จากหลักการพัฒนาหลักสูตร SU Model มีกระบวนการทั้งหมด 4 ขั้นตอน ดังนี้
1. การวางแผนหลักสูตร
การวางแผนหลักสูตรตาม SU Model หลักสูตรที่ดีจะต้องครอบคลุมเป้าหมายของการศึกษา KLS ครบทั้ง 3 ด้าน คือ ความรู้ ผู้เรียน สังคม ต้องใช้พื้นฐานสำคัญในการพัฒนาหลักสูตรได้แก่ ความรู้ด้านปรัชญา จิตวิทยาและสังคมร่วมด้วย ในการพัฒนาหลักสูตรจะต้องนำแนวความคิด สี่เสาหลักของการศึกษา อันได้แก่ การเรียนเพื่อรู้ การเรียนรู้เพื่อปฏิบัติได้จริง การเรียนรู้เพื่อที่จะอยู่ร่วมกัน และ การเรียนรู้เพื่อชีวิต มาเป็นแนวทางในการพัฒนาหลักสูตรด้วย นอกจากนี้ในการสร้างหลักสูตรจะต้องวางแผนสร้างหลักสูตรที่ผู้เรียนต้องมีทักษะของคนในศตวรรษ ที่ 21 นั่นคือ 3R, 7C
3R ได้แก่
- Relevancy (ความสัมพันธ์)
- Relationship (สัมพันธภาพ)
- Rigor (ความเคร่งครัด ความถูกต้องแม่นยำ)
7C ได้แก่
-Critical thinking & problem solving (ทักษะด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ แลทักษะในการแก้ปัญหา)
-Creativity & innovation (ทักษะด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม)
-Cross-cultural understanding (ทักษะด้านความเข้าใจต่างวัฒนธรรม ต่างกระบวนทัศน์)
-Collaboration, teamwork & leadership (ทักษะด้านความร่วมมือ การทำงานเป็นทีม และภาวะผู้นำ)
-Communications, information & media literacy (ทักษะด้านการสื่อสาร สารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ)
-Computing & ICT literacy (ทักษะด้านคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร)
-Career & learning skills (ทักษะอาชีพ และทักษะการเรียนรู้)
จากแนวคิด ของนักการศึกษาสรุปได้ว่าขั้นตอนการวางแผนพัฒนาหลักสูตร มี 5 ขั้น ได้แก่ 1. การเก็บรวบรวมข้อมูล 2. การวิเคราะห์เชื่อมโยงข้อมูล 3. การรายงานข้อค้นพบ 4. การนำเสนอความคิดเห็นที่มีต่อข้อค้นพบ 5. สรุปรายงาน
2. การออกแบบหลักสูตร
การออกแบบหลักสูตรมี 4 องค์ประกอบ ได้แก่ เป้าหมายและจุดมุ่งหมายของหลักสูตร เนื้อหาสาระ กิจกรรมการสอน ประเมินผล
หลักการสำคัญในการออกแบบหลักสูตรคือการออกแบบหลักสูตรให้เป็นสากล นอกจากนี้ ไทเลอร์ ได้เสนอโมเดลต้นแบบเชิงเหตุผล โดยมีคำถามสำคัญ 4 ข้อ ที่ใช้เป็นแบบในการออกแบบหลักสูตร นอกจาก โมเดลต้นแบบเชิงเหตุผล ยังมี โมเดลเชิงวัตถุประสงค์ด้วย ข้อดีของโมเดลนี้คือ ผู้สอนและผู้เรียนพฤติกรรมการเรียนรู้ที่คาดหวังชัดเจน ข้อเสียคือ การเรียนถูกกำหนดมากเกินไป
เบนจามิน บลูมและคณะ ได้จัดกลุ่มวัตถุประสงค์ ไว้ 3 ปริเขต คือ พุทธิพิสัย จิตพิสัย ทักษะพิสัย
3. การจัดหลักสูตร เปรียบได้กับการนำหลักสูตรไปใช้
การออกแบบหลักสูตรที่ดีต้องมีหลักในการพิจารณา 6 ประการดังนี้
1 การกำหนดขอบข่ายหลักสูตร (Scope) คือการกำหนดเนื้อหา สาระการเรียนรู้ หัวข้อประเด็นสำคัญต่างๆ แนวคิด ค่านิยม หรือคุณธรรมที่สำคัญสำหรับผู้เรียนในรายวิชาต่างๆของแต่ละระดับชั้น
2 การจัดลำดับการเรียนรู้ (Sequence) คือการจัดลำดับก่อนหลังของเนื้อหา ควรจัดลำดับจากง่ายไปยาก
3 ความต่อเนื่อง (Continuity) คือการจัดเนื้อหา ประสบการณ์การเรียนรู้ ทักษะต่างๆให้มีความต่อเนื่องตลอดหลักสูตร
4 ความสอดคล้องเชื่อมโยง (Articulation) คือเนื้อหา ประสบการณ์การเรียนรู้ และทักษะที่อยู่ในระดับชั้นเดียวกันสอดคล้องเชื่อมโยงกันได้ แม้ต่างวิชากันก็ตาม
5 การบูรณาการ (Integration) คือการจัดขอบข่ายเนื้อหาและประสบการณ์การเรียนรู้ในหลักสูตรให้มีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกันจากหัวข้อหนึ่งไปยังอีกหัวข้อหนึ่งของรายวิชานั้น หรือจากรายวิชาหนึ่งไปอีกรายวิชาที่มีความเกี่ยวข้องกัน
6 ความสมดุล (Balance) คือความสมดุลของเนื้อหา ประสบการณ์การเรียนรู้ และทักษะของรายวิชาต่างๆ ที่สำคัญคือความสมดุลระหว่างเนื้อหาสาระกับวุฒิภาวะของผู้เรียน
เมื่อได้หลักพิจารณาทั้ง 6 ประการข้างต้นแล้ว จากนั้นพิจารณารูปแบบของการออกแบบหลักสูตร ดังนี้
1. การออกแบบหลักสูตรที่เน้นเนื้อหาวิชา (Subject-centered Designs)
2. การออกแบบหลักสูตรที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ (Learner-centered Designs)
3. การออกหลักสูตรที่เน้นปัญหาสังคมเป็นสำคัญ (Problem-centered Designs)
4. การประเมินหลักสูตร
การประเมินหลักสูตร มี 3 ขั้นตอน คือ ประเมินก่อนนำหลักสูตรไปใช้ ประเมินหลักสูตรระหว่างใช้ ประเมินหลักสูตรหลังใช้ ซึ่งการประเมินหลักสูตรระหว่างใช้ จัดได้ว่าเป็นการประเมินความก้าวหน้า วัดความรู้ ข้อบกพร่องของนักเรียน การประเมินหลักสูตรหลังใช้เป็นการประเมินสรุปรวม เพื่อตัดสินความสำเร็จของผู้เรียน
เครื่องมือการประเมิน เช่น แบบทดสอบความรู้ตามสภาพจริง แบบทดสอบวัดความสามารถตามสภาพจริง แบบสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้ แบบประเมินการเรียนรู้โดยใช้แฟ้มผลงานและกำหนดเกณฑ์การประเมินโดยใช้ SOLO taxonomy
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น