ปัญหาการพัฒนาหลักสูตรไทย
1. ปัญหาการขาดครูที่มีคุณสมบัติเหมาะสม
2. ปัญหาการไม่ยอมรับและไม่เปลี่ยนแปลงบทบาทการสอนของครู
3. ปัญหาการจัดอบรมครู
4. ศูนย์การพัฒนาหลักสูตร ไม่เข้าใจบทบาทหน้าที่ของตน
5. ขาดการประสานงานที่ดีระหว่างหน่วยงานต่างๆ
6. ผู้บริหารต่างๆ ไม่สนใจเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงหลักสูตร
7. ปัญหาการขาดแคลนเอกสาร
ปัญหาหลักสูตรในการศึกษาปฐมวัย
การเรียนการสอนจะเน้นสอนเนื้อหาวิชาตามหลักสูตรมากกว่าการพัฒนาการเด็ก ทำให้เด็กเกิดความเครียด
- การไม่ได้ใช้ประโยชน์จากหลักสูตรอย่างเต็มที่
- แนวทางการปฏิบัติเกี่ยวกับการใช้หลักสูตรยังขาดความเป็นเอกภาพ
ปัญหาหลักสูตรในการศึกษาขั้นพื้นฐาน
- การจัดโครงสร้างหลักสูตรใหม่ทำให้ครูต้องสอนเนื้อหาหนักมากขึ้น และผู้เรียนต้องเรียนหนักมากขึ้น
- สถานศึกษาจัดทำเองไม่มีความชัดเจกรมวิชาการและกรมเจ้าสังกัดมีจุดเน้นที่ไม่ตรงกัน
- มีเสียงสะท้อนว่านโยบายการจัดทำหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2544 ที่ให้โรงเรียนจัดทำเองไม่มีความชัดเจน
- ทำให้ครูเกิดความสับสน
ปัญหาหลักสูตรการอาชีวศึกษา
ผู้เข้าเรียนในการอาชีวศึกษาไม่มีคุณภาพเท่าที่ควรหลักสูตรก่อนถึงระดับ ปวช. คือระดับมัธยมต้น หรือการศึกษาผู้ใหญ่เป็นการปูพื้นฐานความรู้ระดับต่ำ เช่น อ่าน สะกดคำไม่ได้ ขาดความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษ เมื่อมาเรียนต่อในระดับอาชีวศึกษาจึงเกิดปัญหา แม้ครูจะเตรียมการสอนดีอย่างไร ผู้เรียนไม่สามารถต่อยอดความรู้ได้ เพราะพื้นฐานความรู้ไม่ดีเพียงพอ
การจัดหลักสูตรสำหรับผู้ด้อยโอกาส
- ยังไม่เหมาะสม เพราะหลักสูตรยังยึดวิธีการแบบเก่าๆไม่สนองความต้องการและความสนใจและสอดคล้องกับวิถีชีวิตของผู้ด้อยโอกาสในแต่ละกลุ่มเป้าหมาย
สภาพและปัญหาของหลักสูตร
1. การกระจายโอกาสและความเสมอภาคทางการศึกษา
2. คุณภาพการศึกษา
3. หลักสูตรและการเรียนการสอน
4. การบริหารและการจัดการศึกษา
5. งบประมาณและการลงทุนทางการศึกษา
6. คุณภาพของผู้สำเร็จการศึกษา
7. แนวโน้มผู้เข้าเรียน
แนวโน้มการพัฒนาหลักสูตรประถมศึกษา
การศึกษาสำหรับเด็กเล็ก และก่อนประถมศึกษาจะขยายตัวมากกว่าระดับอื่น
- การเพิ่มคุณภาพของครูประถม
- การเพิ่มงบประมาณ การปรับปรุงคุณภาพ และหลักสูตรโดยเน้นการประกอบอาชีพ
- การพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนให้ใกล้ชิดยิ่งขึ้น
- การยุบโรงเรียนรวมเข้าด้วยกันแทนการสร้างโรงเรียนแห่งใหม่
แนวโน้มการพัฒนาหลักสูตรมัธยมศึกษา
- เป็นบุคคลที่มีความสามารถในการใช้ภาษา เพื่อการสื่อสาร
- มีความสามารถใช้เทคโนโลยีมาช่วยส่งเสริมทักษะการทำงานและการดำเนินชีวิต
- มีความสามารถปรับตัวอยู่ร่วมกับคนอื่นได้
- มีแนวทางที่จะเลือกดำเนินชีวิต
- มีความสามารถพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ของตนเองให้เจริญถึงขีดสุด
- มีความสามารถที่จะนำตนเองได้ การควบคุมตนเองได้
- มีโลกทัศน์ที่กว้างและมีน้ำใจแบบนานาชาติรวมทั้งมีค่านิยมและความสำนึกในความเป็นชาติไทยของตน
- มีค่านิยมคุณธรรมและจริยธรรม
- มีสุนทรียภาพในการดำเนินชีวิต
สภาพปัญหาการพัฒนาหลักสูตรของอุดมศึกษา
- ขาดแคลนอาจารย์ประจำที่มีคุณวุฒิและประสบการณ์โดยเฉพาะสาขาวิชาที่มีความต้องการมากทางด้านวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ และเกษตรกรรม
- อุดมศึกษามุ่งความเป็นเลิศทางวิชาการ ละเลยคุณธรรม จริยธรรม การบริการวิชาการแก่สังคม
- มหาวิทยาลัยมักเลียนแบบต่างประเทศโดยไม่เข้าใจ หลักการและเป้าหมายที่แท้จริงของหลักการที่เลียนแบบ
- การเรียนการสอนยังเน้นทฤษฎีมากกว่าปฏิบัติเน้นความรู้มากกว่าการนำไปใช้
- การตื่นตัวทางการวิจัยมุ่งการกำหนดให้เลื่อนตำแหน่งทางวิชาการซึ่งเน้นการวิจัยมากเกินไปจนทำให้ลดความสำคัญด้านการสอน
- กลุ่มผู้บริหารอุดมศึกษามีลักษณะอนุรักษ์นิยมสูง
- งบประมาณในการพัฒนาการศึกษาระดับนี้ก็ยังมีไม่เพียงพอ
แนวโน้มสำคัญของการศึกษาไทยใน 5 ปีข้างหน้า
- มุ่งพัฒนาหลักสูตรใหม่ ๆ อาทิ หลักสูตรที่บูรณาการระหว่างสองศาสตร์ขึ้นไป เช่น ระดับอาชีวศึกษา หลักสูตรเดียวจะมีหลายสาขาวิชาเรียนช่างยนต์ จะผนวกการตลาดและการบัญชีเข้าไปด้วย เป็นต้น หลักสูตรที่ให้ปริญญาบัตร 2 ใบ และมีการพัฒนาหลักสูตรให้ทันสมัยตลอดเวลา
- หลักสูตรนานาชาติมีแนวโน้มมากขึ้น เนื่องจากสภาพยุคโลกาภิวัตน์ที่มีการเชื่อมโยงด้านการค้าและการลงทุน
- การจัดการศึกษามีความเป็นสากลมากขึ้นสภาพโลกาภิวัฒน์ที่มีการเชื่อมโยงในทุกด้านร่วมกันทั่วโลก
- ความเหลื่อมล้ำด้านโอกาสทางการศึกษาลดลง
- โอกาสรับบริการทางการศึกษาที่มีคุณภาพเพิ่มขึ้น
วันอาทิตย์ที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2558
15. การประเมินผลหลักสูตร(ต่อ)
ระยะของการประเมินหลักสูตร ระยะที่ 1 การประเมินหลักสูตรก่อนนำหลักสูตรไปใช้ (Project Analysis)
1.1 ประเมินหลักสูตรเมื่อสร้างหลักสูตรฉบับร่างเสร็จแล้ว
1.2 ประเมินผลในขึ้นตอนทดลอง
ระยะที่ 2 การประเมิน หลักสูตรระหว่างการดำเนินการใช้หลักสูตร (Formative Evaluation)
ระยะที่ 3 การประเมินหลักสูตรหลังการใช้หลักสูตร (Summative Evaluation)
1.มิติด้านข้อมูลที่มีอยู่ (Information Grasp)
2.มิติด้านปริมาณความเปลี่ยนแปลงที่ต้องการให้เกิดขึ้น (Degree of Change)
จากรูปแบบการประเมินผลหลักสูตรตามแนวคิดของสตัฟเฟิลบีมแสดงให้เห็นว่า
1.สถานการณ์ตัดสินใจที่ต้องการให้มีการเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อย แต่ทว่าข้อมูลที่จะช่วยในการตัดสินใจนั้นมีอยู่มาก สถานการณ์ตัดสินใจอย่างนี้เรียกว่า Homeostatic
2.สถานการณ์ตัดสินใจที่ต้องการให้มีการเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อย และข้อมูลที่จะช่วยในการตัดสินใจนั้นมีอยู่น้อย สถานการณ์ตัดสินใจอย่างนี้เรียกว่า Incremental
3.สถานการณ์ตัดสินใจที่ต้องการให้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมาก และข้อมูลที่จะช่วยในการตัดสินใจนั้นมีอยู่น้อย สถานการณ์ตัดสินใจอย่างนี้เรียกว่า Neomobilistic
4.สถานการณ์ตัดสินใจที่ต้องการให้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมาก และข้อมูลที่จะช่วยในการตัดสินใจนั้นมีอยู่มาก สถานการณ์ตัดสินใจอย่างนี้เรียกว่า Metamorphismจากที่กล่าวมาจะเห็นได้ว่า การตัดสินใจไม่ว่าจะอยู่ในสถานการณ์แบบไหน จำเป็นต้องอาศัยข้อมูลเชิงประมาณ (Evaluation Data) มาช่วยเป็นพื้นฐาน ในการตัดสินใจ
สตัฟเฟิลบีมได้ให้แนวคิดไว้ว่า การประเมินผลหลักสูตรนั้นมีสิ่งสำคัญที่เราต้องประเมินอยู่ 4 ด้าน คือ
1.การประเมินสภาพแวดล้อม (Context Evaluation) ในการประเมินสภาพแวดล้อมนี้ ผู้ประเมินอาจใช้วิธีดังต่อไปนี้
1.1 การวิเคราะห์ความคิดรวบยอด
1.2 การทำวิจัยด้วยการเก็บข้อมูลมาวิเคราะห์จริงๆ
1.3 การอาศัยทฤษฎีและความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ
