หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พ.ศ. 2546 กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ ได้แสดงถึงส่วนต่างๆ ที่เป็นองค์ประกอบของหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยไว้ดังนี้
1. ปรัชญาการศึกษาปฐมวัย เป็นแนวคิด ค่านิยม ความเชื่อที่แสดงให้เห็นถึงแนวทางหรือวิธีการในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ กระบวนการเรียนรู้ แนวทางในการปฏิบัติเพื่อนำไปสู่จุดมุ่งหมาย เป้าหมายที่กำหนดไว้ ซึ่งในเด็กปฐมวัยจุดมุ่งหมายหลักคือ การพัฒนาเด็กทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ –จิตใจ สังคม และสติปัญญา
2. หลักการ ที่เป็นส่วนที่แสดงถึงหลักการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัยที่สอดคล้องกับแนวคิดและปรัชญาการศึกษาปฐมวัย
3. จุดหมาย ซึ่งถือเป็นมาตรฐานคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ที่มุ่งให้เด็กมีพัฒนาการด้านร่างกาย อารมณ์-จิตใจ สังคม และสติปัญญา ที่เหมาะสมกับวัย ความสามารถ ความแตกต่างระหว่างบุคคล ซึ่งมีจำนวน 12 มาตรฐาน
4. คุณลักษณะตามวัย เป็นความสามารถตามวัยหรือพัฒนาการตามธรรมชาติ เมื่อเด็กมีอายุถึงวัยนั้น ๆ ซึ่งเป็นข้อมูลที่ผู้สอนต้องรู้และเข้าใจ เพื่อจะได้จัดประสบการณ์ให้เด็กแต่ละวัยได้ถูกต้อง เหมาะสม และพัฒนาเด็กให้เต็มตามความสามารถและศักยภาพ
5. ระยะเวลาเรียน เป็นการกำหนดระยะเวลาเรียนที่กำหนดไว้สำหรับสถานศึกษาใช้เป็นเกณฑ์ ซึ่งกำหนดไว้ประมาณ 1-3 ปี การศึกษาโดยประมาณ
6. สาระการเรียนรู้ กำหนดเป็น 2 ส่วน คือ ประสบการณ์สำคัญ และสาระที่ควรเรียนรู้
- ประสบการณ์สำคัญ เป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับการพัฒนาเด็กทางด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา ซึ่งช่วยให้เด็กเกิดทักษะที่สำคัญสำหรับการสร้างองค์ความรู้โดยให้เด็กได้มีปฏิสัมพันธ์กับวัสดุ สิ่งของและบุคคลต่าง ๆ รอบตัว รวมทั้งปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรมไปพร้อม ๆ กัน
- สาระที่ควรเรียนรู้ เป็นเรื่องราวรอบตัวเด็กที่นำมาเป็นสื่อในการจัดกิจกรรมให้เด็กเกิดการเรียนรู้ ไม่เน้นการท่องจำเนื้อหา แต่ให้เด็กเกิดการเรียนรู้เรื่องราวต่าง ๆ โดย ให้เรียนรู้ผ่านประสบการณ์สำคัญดังกล่าวข้างต้น
8. ขอบข่ายกิจกรรมประจำวัน เป็นกิจกรรมที่จะนำมาจัดในแต่ละวัน โดยในแต่ละวันต้องครอบคลุมพัฒนากล้ามเนื้อใหญ่ – เล็ก พัฒนาอารมณ์ จิตใจ ปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม พัฒนาสังคมนิสัย พัฒนาการคิด พัฒนาภาษา และส่งเสริมจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์
9. การประเมินพัฒนาการ เป็นการประเมินพัฒนาการทุกด้านอย่างเป็นกระบวนการต่อเนื่องกันในกิจกรรมที่เด็กทำตามปกติ
10. การจัดหลักสูตรสถานศึกษา เป็นคำแนะนำเกี่ยวกับจุดมุ่งหมายและการสร้างหลักสูตรสถานศึกษา
