สถานการณ์ตัดสินใจอย่างนี้เรียกว่า Metamorphismจากที่กล่าวมาจะเห็นได้ว่า การตัดสินใจไม่ว่าจะอยู่ในสถานการณ์แบบไหน จำเป็นต้องอาศัยข้อมูลเชิงประมาณ (Evaluation Data) มาช่วยเป็นพื้นฐาน ในการตัดสินใจ
1.การประเมินสภาพแวดล้อม (Context Evaluation) ในการประเมินสภาพแวดล้อมนี้ ผู้ประเมินอาจใช้วิธีดังต่อไปนี้
1.1 การวิเคราะห์ความคิดรวบยอด
1.2 การทำวิจัยด้วยการเก็บข้อมูลมาวิเคราะห์จริงๆ
1.3 การอาศัยทฤษฎีและความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ
2.ประเมินตัวป้อน (Inputs Evaluation) อาจทำได้โดย
2.1 จัดทำในรูปแบบของขณะกรรมการ
2.2 อาศัยงานวิจัยที่เกี่ยวข้องที่มีผู้ทำเอาไว้แล้ว
2.3 ว่าจ้างผู้เชี่ยวชาญมาให้คำปรึกษา
2.4 ทำการวิจัยเชิงทดลองเป็นการนำร่อง
3.การประเมินกระบวนการ (Process Evaluation) มีด้วยกันหลายวิธี
3.1 การสังเกตแบบมีส่วนร่วมปฏิบัติ
3.2 การวิเคราะห์ความสัมพันธ์
3.3 การสัมภาษณ์
3.4 การใช้แบบสอบถามประเภทมาตราส่วนประมาณค่า
3.5 การเขียนรายงานประเภทปลายเปิด
4.การประเมินผลผลิต (Products Evaluation)
1.มิติด้านการสอน ประกอบด้วยตัวแปรสำคัญ 5 ตัวแปร
1.1 การจัดชั้นเรียนและตารางสอน
1.2 เนื้อหาวิชาที่จะนำมาจัดการเรียนการสอน
1.3 วิธีการ หลักการเรียนรู้การออกแบบพฤติกรรมการเรียน
1.4 สิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ เช่น สถานที่ อุปกรณ์ เครื่องมือ และห้องปฏิบัติการ 1.5 งบประมาณหรือเงินที่ใช้ในการจัดการเรียนการสอน
2.มิติด้านสถาบัน ประกอบด้วยตัวแปรสำคัญ 6 ตัวแปร
2.1 นักเรียน องค์ประกอบที่ต้องคำนึงถึงได้แก่ อายุ เพศ ระดับชั้นที่กำลังศึกษา
2.2 ครู องค์ประกอบที่ต้องคำนึงถึงได้แก่ อายุ เพศ วุฒิสูงสุดทางการศึกษา ประสบการณ์การสอน
2.3 ผู้บริหาร องค์ประกอบที่ต้องคำนึงถึงได้แก่ อายุ เพศ วุฒิสูงสุดทางการศึกษา ประสบการณ์ทางการศึกษา การฝึกอบรมเพิ่มเติมเกี่ยวกับการใช้หลักสูตร
2.4 ผู้เชี่ยวชาญ องค์ประกอบที่ต้องคำนึงถึงได้แก่ อายุ เพศ ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน 2.5 ครอบครัว องค์ประกอบที่ต้องคำนึงถึงได้แก่ สถานภาพ ขนาดครอบครัว รายได้
2.6 ชุมชน องค์ประกอบที่ต้องคำนึงถึงได้แก่ สถานภาพชุมชน จำนวนประชากร ความเชื่อ
3.มิติด้านพฤติกรรม มีองค์ประกอบของพฤติกรรม 3 ด้าน คือ พฤติกรรมด้านความรู้ พฤติกรรมด้านทักษะ พฤติกรรมด้านเจตคติ
แนวคิดการประเมินหลักสูตรของแฮมมอนด์ เริ่มด้วยการประเมินหลักสูตรที่เริ่มดำเนินการในปัจจุบันแล้วจึงกำหนดทิศทางและกระบวนของการเปลี่ยนแปลงหลักสูตร มีดังนี้
1.กำหนดสิ่งที่ต้องการประเมิน ควรจะเริ่มต้นที่วิชาใดวิชาหนึ่งในหลักสูตร
2.กำหนดตัวแปรในมิติการสอนและมิติสภาบันให้ชัดเจน
3.กำหนดจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม โดยระบุถึง
3.1.พฤติกรรมของนักเรียนที่แสดงว่าประสบความสำเร็จตามจุดประสงค์
3.2.เงื่อนไขของพฤติกรรมที่เกิดขึ้น
3.3.เกณฑ์ของพฤติกรรมที่บอกให้รู้ว่านักเรียนประสบความสำเร็จตามจุดประสงค์มากน้อยเท่าใด
3.4.ประเมินพฤติกรรมที่ระบุไว้ในจุดประสงค์
3.5.วิเคราะห์ผลภายในองค์ประกอบและความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบต่างๆ เพื่อให้ได้ข้อสรุปพฤติกรรมแท้จริงที่เกิดขึ้นซึ่งเป็นผลสะท้อนกลับไปสู่วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้และเป็นการตัดสินว่าหลักสูตรนั้นมีประสิทธิภาพเพียงใด
3.6.พิจารณาสิ่งที่ควรเปลี่ยนแปลงปรับปรุง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น