2.ประเมินตัวป้อน (Inputs Evaluation) อาจทำได้โดย
2.1 จัดทำในรูปแบบของขณะกรรมการ
2.2 อาศัยงานวิจัยที่เกี่ยวข้องที่มีผู้ทำเอาไว้แล้ว
2.3 ว่าจ้างผู้เชี่ยวชาญมาให้คำปรึกษา
2.4 ทำการวิจัยเชิงทดลองเป็นการนำร่อง
3.การประเมินกระบวนการ (Process Evaluation) มีด้วยกันหลายวิธี
3.1 การสังเกตแบบมีส่วนร่วมปฏิบัติ
3.2 การวิเคราะห์ความสัมพันธ์
3.3 การสัมภาษณ์
3.4 การใช้แบบสอบถามประเภทมาตราส่วนประมาณค่า
3.5 การเขียนรายงานประเภทปลายเปิด
4.การประเมินผลผลิต (Products Evaluation)
โรเบอร์ต แฮมมอนด์ มีแนวคิดการประเมินหลักสูตรโดยยึดจุดประสงค์เป็นหลักคล้ายไทเลอร์ แต่แฮมมอนด์ได้เสนอแนวคิดที่ต่างจากไทเลอร์ว่า โครงสร้างสำหรับการประเมินนั้นประกอบด้วยมิติใหญ่ๆหลายมิติ แต่ละมิติก็จะประกอบด้วยตัวแปรสำคัญอีกหลายตัวแปร ความสำเร็จหรือความล้มเหลวของหลักสูตรขึ้นอยู่กับการปะทะสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรในมิติต่างๆดังนี้ มิติทั้ง 3 ได้แก่ มิติด้านการเรียนการสอน มิติด้านสถาบัน และมิติด้านพฤติกรรม
1.มิติด้านการสอน ประกอบด้วยตัวแปรสำคัญ 5 ตัวแปร
1.1 การจัดชั้นเรียนและตารางสอน
1.2 เนื้อหาวิชาที่จะนำมาจัดการเรียนการสอน
1.3 วิธีการ หลักการเรียนรู้การออกแบบพฤติกรรมการเรียน
1.4 สิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ เช่น สถานที่ อุปกรณ์ เครื่องมือ และห้องปฏิบัติการ 1.5 งบประมาณหรือเงินที่ใช้ในการจัดการเรียนการสอน
2.มิติด้านสถาบัน ประกอบด้วยตัวแปรสำคัญ 6 ตัวแปร
2.1 นักเรียน องค์ประกอบที่ต้องคำนึงถึงได้แก่ อายุ เพศ ระดับชั้นที่กำลังศึกษา
2.2 ครู องค์ประกอบที่ต้องคำนึงถึงได้แก่ อายุ เพศ วุฒิสูงสุดทางการศึกษา ประสบการณ์การสอน
2.3 ผู้บริหาร องค์ประกอบที่ต้องคำนึงถึงได้แก่ อายุ เพศ วุฒิสูงสุดทางการศึกษา ประสบการณ์ทางการศึกษา การฝึกอบรมเพิ่มเติมเกี่ยวกับการใช้หลักสูตร
2.4 ผู้เชี่ยวชาญ องค์ประกอบที่ต้องคำนึงถึงได้แก่ อายุ เพศ ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน 2.5 ครอบครัว องค์ประกอบที่ต้องคำนึงถึงได้แก่ สถานภาพ ขนาดครอบครัว รายได้
2.6 ชุมชน องค์ประกอบที่ต้องคำนึงถึงได้แก่ สถานภาพชุมชน จำนวนประชากร ความเชื่อ
3.มิติด้านพฤติกรรม มีองค์ประกอบของพฤติกรรม 3 ด้าน คือ พฤติกรรมด้านความรู้ พฤติกรรมด้านทักษะ พฤติกรรมด้านเจตคติ
แนวคิดการประเมินหลักสูตรของแฮมมอนด์ เริ่มด้วยการประเมินหลักสูตรที่เริ่มดำเนินการในปัจจุบันแล้วจึงกำหนดทิศทางและกระบวนของการเปลี่ยนแปลงหลักสูตร มีดังนี้
1.กำหนดสิ่งที่ต้องการประเมิน ควรจะเริ่มต้นที่วิชาใดวิชาหนึ่งในหลักสูตร
2.กำหนดตัวแปรในมิติการสอนและมิติสภาบันให้ชัดเจน
3.กำหนดจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม โดยระบุถึง
3.1.พฤติกรรมของนักเรียนที่แสดงว่าประสบความสำเร็จตามจุดประสงค์
3.2.เงื่อนไขของพฤติกรรมที่เกิดขึ้น
3.3.เกณฑ์ของพฤติกรรมที่บอกให้รู้ว่านักเรียนประสบความสำเร็จตามจุดประสงค์มากน้อยเท่าใด
3.4.ประเมินพฤติกรรมที่ระบุไว้ในจุดประสงค์
3.5.วิเคราะห์ผลภายในองค์ประกอบและความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบต่างๆ เพื่อให้ได้ข้อสรุปพฤติกรรมแท้จริงที่เกิดขึ้นซึ่งเป็นผลสะท้อนกลับไปสู่วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้และเป็นการตัดสินว่าหลักสูตรนั้นมีประสิทธิภาพเพียงใด
3.6.พิจารณาสิ่งที่ควรเปลี่ยนแปลงปรับปรุง
1.1 ประเมินหลักสูตรเมื่อสร้างหลักสูตรฉบับร่างเสร็จแล้ว
1.2 ประเมินผลในขึ้นตอนทดลอง
ระยะที่ 2 การประเมิน หลักสูตรระหว่างการดำเนินการใช้หลักสูตร (Formative Evaluation)
ระยะที่ 3 การประเมินหลักสูตรหลังการใช้หลักสูตร (Summative Evaluation)
แดเนียล แอล สตัฟเฟิลบีม (Daniel L. Stufflebeam) ได้อธิบายความหมายของการประเมินผลทางการศึกษาเอาไว้ว่าเป็นกระบวนการการบรรยายการหาข้อมูล และการใช้ข้อมูลเพื่อการตัดสินใจหาทางเลือก รูปแบบการประเมินของสตัฟเฟิลบีมเป็นรูปแบบที่เหมาะสมแก่การช่วยตัดสินใจเพื่อหาทางเลือกที่ดีที่สุดตามปกติสถานการณ์ในการตัดสินใจ จะประกอบไปด้วยมิติที่สำคัญ 2 ประการ
2.มิติด้านปริมาณความเปลี่ยนแปลงที่ต้องการให้เกิดขึ้น (Degree of Change)
จากรูปแบบการประเมินผลหลักสูตรตามแนวคิดของสตัฟเฟิลบีมแสดงให้เห็นว่า
1.สถานการณ์ตัดสินใจที่ต้องการให้มีการเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อย แต่ทว่าข้อมูลที่จะช่วยในการตัดสินใจนั้นมีอยู่มาก สถานการณ์ตัดสินใจอย่างนี้เรียกว่า Homeostatic
2.สถานการณ์ตัดสินใจที่ต้องการให้มีการเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อย และข้อมูลที่จะช่วยในการตัดสินใจนั้นมีอยู่น้อย สถานการณ์ตัดสินใจอย่างนี้เรียกว่า Incremental
3.สถานการณ์ตัดสินใจที่ต้องการให้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมาก และข้อมูลที่จะช่วยในการตัดสินใจนั้นมีอยู่น้อย สถานการณ์ตัดสินใจอย่างนี้เรียกว่า Neomobilistic
4.สถานการณ์ตัดสินใจที่ต้องการให้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมาก และข้อมูลที่จะช่วยในการตัดสินใจนั้นมีอยู่มาก สถานการณ์ตัดสินใจอย่างนี้เรียกว่า Metamorphismจากที่กล่าวมาจะเห็นได้ว่า การตัดสินใจไม่ว่าจะอยู่ในสถานการณ์แบบไหน จำเป็นต้องอาศัยข้อมูลเชิงประมาณ (Evaluation Data) มาช่วยเป็นพื้นฐาน ในการตัดสินใจ
1.การประเมินสภาพแวดล้อม (Context Evaluation) ในการประเมินสภาพแวดล้อมนี้ ผู้ประเมินอาจใช้วิธีดังต่อไปนี้
1.1 การวิเคราะห์ความคิดรวบยอด
1.2 การทำวิจัยด้วยการเก็บข้อมูลมาวิเคราะห์จริงๆ
1.3 การอาศัยทฤษฎีและความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ
2.ประเมินตัวป้อน (Inputs Evaluation) อาจทำได้โดย
2.1 จัดทำในรูปแบบของขณะกรรมการ
2.2 อาศัยงานวิจัยที่เกี่ยวข้องที่มีผู้ทำเอาไว้แล้ว
2.3 ว่าจ้างผู้เชี่ยวชาญมาให้คำปรึกษา
2.4 ทำการวิจัยเชิงทดลองเป็นการนำร่อง
3.การประเมินกระบวนการ (Process Evaluation) มีด้วยกันหลายวิธี
3.1 การสังเกตแบบมีส่วนร่วมปฏิบัติ
3.2 การวิเคราะห์ความสัมพันธ์
3.3 การสัมภาษณ์
3.4 การใช้แบบสอบถามประเภทมาตราส่วนประมาณค่า
3.5 การเขียนรายงานประเภทปลายเปิด
4.การประเมินผลผลิต (Products Evaluation)
1.มิติด้านการสอน ประกอบด้วยตัวแปรสำคัญ 5 ตัวแปร
1.1 การจัดชั้นเรียนและตารางสอน
1.2 เนื้อหาวิชาที่จะนำมาจัดการเรียนการสอน
1.3 วิธีการ หลักการเรียนรู้การออกแบบพฤติกรรมการเรียน
1.4 สิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ เช่น สถานที่ อุปกรณ์ เครื่องมือ และห้องปฏิบัติการ 1.5 งบประมาณหรือเงินที่ใช้ในการจัดการเรียนการสอน
2.มิติด้านสถาบัน ประกอบด้วยตัวแปรสำคัญ 6 ตัวแปร
2.1 นักเรียน องค์ประกอบที่ต้องคำนึงถึงได้แก่ อายุ เพศ ระดับชั้นที่กำลังศึกษา