11. การจัดการศึกษาปฐมวัย (เด็กอายุ 3- 5ปี) สำหรับกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ เป็นคำแนะนำเกี่ยวกับการจัดการศึกษาปฐมวัย สำหรับเด็กพิการ เด็กด้อยโอกาส เด็กที่มีความสามารถพิเศษ
12. การเชื่อมต่อของการศึกษาระดับปฐมวัยกับระดับประถมศึกษาปีที่1 เป็นการแนะนำเกี่ยวกับบทบาทของบุคลากรทุกฝ่ายในการสร้างรอยเชื่อมต่อ โดยเฉพาะระหว่างหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย ในช่วงอายุ 3-5 ปี กับหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน ช่วงชั้นที่ 1 (ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1)
ปรัชญาการศึกษาปฐมวัย
การศึกษาปฐมวัยเป็นการพัฒนาเด็กตั้งแต่แรกเกิดถึง 5 ปี บนพื้นฐานการอบรมเลี้ยงดูและการส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ที่สนองต่อธรรมชาติและพัฒนาการของเด็กแต่ละคน ตามศักยภาพ ภายใต้บริบทสังคม-วัฒนธรรมที่เด็กอาศัยอยู่ ด้วยความรัก ความเอื้ออาทร และความเข้าใจของทุกคนเพื่อสร้างรากฐานคุณภาพชีวิตให้เด็กพัฒนาไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์เกิดคุณค่าต่อตนเองและสังคม
หลักการ
1. ส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้และพัฒนาการที่ครอบคลุมเด็กปฐมวัยทุกประเภท
2. ยึดหลักการอบรมเลี้ยงดูและให้การศึกษาที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ โดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล และวิถีชีวิตของเด็กตามบริบทของชุมชน สังคม และวัฒนธรรมไทย
3. พัฒนาเด็กโดยองค์รวมผ่านการเล่นและกิจกรรมที่เหมาะสมกับวัย
4. จัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้สามารถดำรงชีวิตประจำวันได้อย่างมีคุณภาพและมีความสุข
5. ประสานความร่วมมือระหว่างครอบครัว ชุมชน และสถานศึกษาในการพัฒนาเด็ก
หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย
หลักสูตรการศึกษาปฐมวัยสำหรับเด็กอายุ 3 – 5 ปี เป็นการจัดการศึกษาในลักษณะของการอบรมเลี้ยงดูและให้การศึกษา เด็กจะได้รับการพัฒนาทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา ตามวัยและความสามารถของแต่ละบุคคล
จุดหมาย
หลักสูตรการศึกษาปฐมวัยสำหรับเด็กอายุ 3 – 5 ปี มุ่งให้เด็กมีพัฒนาการด้านด้าน ร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา ที่เหมาะสมกับวัย ความสามารถและความแตกต่างระหว่างบุคคล จึงกำหนดจุดหมายซึ่งถือเป็นมาตรฐานคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ดังนี้
1. ร่างกายเจริญเติบโตตามวัย และมีสุขนิสัยที่ดี
2. กล้ามเนื้อใหญ่และกล้ามเนื้อเล็กแข็งแรง ใช้ได้อย่างคล่องแคล่วและประสานสัมพันธ์กัน
3. มีสุขภาพจิตดี และมีความสุข
4. มีคุณธรรม จริยธรรม และมีจิตใจที่ดีงาม
5. ชื่นชมและแสดงออกทางศิลปะ ดนตรี การเคลื่อนไหว และรักการออกกำลังกาย
6. ช่วยเหลือตนเองได้เหมาะสมกับวัย
7. รักธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม และความเป็นไทย
8. อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุขและปฏิบัติตนเป็นสมาชิกที่ดีของสังคมในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
9. ใช้ภาษาสื่อสารได้เหมาะสมกับวัย
10. มีความสามารถในการคิดและการแก้ปัญหาได้เหมาะสมกับวัย
11. มีจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์
12. มีเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้ และมีทักษะในการแสวงความรู้
คุณลักษณะ
เด็กอายุ 5 ปี
1.4.1.1 กระโดดขาเดียวไปข้างหน้าอย่างต่อเนื่อง
1.4.1.2 รับลูกบอลที่กระดอนขึ้นจากพื้นได้ด้วยมือทั้งสองข้าง
1.4.1.3 เดินขึ้น ลงบันไดสลับเท่าได้อย่างคล่องแคล่ว
1.4.1.4 เขียนรูปสามเหลี่ยมตามแบบได้
1.4.1.5 ตัดกระดาษตามแนวเส้นโค้งที่กำหนด
1.4.1.6 ใช้กล้ามเนื้อเล็กได้ดี เช่น ติดกระดุม ผูกเชือกรองเท้า ฯลฯ
1.4.1.7 ยืดตัว คล่องแคล่ว
1.4.2 พัฒนาการด้านอารมณ์และจิตใจ
1.4.2.1 แสดงอารมณ์ได้สอดคล้องกับสถานการณ์อย่างเหมาะสม
1.4.2.2 ชื่นชมความสามารถและผลงานของตนเองและผู้อื่น
1.4.2.3 ยึดตนเองเป็นศูนย์กลางน้อยลง
1.4.3 พัฒนาการด้านสังคม
1.4.3.1 ปฏิบัติกิจวัตรประจำวันได้ด้วยตนเอง
1.4.3.2 เล่นหรือทำงานโดยมีจุดมุ่งหมายร่วมกับผู้อื่นได้
1.4.3.3 พบผู้ใหญ่ รู้จักไหว้ ทำความเคารพ
1.4.3.4 รู้จักขอบคุณ เมื่อได้รับของจากผู้ใหญ่
1.4.3.5 รับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมาย
1.4.4 พัฒนาการด้านสติปัญญา
1.4.4.1 บอกความแตกต่างของกลิ้น สี เสียง รส รูปร่าง จำแนกและจัดหมวดหมู่สิ่งของได้
1.4.4.2 บอกชื่อ นามสกุล และอายุของตนเองได้
1.4.4.3 พยายามหาวิธีแก้ปัญหาด้วยตนเอง
1.4.4.4 สนทนาโต้ตอบ/เล่าเป็นเรื่องราวได้
1.4.4.5 สร้างผลงานตามความคิดของตนเอง โดยมีรายละเอียดเพิ่มขึ้นและแปลกใหม่
1.4.4.6 รู้จักใช้คำถาม ทำไม อย่างไร
1.4.4.7 เริ่มเข้าใจสิ่งที่เป็นนามธรรม
1.4.4.8 นับปากเปล่าได้ถึง 20
สาระการเรียนรู้และประสบการณ์สำคัญ
สาระการเรียนรู้ใช้เป็นสื่อกลางในการจัดกิจกรรมให้กับเด็ก เพื่อส่งเสริมพัฒนาการทุกด้าน ทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา ซึ่งจำเป็นต่อการพัฒนาเด็กให้เป็นมนุษย์ ที่สมบูรณ์ ทั้งนี้สาระการเรียนรู้ประกอบด้วย องค์ความรู้ ทักษะหรือกระบวนการ และคุณลักษณะหรือค่านิยม คุณธรรม จริยธรรม ความรู้สำหรับเด็กอายุ 3-5 ปี จะเป็นเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับตัวเด็กบุคคลและสถานที่รอบตัวเด็ก ธรรมชาติรอบตัวเด็ก และสิ่งต่าง ๆ รอบตัวเด็ก มีโอกาสใกล้ชิดหรือมีปฏิสัมพันธ์ในชีวิตประจำวันและเป็นสิ่งที่เด็กสนใจ จะไม่เน้นเนื้อหา การท่องจำ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับทักษะหรือกระบวนการจำเป็นต้องบูรณาการทักษะที่สำคัญและจำเป็นสำหรับเด็ก เช่นทักษะการเคลื่อนไหว ทักษะทางสังคม ทักษะการคิด ทักษะการใช้ภาษา คณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ เป็นต้น ขณะเดียวกันควรปลูกฝังให้เด็กเกิดเจตคติที่ดี มีค่านิยมที่พึงประสงค์ เช่น ความรู้สึกที่ดีต่อตนเองและผู้อื่น รักการเรียนรู้ รักธรรมชาติสิ่งแวดล้อมและมีคุณธรรม จริยธรรมที่เหมาะสมกับวัย เป็นต้น