2.2 ครู องค์ประกอบที่ต้องคำนึงถึงได้แก่ อายุ เพศ วุฒิสูงสุดทางการศึกษา ประสบการณ์การสอน
2.3 ผู้บริหาร องค์ประกอบที่ต้องคำนึงถึงได้แก่ อายุ เพศ วุฒิสูงสุดทางการศึกษา ประสบการณ์ทางการศึกษา การฝึกอบรมเพิ่มเติมเกี่ยวกับการใช้หลักสูตร
2.4 ผู้เชี่ยวชาญ องค์ประกอบที่ต้องคำนึงถึงได้แก่ อายุ เพศ ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน 2.5 ครอบครัว องค์ประกอบที่ต้องคำนึงถึงได้แก่ สถานภาพ ขนาดครอบครัว รายได้
2.6 ชุมชน องค์ประกอบที่ต้องคำนึงถึงได้แก่ สถานภาพชุมชน จำนวนประชากร ความเชื่อ
3.มิติด้านพฤติกรรม มีองค์ประกอบของพฤติกรรม 3 ด้าน คือ พฤติกรรมด้านความรู้ พฤติกรรมด้านทักษะ พฤติกรรมด้านเจตคติ
แนวคิดการประเมินหลักสูตรของแฮมมอนด์ เริ่มด้วยการประเมินหลักสูตรที่เริ่มดำเนินการในปัจจุบันแล้วจึงกำหนดทิศทางและกระบวนของการเปลี่ยนแปลงหลักสูตร มีดังนี้
1.กำหนดสิ่งที่ต้องการประเมิน ควรจะเริ่มต้นที่วิชาใดวิชาหนึ่งในหลักสูตร
2.กำหนดตัวแปรในมิติการสอนและมิติสภาบันให้ชัดเจน
3.กำหนดจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม โดยระบุถึง
3.1.พฤติกรรมของนักเรียนที่แสดงว่าประสบความสำเร็จตามจุดประสงค์
3.2.เงื่อนไขของพฤติกรรมที่เกิดขึ้น
3.3.เกณฑ์ของพฤติกรรมที่บอกให้รู้ว่านักเรียนประสบความสำเร็จตามจุดประสงค์มากน้อยเท่าใด
3.4.ประเมินพฤติกรรมที่ระบุไว้ในจุดประสงค์
3.5.วิเคราะห์ผลภายในองค์ประกอบและความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบต่างๆ เพื่อให้ได้ข้อสรุปพฤติกรรมแท้จริงที่เกิดขึ้นซึ่งเป็นผลสะท้อนกลับไปสู่วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้และเป็นการตัดสินว่าหลักสูตรนั้นมีประสิทธิภาพเพียงใด
3.6.พิจารณาสิ่งที่ควรเปลี่ยนแปลงปรับปรุง
14. การประเมินผลหลักสูตร: แนวคิด ทฤษฎี และรูปแบบ
การประเมินผลหลักสูตร
1.ตามหลักของ SU Model
การประเมินหลักสูตร
การประเมินหลักสูตร มี 3 ขั้นตอน คือ ประเมินก่อนนำหลักสูตรไปใช้ ประเมินหลักสูตรระหว่างใช้ ประเมินหลักสูตรหลังใช้ ซึ่งการประเมินหลักสูตรระหว่างใช้ จัดได้ว่าเป็นการประเมินความก้าวหน้า วัดความรู้ ข้อบกพร่องของนักเรียน การประเมินหลักสูตรหลังใช้เป็นการประเมินสรุปรวม เพื่อตัดสินความสำเร็จของผู้เรียน
เครื่องมือการประเมิน เช่น แบบทดสอบความรู้ตามสภาพจริง แบบทดสอบวัดความสามารถตามสภาพจริง แบบสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้ แบบประเมินการเรียนรู้โดยใช้แฟ้มผลงานและกำหนดเกณฑ์การประเมินโดยใช้ SOLO taxonomy
1.ตามหลักของ SU Model
การประเมินหลักสูตร
การประเมินหลักสูตร มี 3 ขั้นตอน คือ ประเมินก่อนนำหลักสูตรไปใช้ ประเมินหลักสูตรระหว่างใช้ ประเมินหลักสูตรหลังใช้ ซึ่งการประเมินหลักสูตรระหว่างใช้ จัดได้ว่าเป็นการประเมินความก้าวหน้า วัดความรู้ ข้อบกพร่องของนักเรียน การประเมินหลักสูตรหลังใช้เป็นการประเมินสรุปรวม เพื่อตัดสินความสำเร็จของผู้เรียน
เครื่องมือการประเมิน เช่น แบบทดสอบความรู้ตามสภาพจริง แบบทดสอบวัดความสามารถตามสภาพจริง แบบสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้ แบบประเมินการเรียนรู้โดยใช้แฟ้มผลงานและกำหนดเกณฑ์การประเมินโดยใช้ SOLO taxonomy
2. ทาบา (Taba, 1962 : 310) ได้กล่าวไว้ว่า การประเมินหลักสูตรทำขึ้นเพื่อศึกษากระบวนการต่างๆ ที่
กำหนดไว้ว่ามีการเปลี่ยนแปลงใดบ้างที่สอดคล้องหรือขัดแย้งกับวัตถุประสงค์ของการศึกษาการประเมิดังกล่าวจะครอบคลุมเนื้อหาทั้งหมดของหลักสูตรและกระบวนการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องซึ่งได้แก่ จุดประสงค์ ขอบเขตของเนื้อหาสาระ คุณภาพของผู้ใช้บริหารและผู้ใช้หลักสูตร สมรรถภาพของผู้เรียน ความสัมพันธ์ของวิชาต่างๆ การใช้สื่อและวัสดุการสอน ฯลฯ
3. ใจทิพย์ เชื้อรัตนพงษ์ (2539 : 192-193) กล่าวว่าโดยทั่วไปการประเมินหลักสูตรใดๆ ก็ตามจะมีจุดมุ่งหมายสำคัญที่คล้ายคลึงกัน ดังนี้ คือ เพื่อหาทางปรับปรุงแก้ไขสิ่งบกพร่องที่พบในองค์ประกอบต่างๆ ของหลักสูตรเพื่อหาทางปรับปรุงแก้ไขระบบการบริหารหลักสูตร การนิเทศกำกับดูแลการจัดกระบวนการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นเพื่อช่วยในการตัดสินใจของผู้บริหารว่าควรใช้หลักสูตรต่ออีกหรือควรยกเลิกการใช้หลักสูตรเพื่อต้องการทราบคุณภาพของผู้เรียน
กำหนดไว้ว่ามีการเปลี่ยนแปลงใดบ้างที่สอดคล้องหรือขัดแย้งกับวัตถุประสงค์ของการศึกษาการประเมิดังกล่าวจะครอบคลุมเนื้อหาทั้งหมดของหลักสูตรและกระบวนการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องซึ่งได้แก่ จุดประสงค์ ขอบเขตของเนื้อหาสาระ คุณภาพของผู้ใช้บริหารและผู้ใช้หลักสูตร สมรรถภาพของผู้เรียน ความสัมพันธ์ของวิชาต่างๆ การใช้สื่อและวัสดุการสอน ฯลฯ
3. ใจทิพย์ เชื้อรัตนพงษ์ (2539 : 192-193) กล่าวว่าโดยทั่วไปการประเมินหลักสูตรใดๆ ก็ตามจะมีจุดมุ่งหมายสำคัญที่คล้ายคลึงกัน ดังนี้ คือ เพื่อหาทางปรับปรุงแก้ไขสิ่งบกพร่องที่พบในองค์ประกอบต่างๆ ของหลักสูตรเพื่อหาทางปรับปรุงแก้ไขระบบการบริหารหลักสูตร การนิเทศกำกับดูแลการจัดกระบวนการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นเพื่อช่วยในการตัดสินใจของผู้บริหารว่าควรใช้หลักสูตรต่ออีกหรือควรยกเลิกการใช้หลักสูตรเพื่อต้องการทราบคุณภาพของผู้เรียน
13. การนำหลักสูตรไปใช้ต่อ
หลักการที่สำคัญในการนำหลักสูตรไปใช้
1. จะต้องมีการวางแผนและเตรียมการ
2. จะต้องมีองค์คณะบุคคลทั้งส่วนกลางและส่วนท้องถิ่นทำหน้าที่ประสานงานกัน
3. ดำเนินการอย่างเป็นระบบ
4. คำนึงถึงปัจจัยที่จะช่วยในการนำหลักสูตรไปใช้
5. ครูเป็นบุคคลที่สำคัญที่สุด ดังนั้น ครูจะต้องได้รับการพัฒนาอย่างเต็มที่และจริงจัง
6. จัดตั้งให้มีหน่วยงานที่มีผู้เชี่ยวชาญพิเศษ เพื่อให้การสนับสนุนและพัฒนาครู
7. หน่วยงานและบุคคลในฝ่ายต่างๆ ต้องปฏิบัติหน้าที่อย่างเต็มความสามารถ
8. มีการติดตามและประเมินผลเป็นระยะๆ
กิจกรรม/งานที่เกี่ยวข้องกับการนำหลักสูตรไปใช้
สงัด อุทรานันท์ (2532 : 263-271) กล่าวว่า การนำหลักสูตรไปใช้มีงานหลัก 3 ประการ คือ
1. งานบริหารและบริการหลักสูตร จะเกี่ยวข้องกับ งานเตรียมบุคลากร การจัดครูเข้าสอนตามหลักสูตร การบริหารและบริการวัสดุหลักสูตร การบริการหลักสูตรภายในโรงเรียน
2. งานดำเนินการเรียนการสอนตามหลักสูตรประกอบด้วย การปรับปรุงหลักสูตรให้สอดคล้องกับสภาพท้องถิ่น การจัดทำแผนการสอน การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
3. งานสนับสนุนและส่งเสริมการใช้หลักสูตรประกอบด้วย การนิเทศและติดตามผลการใช้หลักสูตรและการตั้งศูนย์บริการเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมการใช้หลักสูตร
ขั้นตอนการนำหลักสูตรไปใช้
1. ขั้นการเตรียมการใช้หลักสูตร
2. ขั้นดำเนินการใช้หลักสูตร
3. ขั้นติดตามและประเมินผล
การประเมินหลักสูตร
1. การตรวจสอบประสิทธิผลและความตกต่ำของคุณภาพของหลักสูตร
2. การตรวจสอบหาเหตุที่ทำให้คุณภาพตกต่ำ3. แก้ไขและตรวจสอบประสิทธิผลของวิธีการที่นำมาแก้ไข
บทบาทของหน่วยงานส่วนกลางและส่วนท้องถิ่นในการนำหลักสูตรไปใช้
• การใช้หลักสูตรโดยหน่วยงานส่วนกลางที่มีบทบาทเต็มที่
• การใช้หลักสูตรโดยให้โรงเรียนมีบทบาทเต็มที่
• การใช้หลักสูตรโดยให้หน่วยงานส่วนกลางมีบทบาทเป็นส่วนใหญ่ และมีหน่วยงานท้องถิ่นเป็นผู้ให้ความช่วยเหลือ
• ใช้หลักสูตรโดยให้หน่วยงานส่วนท้องถิ่นมีบทบาทสำคัญ และหน่วยงานส่วนกลางเป็นผู้ให้การสนับสนุน
บทบาทของบุคลากรในการนำหลักสูตรไปใช้
• ผู้บริหารโรงเรียน
• หัวหน้าหมวดวิชาหรือสาขาวิชา
• ครูผู้สอน
12. การนำหลักสูตรไปใช้
การนำหลักสูตรไปใช้
มโนทัศน์(Concept)
การนำหลักสูตรไปใช้เป็นขั้นตอนที่สำคัญยิ่งในการพัฒนาหลักสูตร เพราะเป็นการนำอุดมการณ์ จุดมุ่งหมายของหลักสูตร เนื้อหาวิชา และประสบการณ์การเรียนรู้ที่คัดสรรค์อย่างดีแล้วไปสู่ผู้เรียน นักพัฒนาหลักสูตรทุกคนต่างก็ยอมรับความสำคัญของขั้นตอนในการนำหลักสูตรไปใช้ ว่ามีความสำคัญยิ่งกว่าขั้นตอนอื่นใดทั้งหมด เป็นตัวบ่งชี้ถึงความสำเร็จหรือความล้มเหลวของหลักสูตรโดยตรง
เพราะฉะนั้นการนำหลักสูตรไปใช้จึงมีความสำคัญที่บุคคลผู้เกี่ยวข้องในการนำหลักสูตรไปใช้จะต้องทำความเข้าใจกับวิธีการขั้นตอนต่างๆ เพื่อให้สามารถนำหลักสูตรไปใช้อย่างมีประสิทธิผลสูงสุดสมความมุ่งหมายทุกประการ
ผลการเรียนรู้(Learning Outcome)
มีความรู้ ความเข้าใจการนำหลักสูตรไปใช้ การใช้ทรัพยากรในท้องถิ่น และแหล่งเรียนรู้ สามารถบอกบุคคลที่เกี่ยวข้องเพื่อการประสานงานเมื่อนำหลักสูตรไปใช้
สาระเนื้อหา(Content)
การนำหลักสูตรไปใช้
การนำหลักสูตรไปใช้เป็นกระบวนการดำเนินงาน กิจกรรมต่างๆในการนำหลักสูตรไปสู่โรงเรียนและจัดการเรียนการสอนเพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายของหลักสูตร เป็นงานที่เกี่ยวข้องกับบุคคลหลายฝ่าย ตั้งแต่ระดับกระทรวงศึกษาธิการ แต่ละฝ่ายมีความเกี่ยวข้องกัน เช่น หน่วยงานส่วนกลางเกี่ยวข้องในด้านการบริหารและบริหารหลักสูตรกับการนิเทศและติดตามผลการใช้หลักสูตร
การนำหลักสูตรไปใช้จำต้องเป็นขั้นตอนตามลำดับ
1.ขั้นการวางแผน และเตรียมการในการประชาสัมพันธ์หลักสูตรและการเตรียมบุคลากรที่เกี่ยวข้อง 2.ขั้นดำเนินการนำหลักสูตรไปใช้อย่างมีระบบ การจัดครูเข้าสอนตามหลักสูตร การบริการวัสดุ
3.ขั้นติดตามประเมินผลการนำหลักสูตรไปใช้ การติดตามและประเมินผลการใช้หลักสูตร การนำหลักสูตรไปใช้ถือเป็นกระบวนการที่สำคัญ ที่จะทำให้หลักสูตรที่สร้างขึ้นบรรลุผลตามจุดหมาย และเป็นกระบวนการที่ต้องได้รับความร่วมมือจากบุคคลที่เกี่ยวข้องหลายๆฝ่าย และที่สำคัญที่สุดคือครูผู้สอน
ความหมายของการนำหลักสูตรไปใช้
โบแชมป์ (Beauchamp,1975:164) ให้ความหมายของการนำหลักสูตรไปใช้ว่า การนำหลักสูตรไปปฏิบัติ โดยกระบวนการการแปลงหลักสูตรไปสู่การสอน การจัดสภาพสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนให้ครูได้มีพัฒนาการเรียนการสอน
สันติ ธรรมบำรุง (2527.120) กล่าวว่า การนำหลักหลักสูตรไปใช้หมายถึงการที่ผู้บริหารโรงเรียนและครูนำโครงการของหลักสูตรที่เป็นรูปเล่มนั้นไปปฏิบัติให้บังเกิดผล รวมถึงการบริหารงานด้านวิชาการของโรงเรียนเพื่ออำนวยความสะดวกให้ครูและนักเรียนสามารถสอนและเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
จันทรา (Chandra, 1977:1) ได้ให้ความหมายของการนำหลักสูตรไปใช้ว่าเป็นการทดลองใช้เนื้อหาวิชาวิธีการสอน เทคนิคการประเมิน การใช้อุปกรณ์การสอน แบบเรียนและทรัพยากรต่างๆให้เกิดประโยชน์แก่นักเรียน โดยมีครูและผู้ร่างหลักสูตรเป็นผู้ปัญหาแล้วหาคำตอบให้ได้จากการประเมินผล
มโนทัศน์(Concept)
การนำหลักสูตรไปใช้เป็นขั้นตอนที่สำคัญยิ่งในการพัฒนาหลักสูตร เพราะเป็นการนำอุดมการณ์ จุดมุ่งหมายของหลักสูตร เนื้อหาวิชา และประสบการณ์การเรียนรู้ที่คัดสรรค์อย่างดีแล้วไปสู่ผู้เรียน นักพัฒนาหลักสูตรทุกคนต่างก็ยอมรับความสำคัญของขั้นตอนในการนำหลักสูตรไปใช้ ว่ามีความสำคัญยิ่งกว่าขั้นตอนอื่นใดทั้งหมด เป็นตัวบ่งชี้ถึงความสำเร็จหรือความล้มเหลวของหลักสูตรโดยตรง
เพราะฉะนั้นการนำหลักสูตรไปใช้จึงมีความสำคัญที่บุคคลผู้เกี่ยวข้องในการนำหลักสูตรไปใช้จะต้องทำความเข้าใจกับวิธีการขั้นตอนต่างๆ เพื่อให้สามารถนำหลักสูตรไปใช้อย่างมีประสิทธิผลสูงสุดสมความมุ่งหมายทุกประการ
ผลการเรียนรู้(Learning Outcome)
มีความรู้ ความเข้าใจการนำหลักสูตรไปใช้ การใช้ทรัพยากรในท้องถิ่น และแหล่งเรียนรู้ สามารถบอกบุคคลที่เกี่ยวข้องเพื่อการประสานงานเมื่อนำหลักสูตรไปใช้
สาระเนื้อหา(Content)
การนำหลักสูตรไปใช้
การนำหลักสูตรไปใช้เป็นกระบวนการดำเนินงาน กิจกรรมต่างๆในการนำหลักสูตรไปสู่โรงเรียนและจัดการเรียนการสอนเพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายของหลักสูตร เป็นงานที่เกี่ยวข้องกับบุคคลหลายฝ่าย ตั้งแต่ระดับกระทรวงศึกษาธิการ แต่ละฝ่ายมีความเกี่ยวข้องกัน เช่น หน่วยงานส่วนกลางเกี่ยวข้องในด้านการบริหารและบริหารหลักสูตรกับการนิเทศและติดตามผลการใช้หลักสูตร
การนำหลักสูตรไปใช้จำต้องเป็นขั้นตอนตามลำดับ
1.ขั้นการวางแผน และเตรียมการในการประชาสัมพันธ์หลักสูตรและการเตรียมบุคลากรที่เกี่ยวข้อง 2.ขั้นดำเนินการนำหลักสูตรไปใช้อย่างมีระบบ การจัดครูเข้าสอนตามหลักสูตร การบริการวัสดุ
3.ขั้นติดตามประเมินผลการนำหลักสูตรไปใช้ การติดตามและประเมินผลการใช้หลักสูตร การนำหลักสูตรไปใช้ถือเป็นกระบวนการที่สำคัญ ที่จะทำให้หลักสูตรที่สร้างขึ้นบรรลุผลตามจุดหมาย และเป็นกระบวนการที่ต้องได้รับความร่วมมือจากบุคคลที่เกี่ยวข้องหลายๆฝ่าย และที่สำคัญที่สุดคือครูผู้สอน
ความหมายของการนำหลักสูตรไปใช้
โบแชมป์ (Beauchamp,1975:164) ให้ความหมายของการนำหลักสูตรไปใช้ว่า การนำหลักสูตรไปปฏิบัติ โดยกระบวนการการแปลงหลักสูตรไปสู่การสอน การจัดสภาพสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนให้ครูได้มีพัฒนาการเรียนการสอน
สันติ ธรรมบำรุง (2527.120) กล่าวว่า การนำหลักหลักสูตรไปใช้หมายถึงการที่ผู้บริหารโรงเรียนและครูนำโครงการของหลักสูตรที่เป็นรูปเล่มนั้นไปปฏิบัติให้บังเกิดผล รวมถึงการบริหารงานด้านวิชาการของโรงเรียนเพื่ออำนวยความสะดวกให้ครูและนักเรียนสามารถสอนและเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
จันทรา (Chandra, 1977:1) ได้ให้ความหมายของการนำหลักสูตรไปใช้ว่าเป็นการทดลองใช้เนื้อหาวิชาวิธีการสอน เทคนิคการประเมิน การใช้อุปกรณ์การสอน แบบเรียนและทรัพยากรต่างๆให้เกิดประโยชน์แก่นักเรียน โดยมีครูและผู้ร่างหลักสูตรเป็นผู้ปัญหาแล้วหาคำตอบให้ได้จากการประเมินผล
11. การจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาให้สอดคล้องกับความต้องการท้องถิ่นต่อ
ความจำเป็นของการมีหลักสูตรท้องถิ่น