ผู้สอนหรือผู้จัดการศึกษา อาจนำสาระการเรียนรู้มาจัดในลักษณะหน่วยการสอนแบบบูรณาการหรือเลือกใช้วิธีการที่สอดคล้องกับปรัชญาและหลักการจัดการศึกษาปฐมวัย สาระการเรียนรู้กำหนดเป็น 2 ส่วนดังนี้
1.6.1 ประสบการณ์สำคัญ
ประสบการณ์สำคัญเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่งสำหรับการพัฒนาเด็กทางด้าน
ร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญาช่วยให้เด็กเกิดทักษะที่สำคัญสำหรับการสร้างองค์ความรู้ โดยให้เด็กได้มีปฏิสัมพันธ์กับวัตถุ สิ่งของบุคคลต่าง ๆ ที่อยู่รอบตัวรวมทั้งปลูกฝัง คุณธรรม จริยธรรม ไปพร้อมกันด้วย ประสบการณ์สำคัญมี ดังนี้
1.6.1.1 ประสบการณ์สำคัญที่ส่งเสริมพัฒนาการด้านร่างกายได้แก่
(1) การทรงตัวและการประสานสัมพันธ์ของกล้ามเนื้อใหญ่
(1.1) การเคลื่อนไหวอยู่กับที่และการเคลื่อนไหวเคลื่อนที่
(1.2) การเคลื่อนไหวพร้อมวัสดุอุปกรณ์
(1.3) การเล่นเครื่องเล่นสนาม
(2) การประสานสัมพันธ์ของกล้ามเนื้อเล็ก
(2.1) การเล่นเครื่องเล่นสัมผัส
(2.2) การเขียนภาพและการเล่นกับสี
(2.3) การปั้นและประดิษฐ์สิ่งต่าง ๆ ด้วยดินเหนียว ดินน้ำมัน
แท่งไม้ เศษวัสดุ ฯลฯ
(3) การรักษาสุขภาพ
(3.1) การปฏิบัติตนตามสุขอนามัย
(4) การรักษาความปลอดภัย
(4.1) การรักษาความปลอดภัยของตนเองและผู้อื่นในกิจวัตร
ประจำวัน
1.6.1.2 ประสบการณ์สำคัญที่ส่งเสริมพัฒนาการด้านอารมณ์และจิตใจ ได้แก่
(1) ดนตรี
(1.1) การแสดงปฏิกิริยาโต้ตอบเสียงดนตรี
(1.2) การเล่นเครื่องดนตรีง่าย ๆ เช่น เครื่องดนตรีประเภทเคาะ ประเภทตี ฯลฯ
(1.3) การร้องเพลง
(2) สุนทรียภาพ
(2.1) การชื่นชมและสร้างสรรค์สิ่งสวยงาม
(2.2) การแสดงออกอย่างสนุกสนานกับเรื่องตลก ขำขันและเรื่องราว/เหตุการณ์ที่สนุกสนานต่าง ๆ
(3) การเล่น
(3.1) การเล่นอิสระ
(3.2) การเล่นรายบุคคล การเล่นเป็นกลุ่ม
(3.3) การเล่นในห้องเรียนและนอกห้องเรียน
(4) คุณธรรม จริยธรรม
(4.1) การปฏิบัติตนตามหลักศาสนาที่นับถือ
1.6.1.3 ประสบการณ์สำคัญที่ส่งเสริมพัฒนาการด้านสังคม ได้แก่ การเรียนรู้ทางสังคม
(1) การปฏิบัติกิจวัตรประจำวันของตนเอง
(2) การเล่นและการทำงานร่วมกับผู้อื่น
(3) การวางแผน ตัดสินใจเลือก และลงมือปฏิบัติ
(4) การมีโอกาสได้รับรู้ความรู้สึก ความสนใจและความต้องการของตนเองและผู้อื่น
(5) การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและเคารพความคิดเห็นของผู้อื่น
(6) การแก้ปัญหาในการเล่น
(7) การปฏิบัติตามวัฒนธรรมท้องถิ่นที่อาศัยอยู่และความเป็นไทย
1.6.1.4 ประสบการณ์สำคัญที่ส่งเสริมพัฒนาการด้านสติปัญญา ได้แก่
(1) การคิด
(1.1) การรู้จักสิ่งต่าง ๆ ฟัง สัมผัส ชิมรส และดมกลิ่น
(1.2) การเลียนแบบการกระทำและเสียงต่าง ๆ
(1.3) การเชื่อมโยงภาพ ภาพถ่าย และรูปแบบต่าง ๆ กับสิ่งของหรือสถานที่จริง
(1.4) การรับรู้และแสดงความรู้สึกผ่านสื่อวัสดุ ของเล่น และผลงาน