ความจำเป็นของการมีหลักสูตรท้องถิ่นก็เนื่องจากหลักสูตรแกนกลางซึ่งเป็นหลักสูตรระดับชาติ ยังไม่สามารถตอบสนองความต้องการของท้องถิ่นได้อย่างแท้จริง อันเนื่องมาจากความต้องการของแต่ละท้องถิ่นมีความแตกต่างกัน จึงต้องมีการนำหลักสูตรระดับชาติมาปรับให้เหมาะสมกับแต่ละท้องถิ่น โรงเรียนแต่ละแห่งมีหน้าที่จัดการศึกษาให้เหมาะสมกับชุมชนนั้นๆ เพราะชุมชนแต่ละชุมชนมีสภาพปัญหาและความต้องการแตกต่างกันท้องถิ่นควรต้องมีส่วนร่วมในการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นของตนเอง
แนวทางในการจัดทำหลักสูตรท้องถิ่น
ในการพัฒนาหลักสูตรตามความต้องการของท้องถิ่นนั้น สถานศึกษาสามารถดำเนินการได้ในลักษณะต่อไปนี้
1. ปรับกิจกรรมการเรียนการสอนหรือจัดกิจกรรมเสริม ในแต่ละกลุ่มวิชาในทุกระดับชั้นโดยปรับปรุง
จากหลักสูตรแกนกลางโดยไม่ทำให้จุดประสงค์ของหลักสูตรเปลี่ยนแปลง
2. ปรับรายละเอียดของเนื้อหาโดยเพิ่มหรือลดรายละเอียดจากหลักสูตรแกนกลาง
3. ปรับปรุงหรือเลือกใช้สื่อการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับท้องถิ่น
4. จัดทำสื่อการเรียนการสอนขึ้นมาใหม่ เช่นหนังสือเรียน คู่มือครู หนังสือเสริมประสบการณ์
แบบฝึกหัด หรือสื่ออื่น ๆเพื่อนำมาใช้ในการจัดการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับจุดประสงค์ เนื้อหาและสภาพท้องถิ่นโดยสื่อเหล่านี้อาจใช้กับเนื้อในรายวิชาที่มีอยู่เดิมหรือรายวิชาใหม่ที่พัฒนาขึ้นก็ได้
5. จัดทำคำอธิบายรายวิชาเพิ่มเติมจากที่ปรากฏในหลักสูตรแกนกลาง ทั้งนี้คำอธิบายรายวิชาที่จัดทำขึ้นต้องสอดคล้องกับจุดประสงค์เนื้อหาและความต้องการของท้องถิ่น
ขั้นตอนในการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นในการนั้นสามารถดำเนินการได้ทั้งในระดับโรงเรียน กลุ่มโรงเรียน ระดับอำเภอ ระดับจังหวัด และระดับเขตพื้นที่การศึกษา ซึ่งได้มีนักวิชาการ ได้เสนอไว้ 12 ขั้นตอนดังนี้
ขั้นที่1 จัดตั้งคณะทำงานเพื่อจัดทำหลักสูตร
ขั้นที่2 ศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน
ขั้นที่3 กำหนดจุดประสงค์ของหลักสูตร
ขั้นที่4 กำหนดเนื้อหา
ขั้นที่5 กำหนดกิจกรรม
ขั้นที่6 กำหนดชั่วโมงการเรียน
ขั้นที่7 กำหนดเกณฑ์การวัดและประเมินผล
ขั้นที่8 จัดทำเอกสารหลักสูตร
ขั้นที่9 ตรวจสอบคุณภาพและการทดลองใช้หลักสูตร
ขั้นที่10 เสนอขออนุมัติใช้หลักสูตร
ขั้นที่11 นำหลักสูตรไปใช้
ขั้นที่12 ประเมินผลหลักสูตร
ที่มา: “หลักสูตรท้องถิ่น.”.(ออนไลน์).เข้าถึงได้จาก: http://chalor.igetweb.com/index.php?mo=3&art=78665
“ความสำคัญของหลักสูตรท้องถิ่น .”.(ออนไลน์).เข้าถึงได้จาก:http://school.obec.go.th/nitadhatayai/localcur1.htm
ความจำเป็นของการมีหลักสูตรท้องถิ่นก็เนื่องจากหลักสูตรแกนกลางซึ่งเป็นหลักสูตรระดับชาติ ยังไม่สามารถตอบสนองความต้องการของท้องถิ่นได้อย่างแท้จริง อันเนื่องมาจากความต้องการของแต่ละท้องถิ่นมีความแตกต่างกัน จึงต้องมีการนำหลักสูตรระดับชาติมาปรับให้เหมาะสมกับแต่ละท้องถิ่น โรงเรียนแต่ละแห่งมีหน้าที่จัดการศึกษาให้เหมาะสมกับชุมชนนั้นๆ เพราะชุมชนแต่ละชุมชนมีสภาพปัญหาและความต้องการแตกต่างกันท้องถิ่นควรต้องมีส่วนร่วมในการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นของตนเอง
แนวทางในการจัดทำหลักสูตรท้องถิ่น
ในการพัฒนาหลักสูตรตามความต้องการของท้องถิ่นนั้น สถานศึกษาสามารถดำเนินการได้ในลักษณะต่อไปนี้
1. ปรับกิจกรรมการเรียนการสอนหรือจัดกิจกรรมเสริม ในแต่ละกลุ่มวิชาในทุกระดับชั้นโดยปรับปรุง
จากหลักสูตรแกนกลางโดยไม่ทำให้จุดประสงค์ของหลักสูตรเปลี่ยนแปลง
2. ปรับรายละเอียดของเนื้อหาโดยเพิ่มหรือลดรายละเอียดจากหลักสูตรแกนกลาง
3. ปรับปรุงหรือเลือกใช้สื่อการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับท้องถิ่น
4. จัดทำสื่อการเรียนการสอนขึ้นมาใหม่ เช่นหนังสือเรียน คู่มือครู หนังสือเสริมประสบการณ์
แบบฝึกหัด หรือสื่ออื่น ๆเพื่อนำมาใช้ในการจัดการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับจุดประสงค์ เนื้อหาและสภาพท้องถิ่นโดยสื่อเหล่านี้อาจใช้กับเนื้อในรายวิชาที่มีอยู่เดิมหรือรายวิชาใหม่ที่พัฒนาขึ้นก็ได้
5. จัดทำคำอธิบายรายวิชาเพิ่มเติมจากที่ปรากฏในหลักสูตรแกนกลาง ทั้งนี้คำอธิบายรายวิชาที่จัดทำขึ้นต้องสอดคล้องกับจุดประสงค์เนื้อหาและความต้องการของท้องถิ่น
ขั้นตอนในการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นในการนั้นสามารถดำเนินการได้ทั้งในระดับโรงเรียน กลุ่มโรงเรียน ระดับอำเภอ ระดับจังหวัด และระดับเขตพื้นที่การศึกษา ซึ่งได้มีนักวิชาการ ได้เสนอไว้ 12 ขั้นตอนดังนี้
ขั้นที่1 จัดตั้งคณะทำงานเพื่อจัดทำหลักสูตร
ขั้นที่2 ศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน
ขั้นที่3 กำหนดจุดประสงค์ของหลักสูตร
ขั้นที่4 กำหนดเนื้อหา
ขั้นที่5 กำหนดกิจกรรม
ขั้นที่6 กำหนดชั่วโมงการเรียน
ขั้นที่7 กำหนดเกณฑ์การวัดและประเมินผล
ขั้นที่8 จัดทำเอกสารหลักสูตร
ขั้นที่9 ตรวจสอบคุณภาพและการทดลองใช้หลักสูตร
ขั้นที่10 เสนอขออนุมัติใช้หลักสูตร
ขั้นที่11 นำหลักสูตรไปใช้
ขั้นที่12 ประเมินผลหลักสูตร
ที่มา: “หลักสูตรท้องถิ่น.”.(ออนไลน์).เข้าถึงได้จาก: http://chalor.igetweb.com/index.php?mo=3&art=78665
“ความสำคัญของหลักสูตรท้องถิ่น .”.(ออนไลน์).เข้าถึงได้จาก:http://school.obec.go.th/nitadhatayai/localcur1.htm
10. การจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาให้สอดคล้องกับความต้องการท้องถิ่น
การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น
ความหมายของหลักสูตรท้องถิ่น
การนำหลักสูตรแม่บทมาปรับเพิ่มให้สอดคล้องกับความต้องการของท้องถิ่น เพื่อให้ผู้เรียนเรียนรู้จากประสบการณ์จริง อันจะนำไปสู่การใช้ประโยชน์ในการดำเนินชีวิต โดยพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ฉบับปรับปรุง แก้ไขเพิ่มเติม (ครั้งที่ 2) พ.ศ. 2545 (สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา 2547 : 15) ให้คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนดหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อความเป็นไทย ความเป็นพลเมืองที่ดีของชาติ การดำรงชีวิต และการประกอบอาชีพ ตลอดจนการศึกษาต่อ
ดังนั้น สถานศึกษาขั้นพื้นฐานจะต้องจัดทำสาระของหลักสูตร ในส่วนที่เกี่ยวกับสภาพในชุมชนและสังคม ภูมิปัญญาท้องถิ่น คุณลักษณะอันพึงประสงค์ เพื่อเป็นสมาชิกที่ดีของครอบครัว ชุมชน สังคม และประเทศชาติ ดังนั้น นอกจากโรงเรียนจะจัดเป็นหลักสูตรสถานศึกษา แล้ว ยังต้องเพิ่มหลักสูตรท้องถิ่นที่สนองตอบต่อความต้องการของท้องถิ่นที่โรงเรียนอยู่อีกด้วย ความหมายของหลักสูตรท้องถิ่น ก็คือ “การดำเนินงานจัดทำ ขยายเพิ่มเติมเรื่องที่จำเป็นและสำคัญที่ต้องการให้ผู้เรียนได้เรียนรู้เพิ่มเติมตามความต้องการของท้องถิ่น โดยไม่กระทบต่อหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2544 แต่เป็นการเสริมสร้างต่อยอดให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ เต็มตามศักยภาพและนำไปสู่มาตรฐานของหลักสูตร”
ลักษณะการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น 3 ประเภท คือ
หลักสูตรท้องถิ่นที่พัฒนาโดยท้องถิ่นเองทั้งหมด แต่ต้องเป็นไปตามนโยบายที่ส่วนกลางได้กำหนดไว้ ( หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2544 )
หลักสูตรท้องถิ่นที่พัฒนาขึ้นจากหลักสูตรแม่บทที่ส่วนกลางจัดทำ ส่วนกลางของรัฐ จัดทำหลักสูตรแม่บท และเว้นที่ว่างให้ท้องถิ่นมีเสรีภาพในการพัฒนาหลักสูตรให้สอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการของท้องถิ่น โดยหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2544 มีแนวทางการพัฒนาได้เป็น 2 กรณี คือ
1) หลักสูตรท้องถิ่นที่พัฒนาโดยบางส่วนของหลักสูตรแม่บท กล่าวคือ เป็นการปรับองค์ประกอบส่วนใดส่วนหนึ่งของหลักสูตรแม่บท เช่น ปรับรายละเอียดของสาระการเรียนรู้ เพิ่มเติมกระบวนการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับสภาพปัญหา และความต้องการของท้องถิ่น ทั้งนี้ยังยึดมาตรฐานของหลักสูตรแม่บทอยู่
2) หลักสูตรท้องถิ่นที่พัฒนาขึ้นเป็นรายวิชาใหม่ หรือการสร้างหลักสูตรย่อย เพื่อเสริมหลักสูตรแม่บท โดยให้สอดคล้องกับสภาพปัญหา และความต้องการของท้องถิ่น ทั้งนี้ สามารถจัดทำมาตรฐานการเรียนรู้เพิ่มเติมจากมาตรฐานของหลักสูตรแม่บท
หลักสูตรท้องถิ่นที่พัฒนาสำหรับท้องถิ่นใดท้องถิ่นหนึ่งโดยเฉพาะ เป็นหลักสูตรที่หน่วยงานในท้องถิ่นพัฒนาเป็นหลักสูตรเฉพาะกิจ และเป็นหลักสูตรระยะสั้น ๆ เพื่อใช้กับชุมชนหรือท้องถิ่นตามความต้องการและความสมัครใจของผู้เรียน รวมทั้งความสอดคล้องกับสภาพสังคม เศรษฐกิจ และวัฒนธรรมของชุมชนในท้องถิ่นนั้น ๆ เช่น หลักสูตรวิชาชีพระยะสั้น อาทิ หลักสูตรซ่อมเครื่องยนต์ หลักสูตรทำขนม หลักสูตรการทำอาหาร เป็นต้น
ความหมายของหลักสูตรท้องถิ่น
การนำหลักสูตรแม่บทมาปรับเพิ่มให้สอดคล้องกับความต้องการของท้องถิ่น เพื่อให้ผู้เรียนเรียนรู้จากประสบการณ์จริง อันจะนำไปสู่การใช้ประโยชน์ในการดำเนินชีวิต โดยพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ฉบับปรับปรุง แก้ไขเพิ่มเติม (ครั้งที่ 2) พ.ศ. 2545 (สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา 2547 : 15) ให้คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนดหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อความเป็นไทย ความเป็นพลเมืองที่ดีของชาติ การดำรงชีวิต และการประกอบอาชีพ ตลอดจนการศึกษาต่อ
ดังนั้น สถานศึกษาขั้นพื้นฐานจะต้องจัดทำสาระของหลักสูตร ในส่วนที่เกี่ยวกับสภาพในชุมชนและสังคม ภูมิปัญญาท้องถิ่น คุณลักษณะอันพึงประสงค์ เพื่อเป็นสมาชิกที่ดีของครอบครัว ชุมชน สังคม และประเทศชาติ ดังนั้น นอกจากโรงเรียนจะจัดเป็นหลักสูตรสถานศึกษา แล้ว ยังต้องเพิ่มหลักสูตรท้องถิ่นที่สนองตอบต่อความต้องการของท้องถิ่นที่โรงเรียนอยู่อีกด้วย ความหมายของหลักสูตรท้องถิ่น ก็คือ “การดำเนินงานจัดทำ ขยายเพิ่มเติมเรื่องที่จำเป็นและสำคัญที่ต้องการให้ผู้เรียนได้เรียนรู้เพิ่มเติมตามความต้องการของท้องถิ่น โดยไม่กระทบต่อหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2544 แต่เป็นการเสริมสร้างต่อยอดให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ เต็มตามศักยภาพและนำไปสู่มาตรฐานของหลักสูตร”
ลักษณะการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น 3 ประเภท คือ
หลักสูตรท้องถิ่นที่พัฒนาโดยท้องถิ่นเองทั้งหมด แต่ต้องเป็นไปตามนโยบายที่ส่วนกลางได้กำหนดไว้ ( หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2544 )
หลักสูตรท้องถิ่นที่พัฒนาขึ้นจากหลักสูตรแม่บทที่ส่วนกลางจัดทำ ส่วนกลางของรัฐ จัดทำหลักสูตรแม่บท และเว้นที่ว่างให้ท้องถิ่นมีเสรีภาพในการพัฒนาหลักสูตรให้สอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการของท้องถิ่น โดยหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2544 มีแนวทางการพัฒนาได้เป็น 2 กรณี คือ
1) หลักสูตรท้องถิ่นที่พัฒนาโดยบางส่วนของหลักสูตรแม่บท กล่าวคือ เป็นการปรับองค์ประกอบส่วนใดส่วนหนึ่งของหลักสูตรแม่บท เช่น ปรับรายละเอียดของสาระการเรียนรู้ เพิ่มเติมกระบวนการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับสภาพปัญหา และความต้องการของท้องถิ่น ทั้งนี้ยังยึดมาตรฐานของหลักสูตรแม่บทอยู่
2) หลักสูตรท้องถิ่นที่พัฒนาขึ้นเป็นรายวิชาใหม่ หรือการสร้างหลักสูตรย่อย เพื่อเสริมหลักสูตรแม่บท โดยให้สอดคล้องกับสภาพปัญหา และความต้องการของท้องถิ่น ทั้งนี้ สามารถจัดทำมาตรฐานการเรียนรู้เพิ่มเติมจากมาตรฐานของหลักสูตรแม่บท
หลักสูตรท้องถิ่นที่พัฒนาสำหรับท้องถิ่นใดท้องถิ่นหนึ่งโดยเฉพาะ เป็นหลักสูตรที่หน่วยงานในท้องถิ่นพัฒนาเป็นหลักสูตรเฉพาะกิจ และเป็นหลักสูตรระยะสั้น ๆ เพื่อใช้กับชุมชนหรือท้องถิ่นตามความต้องการและความสมัครใจของผู้เรียน รวมทั้งความสอดคล้องกับสภาพสังคม เศรษฐกิจ และวัฒนธรรมของชุมชนในท้องถิ่นนั้น ๆ เช่น หลักสูตรวิชาชีพระยะสั้น อาทิ หลักสูตรซ่อมเครื่องยนต์ หลักสูตรทำขนม หลักสูตรการทำอาหาร เป็นต้น
9. ขั้นตอนการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาต่อ (คำอธิบายรายวิชา, โครงสร้างรายวิชา, แผนการจัดการเรียนรู้)
SU Model
จากหลักการพัฒนาหลักสูตร SU Model มีกระบวนการทั้งหมด 4 ขั้นตอน ดังนี้
1. การวางแผนหลักสูตร
การวางแผนหลักสูตรตาม SU Model หลักสูตรที่ดีจะต้องครอบคลุมเป้าหมายของการศึกษา KLS ครบทั้ง 3 ด้าน คือ ความรู้ ผู้เรียน สังคม ต้องใช้พื้นฐานสำคัญในการพัฒนาหลักสูตรได้แก่ ความรู้ด้านปรัชญา จิตวิทยาและสังคมร่วมด้วย ในการพัฒนาหลักสูตรจะต้องนำแนวความคิด สี่เสาหลักของการศึกษา อันได้แก่ การเรียนเพื่อรู้ การเรียนรู้เพื่อปฏิบัติได้จริง การเรียนรู้เพื่อที่จะอยู่ร่วมกัน และ การเรียนรู้เพื่อชีวิต มาเป็นแนวทางในการพัฒนาหลักสูตรด้วย นอกจากนี้ในการสร้างหลักสูตรจะต้องวางแผนสร้างหลักสูตรที่ผู้เรียนต้องมีทักษะของคนในศตวรรษ ที่ 21 นั่นคือ 3R, 7C
3R ได้แก่
- Relevancy (ความสัมพันธ์)
- Relationship (สัมพันธภาพ)
- Rigor (ความเคร่งครัด ความถูกต้องแม่นยำ)
7C ได้แก่
-Critical thinking & problem solving (ทักษะด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ แลทักษะในการแก้ปัญหา)
-Creativity & innovation (ทักษะด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม)
-Cross-cultural understanding (ทักษะด้านความเข้าใจต่างวัฒนธรรม ต่างกระบวนทัศน์)
-Collaboration, teamwork & leadership (ทักษะด้านความร่วมมือ การทำงานเป็นทีม และภาวะผู้นำ)
-Communications, information & media literacy (ทักษะด้านการสื่อสาร สารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ)