(1.5) การแสดงความคิดสร้างสรรค์ผ่านสื่อ วัสดุ ต่าง ๆ
(2) การใช้ภาษา
(2.1) การแสดงความรู้สึกด้วยคำพูด
(2.2) การพูดกับผู้อื่นเกี่ยวกับประสบการณ์ของตนเองหรือเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับตนเอง
(2.3) การอธิบายเกี่ยวกับสิ่งของ เหตุการณ์ และความสัมพันธ์ของสิ่งต่าง ๆ
(2.4) การฟังเรื่องราว นิทาน คำคล้องจอง คำกลอน
(2.5) การเขียนในหลายรูปแบบผ่านประสบการณ์ที่สื่อความหมายต่อเด็กเขียนภาพ เขียนขีดเขี่ย เขียนคล้ายตัวอักษร เขียนเหมือน สัญลักษณ์ เขียนชื่อตนเอง
(2.6) การอ่านในหลายรูปแบบ ผ่านประสบการณ์ที่สื่อความหมายต่อเด็กอ่านภาพหรือสัญลักษณ์จากหนังสือนิทาน/เรื่องราวที่สนใจ
(3) การสังเกต การจำแนก และการเปรียบเทียบ
(3.1) การสำรวจและอธิบายความเหมือน ความต่างของสิ่งของต่าง ๆ
(3.2) การจับคู่ การจำแนก และการจัดกลุ่ม
(3.3) การเปรียบเทียบ เช่น ยาว/สั้น ขรุขระ/เรียบ ฯลฯ
(3.4) การเรียงลำดับสิ่งต่าง ๆ
(3.5) การคาดคะเนสิ่งต่าง ๆ
(3.6) การตั้งสมมติฐาน
(3.7) การทดลองสิ่งต่าง ๆ
(3.8) การสืบค้นข้อมูล
(3.9) การใช้หรืออธิบายสิ่งต่าง ๆ ด้วยวิธีการที่หลากหลาย
(4) จำนวน
(4.1) การเปรียบเทียบจำนวนมากว่า น้อยกว่า เท่ากัน
(4.2) การนับสิ่งต่าง ๆ
(4.3) การจับคู่หนึ่งต่อหนึ่ง
(4.4) การเพิ่มขึ้นหรือลดลงของจำนวนหรือปริมาณ
(5) มิติสัมพันธ์(พื้นที่/ระยะ)
(5.1) การต่อเข้าด้วยกัน การแยกออก การบรรจุและการเทออก
(5.2) การสังเกตสิ่งต่าง ๆ และสถานที่จากมุมมองที่ต่าง ๆ กัน
(5.3) การอธิบายในเรื่องตำแหน่งของสิ่งต่าง ๆ ที่ส้มพันธ์กัน
(5.4) การอธิบายในเรื่องทิศทางการเคลื่อนที่ของคนและสิ่งต่างๆ
(5.6) การสื่อความหมายของมิติสัมพันธ์ด้วยภาพวาด ภาพถ่ายและรูปภาพ
(6) เวลา
(6.1) การเริ่มต้นและการหยุดการกระทำโดยสัญญาณ
(6.2) การเปรียบเทียบเวลา เช่น ตอนเช้า ตอนเย็น เมื่อวานนี้ พรุ่งนี้ ฯลฯ
(6.3) การเรียงลำดับเหตุการณ์ต่าง ๆ
(6.4) การสังเกตความเปลี่ยนแปลงของฤดู
อ้างอิง อาจารย์ ศจีมาศ พูลทรัพย์ www.rncc.ac.th/Media/Early_Childhood_Education/...3.../unit3.ppt
และ นายสุบัน สุขวิเศษ http://sulove001.blogspot.com/2011/10/1.html
หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ 2551
อ่านได้ที่ https://kruesantutor.files.wordpress.com/2013/04/e0b8aae0b8a3e0b8b8e0b89be0b8abe0b8a5e0b8b1e0b881e0b8aae0b8b9e0b895e0b8a3e0b981e0b881e0b899e0b881e0b8a5e0b8b2e0b887e0b881e0b8b2e0b8a3.pdf
และ นายสุบัน สุขวิเศษ http://sulove001.blogspot.com/2011/10/1.html
หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ 2551
อ่านได้ที่ https://kruesantutor.files.wordpress.com/2013/04/e0b8aae0b8a3e0b8b8e0b89be0b8abe0b8a5e0b8b1e0b881e0b8aae0b8b9e0b895e0b8a3e0b981e0b881e0b899e0b881e0b8a5e0b8b2e0b887e0b881e0b8b2e0b8a3.pdf
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น