-Computing & ICT literacy (ทักษะด้านคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร)
-Career & learning skills (ทักษะอาชีพ และทักษะการเรียนรู้)
จากแนวคิด ของนักการศึกษาสรุปได้ว่าขั้นตอนการวางแผนพัฒนาหลักสูตร มี 5 ขั้น ได้แก่ 1. การเก็บรวบรวมข้อมูล 2. การวิเคราะห์เชื่อมโยงข้อมูล 3. การรายงานข้อค้นพบ 4. การนำเสนอความคิดเห็นที่มีต่อข้อค้นพบ 5. สรุปรายงาน
2. การออกแบบหลักสูตร
การออกแบบหลักสูตรมี 4 องค์ประกอบ ได้แก่ เป้าหมายและจุดมุ่งหมายของหลักสูตร เนื้อหาสาระ กิจกรรมการสอน ประเมินผล
หลักการสำคัญในการออกแบบหลักสูตรคือการออกแบบหลักสูตรให้เป็นสากล นอกจากนี้ ไทเลอร์ ได้เสนอโมเดลต้นแบบเชิงเหตุผล โดยมีคำถามสำคัญ 4 ข้อ ที่ใช้เป็นแบบในการออกแบบหลักสูตร นอกจาก โมเดลต้นแบบเชิงเหตุผล ยังมี โมเดลเชิงวัตถุประสงค์ด้วย ข้อดีของโมเดลนี้คือ ผู้สอนและผู้เรียนพฤติกรรมการเรียนรู้ที่คาดหวังชัดเจน ข้อเสียคือ การเรียนถูกกำหนดมากเกินไป
เบนจามิน บลูมและคณะ ได้จัดกลุ่มวัตถุประสงค์ ไว้ 3 ปริเขต คือ พุทธิพิสัย จิตพิสัย ทักษะพิสัย
3. การจัดหลักสูตร เปรียบได้กับการนำหลักสูตรไปใช้
การออกแบบหลักสูตรที่ดีต้องมีหลักในการพิจารณา 6 ประการดังนี้
1 การกำหนดขอบข่ายหลักสูตร (Scope) คือการกำหนดเนื้อหา สาระการเรียนรู้ หัวข้อประเด็นสำคัญต่างๆ แนวคิด ค่านิยม หรือคุณธรรมที่สำคัญสำหรับผู้เรียนในรายวิชาต่างๆของแต่ละระดับชั้น
2 การจัดลำดับการเรียนรู้ (Sequence) คือการจัดลำดับก่อนหลังของเนื้อหา ควรจัดลำดับจากง่ายไปยาก
3 ความต่อเนื่อง (Continuity) คือการจัดเนื้อหา ประสบการณ์การเรียนรู้ ทักษะต่างๆให้มีความต่อเนื่องตลอดหลักสูตร
4 ความสอดคล้องเชื่อมโยง (Articulation) คือเนื้อหา ประสบการณ์การเรียนรู้ และทักษะที่อยู่ในระดับชั้นเดียวกันสอดคล้องเชื่อมโยงกันได้ แม้ต่างวิชากันก็ตาม
5 การบูรณาการ (Integration) คือการจัดขอบข่ายเนื้อหาและประสบการณ์การเรียนรู้ในหลักสูตรให้มีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกันจากหัวข้อหนึ่งไปยังอีกหัวข้อหนึ่งของรายวิชานั้น หรือจากรายวิชาหนึ่งไปอีกรายวิชาที่มีความเกี่ยวข้องกัน
6 ความสมดุล (Balance) คือความสมดุลของเนื้อหา ประสบการณ์การเรียนรู้ และทักษะของรายวิชาต่างๆ ที่สำคัญคือความสมดุลระหว่างเนื้อหาสาระกับวุฒิภาวะของผู้เรียน
เมื่อได้หลักพิจารณาทั้ง 6 ประการข้างต้นแล้ว จากนั้นพิจารณารูปแบบของการออกแบบหลักสูตร ดังนี้
1. การออกแบบหลักสูตรที่เน้นเนื้อหาวิชา (Subject-centered Designs)
2. การออกแบบหลักสูตรที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ (Learner-centered Designs)
3. การออกหลักสูตรที่เน้นปัญหาสังคมเป็นสำคัญ (Problem-centered Designs)
4. การประเมินหลักสูตร
การประเมินหลักสูตร มี 3 ขั้นตอน คือ ประเมินก่อนนำหลักสูตรไปใช้ ประเมินหลักสูตรระหว่างใช้ ประเมินหลักสูตรหลังใช้ ซึ่งการประเมินหลักสูตรระหว่างใช้ จัดได้ว่าเป็นการประเมินความก้าวหน้า วัดความรู้ ข้อบกพร่องของนักเรียน การประเมินหลักสูตรหลังใช้เป็นการประเมินสรุปรวม เพื่อตัดสินความสำเร็จของผู้เรียน
เครื่องมือการประเมิน เช่น แบบทดสอบความรู้ตามสภาพจริง แบบทดสอบวัดความสามารถตามสภาพจริง แบบสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้ แบบประเมินการเรียนรู้โดยใช้แฟ้มผลงานและกำหนดเกณฑ์การประเมินโดยใช้ SOLO taxonomy
จากหลักการพัฒนาหลักสูตร SU Model มีกระบวนการทั้งหมด 4 ขั้นตอน ดังนี้
1. การวางแผนหลักสูตร
การวางแผนหลักสูตรตาม SU Model หลักสูตรที่ดีจะต้องครอบคลุมเป้าหมายของการศึกษา KLS ครบทั้ง 3 ด้าน คือ ความรู้ ผู้เรียน สังคม ต้องใช้พื้นฐานสำคัญในการพัฒนาหลักสูตรได้แก่ ความรู้ด้านปรัชญา จิตวิทยาและสังคมร่วมด้วย ในการพัฒนาหลักสูตรจะต้องนำแนวความคิด สี่เสาหลักของการศึกษา อันได้แก่ การเรียนเพื่อรู้ การเรียนรู้เพื่อปฏิบัติได้จริง การเรียนรู้เพื่อที่จะอยู่ร่วมกัน และ การเรียนรู้เพื่อชีวิต มาเป็นแนวทางในการพัฒนาหลักสูตรด้วย นอกจากนี้ในการสร้างหลักสูตรจะต้องวางแผนสร้างหลักสูตรที่ผู้เรียนต้องมีทักษะของคนในศตวรรษ ที่ 21 นั่นคือ 3R, 7C
3R ได้แก่
- Relevancy (ความสัมพันธ์)
- Relationship (สัมพันธภาพ)
- Rigor (ความเคร่งครัด ความถูกต้องแม่นยำ)
7C ได้แก่
-Critical thinking & problem solving (ทักษะด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ แลทักษะในการแก้ปัญหา)
-Creativity & innovation (ทักษะด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม)
-Cross-cultural understanding (ทักษะด้านความเข้าใจต่างวัฒนธรรม ต่างกระบวนทัศน์)
-Collaboration, teamwork & leadership (ทักษะด้านความร่วมมือ การทำงานเป็นทีม และภาวะผู้นำ)
-Communications, information & media literacy (ทักษะด้านการสื่อสาร สารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ)
-Computing & ICT literacy (ทักษะด้านคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร)
-Career & learning skills (ทักษะอาชีพ และทักษะการเรียนรู้)
จากแนวคิด ของนักการศึกษาสรุปได้ว่าขั้นตอนการวางแผนพัฒนาหลักสูตร มี 5 ขั้น ได้แก่ 1. การเก็บรวบรวมข้อมูล 2. การวิเคราะห์เชื่อมโยงข้อมูล 3. การรายงานข้อค้นพบ 4. การนำเสนอความคิดเห็นที่มีต่อข้อค้นพบ 5. สรุปรายงาน
2. การออกแบบหลักสูตร
การออกแบบหลักสูตรมี 4 องค์ประกอบ ได้แก่ เป้าหมายและจุดมุ่งหมายของหลักสูตร เนื้อหาสาระ กิจกรรมการสอน ประเมินผล
หลักการสำคัญในการออกแบบหลักสูตรคือการออกแบบหลักสูตรให้เป็นสากล นอกจากนี้ ไทเลอร์ ได้เสนอโมเดลต้นแบบเชิงเหตุผล โดยมีคำถามสำคัญ 4 ข้อ ที่ใช้เป็นแบบในการออกแบบหลักสูตร นอกจาก โมเดลต้นแบบเชิงเหตุผล ยังมี โมเดลเชิงวัตถุประสงค์ด้วย ข้อดีของโมเดลนี้คือ ผู้สอนและผู้เรียนพฤติกรรมการเรียนรู้ที่คาดหวังชัดเจน ข้อเสียคือ การเรียนถูกกำหนดมากเกินไป
เบนจามิน บลูมและคณะ ได้จัดกลุ่มวัตถุประสงค์ ไว้ 3 ปริเขต คือ พุทธิพิสัย จิตพิสัย ทักษะพิสัย
3. การจัดหลักสูตร เปรียบได้กับการนำหลักสูตรไปใช้
การออกแบบหลักสูตรที่ดีต้องมีหลักในการพิจารณา 6 ประการดังนี้
1 การกำหนดขอบข่ายหลักสูตร (Scope) คือการกำหนดเนื้อหา สาระการเรียนรู้ หัวข้อประเด็นสำคัญต่างๆ แนวคิด ค่านิยม หรือคุณธรรมที่สำคัญสำหรับผู้เรียนในรายวิชาต่างๆของแต่ละระดับชั้น
2 การจัดลำดับการเรียนรู้ (Sequence) คือการจัดลำดับก่อนหลังของเนื้อหา ควรจัดลำดับจากง่ายไปยาก
3 ความต่อเนื่อง (Continuity) คือการจัดเนื้อหา ประสบการณ์การเรียนรู้ ทักษะต่างๆให้มีความต่อเนื่องตลอดหลักสูตร
4 ความสอดคล้องเชื่อมโยง (Articulation) คือเนื้อหา ประสบการณ์การเรียนรู้ และทักษะที่อยู่ในระดับชั้นเดียวกันสอดคล้องเชื่อมโยงกันได้ แม้ต่างวิชากันก็ตาม
5 การบูรณาการ (Integration) คือการจัดขอบข่ายเนื้อหาและประสบการณ์การเรียนรู้ในหลักสูตรให้มีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกันจากหัวข้อหนึ่งไปยังอีกหัวข้อหนึ่งของรายวิชานั้น หรือจากรายวิชาหนึ่งไปอีกรายวิชาที่มีความเกี่ยวข้องกัน
6 ความสมดุล (Balance) คือความสมดุลของเนื้อหา ประสบการณ์การเรียนรู้ และทักษะของรายวิชาต่างๆ ที่สำคัญคือความสมดุลระหว่างเนื้อหาสาระกับวุฒิภาวะของผู้เรียน
เมื่อได้หลักพิจารณาทั้ง 6 ประการข้างต้นแล้ว จากนั้นพิจารณารูปแบบของการออกแบบหลักสูตร ดังนี้
1. การออกแบบหลักสูตรที่เน้นเนื้อหาวิชา (Subject-centered Designs)
2. การออกแบบหลักสูตรที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ (Learner-centered Designs)
3. การออกหลักสูตรที่เน้นปัญหาสังคมเป็นสำคัญ (Problem-centered Designs)
4. การประเมินหลักสูตร
การประเมินหลักสูตร มี 3 ขั้นตอน คือ ประเมินก่อนนำหลักสูตรไปใช้ ประเมินหลักสูตรระหว่างใช้ ประเมินหลักสูตรหลังใช้ ซึ่งการประเมินหลักสูตรระหว่างใช้ จัดได้ว่าเป็นการประเมินความก้าวหน้า วัดความรู้ ข้อบกพร่องของนักเรียน การประเมินหลักสูตรหลังใช้เป็นการประเมินสรุปรวม เพื่อตัดสินความสำเร็จของผู้เรียน
เครื่องมือการประเมิน เช่น แบบทดสอบความรู้ตามสภาพจริง แบบทดสอบวัดความสามารถตามสภาพจริง แบบสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้ แบบประเมินการเรียนรู้โดยใช้แฟ้มผลงานและกำหนดเกณฑ์การประเมินโดยใช้ SOLO taxonomy
8. ขั้นตอนการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา การวิเคราะห์มาตรฐานหลักสูตร ตัวชี้วัด สาระการเรียนรู้ (วิสัยทัศน์, พันธกิจ, เป้าหมาย, โครงสร้างเวลาเรียน)
ไทเลอร์ (Tyler. 1949 : 1) ได้ให้แนวคิดการพัฒนาหลักสูตร เน้นการตอบคำถามพื้นฐาน 4 ประการ
1. มีจุดมุ่งหมายทางการศึกษาอะไรบ้าง ที่สถาบันการศึกษาจะต้องกำหนด
ให้ผู้เรียน
2. มีประสบการณ์การศึกษาอะไรบ้าง ที่สถาบันการศึกษาควรจัดขึ้นเพื่อช่วย
ให้บรรลุจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้
3. จะจัดประสบการณ์ทางการศึกษาอย่างไร จึงจะทำให้การสอนมี
ประสิทธิภาพ
4. จะประเมินผลประสิทธิภาพของประสบการณ์ในการศึกษาอย่างไร
จึงจะตัดสินใจได้ว่าบรรลุถึงจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้
เห็นได้ว่า การพัฒนาหลักสูตรตามหลักของไทเลอร์ มี 4 ขั้นตอน นั่นคือ 1. ศึกษาข้อมูลพื้นฐาน 2. กำหนดจุดประสงค์ 3. จัดประสบการณ์การเรียนรู้ 4. ประเมินผล โดยมีรายละเอียดดังนี้
1. ศึกษาข้อมูลพื้นฐาน เพื่อนำมากำหนดจุดประสงค์ชั่วคราว โดยรวบรวมข้อมูลจาก ด้านสังคม ซึ่งได้แก่ สภาพแวดล้อม ความต้องการของสังคม ข้อมูลเศรษฐกิจ เป็นต้น ด้านเนื้อหาสาระ ได้แก่ ลักษณะและธรรมชาติของแต่ละเนื้อหาสาระ ระดับความยากง่าย เป็นต้น ด้านผู้เรียน ได้แก่ ความสนใจของผู้เรียน ความต้องการของผู้เรียน พื้นฐานความรู้เดิมของผู้เรียน เป็นต้น เมื่อได้ข้อมูลครบ 3 ด้านแล้วจึงนำมาวิเคราะห์เป็น จุดประสงค์ชั่วคราว
2. กำหนดจุดประสงค์ เมื่อได้จุดประสงค์ชั่วคราวมาแล้วจะต้องนำมากลั่นกรองผ่าน ปรัชญาการศึกษา ปรัชญาสังคม ที่สถานศึกษายึดอยู่และจิตวิทยาการศึกษา เพื่อให้ได้จุดประสงค์ที่เหมาะสมและชัดเจนที่สุดซึ่งเป็นจุดประสงค์ที่แท้จริง
3. จัดประสบการณ์การเรียนรู้ ก่อนอื่นจะต้องกำหนดเนื้อหาสาระที่ผู้เรียนควรรู้ ซึ่งจะต้องสอดคล้องกับจุดประสงค์ที่กำหนดไว้ แล้วจึงกำหนดวิธีการจัดการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับลักษณะของแต่ละเนื้อหาสาระ เพื่อให้การสอนมีประสิทธิภาพ
4. ประเมินผล กำหนดวิธีการประเมินผลที่สอดคล้องกับเนื้อหาสาระและวิธีการสอนเพื่อให้ได้วิธีการประเมินผลที่มีประสิทธิภาพ และนำไปใช้ประเมินผลการจัดการเรียนรู้ ว่าการจัดการเรียนรู้ตรงตามจุดประสงค์หรือไม่
7. ทฤษฎีหลักสูตร แนวคิด รูปแบบ ขั้นตอนการพัฒนาหลักสูตรของนักวิชาการไทยและต่างประเทศ(ต่อ)
ทฤษฎีหลักสูตร
1. ความหมายของทฤษฎี
ทฤษฎี(Theory) หมายถึง หลักการที่ผ่านการพิสูจน์แล้ว และกำหนดขึ้นมาเพื่อจะได้ทำหน้าที่อธิบายการกระทำหรือปรากฏการณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง(อาภรณ์ ใจเที่ยง.2525:1 อ้างถึงใน รศ.ดร.ประพิมพ์พรรณ โชคสุวัฒนสกุล.หลักสูตรมัธยมศึกษา.2534:34)
2. ความหมายของทฤษฎีหลักสูตร
ทฤษฎีหลักสูตร (Curriculum Theory) หมายถึง ข้อความที่อธิบายความหมายของหลักสูตรโดยชี้ให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบต่างๆ ชี้นำแนวทางการพัฒนาการใช้และการประเมินผลหลักสูตรประกอบกัน
(รศ.ดร.ประพิมพ์พรรณ โชคสุวัฒนสกุล.หลักสูตรมัธยมศึกษา.2534:34)
3. ทฤษฎีหลักสูตรชนิดต่างๆ
ทฤษฎีหลักสูตรแบ่งออกเป็น 4 ชนิด ดังนี้
1.ทฤษฎีแม่บท เป็นทฤษฎีหลักที่กล่าวถึงหลักการ กฎเกณฑ์ทั่วๆไป ตลอดจนโครงสร้างของหลักสูตร
2.ทฤษฎีเนื้อหา เป็นทฤษฎีเกี่ยวกับเนื้อหา กล่าวถึงความสัมพันธ์ขององค์ประกอบต่างๆ
3.ทฤษฎีจุดประสงค์ เป็นทฤษฎีที่กล่าวถึงจุดประสงค์หรือจุดมุ่งหมายของหลักสูตร และกล่าวถึงว่าจุดประสงค์นั้นๆได้อย่างไร
4.ทฤษฎีดำเนินการ เป็นทฤษฎีที่กล่าวถึงว่า จะทำหรือดำเนินการให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้อย่างไร (กาญจนา คุณารักษ์.2527:5 อ้างถึงใน โกสินทร์ รังสยาพนธ์.2526:25)
6. ทฤษฎีหลักสูตร แนวคิด รูปแบบ ขั้นตอนการพัฒนาหลักสูตรของนักวิชาการไทยและต่างประเทศ
ขั้นตอนการพัฒนาหลักสูตร
จาก ทาบา (Taba. 1962 : 67) ได้เสนอแนะขั้นตอนการพัฒนาหลักสูตร ดังนี้
1. สำรวจสภาพปัญหา ความต้องการและความจำเป็นต่าง ๆ ของสังคม
2. กำหนดวัตถุประสงค์ของการศึกษาที่สังคมต้องการ
3. คัดเลือกเนื้อหาวิชาความรู้ที่ครูจะนำมาสอน เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ตรงกับวัตถุประสงค์ของการศึกษาที่ตั้งไว้
4. จัดลำดับขั้นตอนแก้ไขปรับปรุงเนื้อหาสาระที่เลือกมาได้
5. คัดเลือกประสบการณ์เพื่อการเรียนรู้ต่าง ๆ ซึ่งจะนำมาเสริมเนื้อหาสาระกระบวนการเรียนให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น และสอดคล้องกับวัตถุประสงค์
6. จัดระเบียบ จัดลำดับขั้นตอน และแก้ไขปรับปรุงประสบการณ์ต่าง ๆ ที่จะนำมาเสริมเนื้อหาสาระการเรียน
7. กำหนดเนื้อหาสาระอะไรบ้าง หรือประสบการณ์อย่างใดที่ต้องการประเมินว่า ได้มีการเรียนรู้ตรงกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้หรือไม่เพียงใด นอกจากนี้ต้องกำหนดไว้ด้วยว่าจะมีข้อมูลอะไรบ้าง ที่จะนำมาช่วยในการกำหนดเกณฑ์การประเมินผล และจะใช้วิธีการประเมินอย่างไร
จาก สงัด อุทรานันท์ (2532 : 36-43) ได้กล่าวถึงกระบวนการพัฒนาหลักสูตร ซึ่งต่อเนื่องสัมพันธ์เป็น วัฏจักร ดังนี้
1. จัดวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานเพื่อการพัฒนาหลักสูตร
2. การกำหนดจุดมุ่งหมาย
3. การคัดเลือกและจัดเนื้อหาสาระและประสบการณ์
4. การกำหนดมาตรการวัดและประเมินผล
5. การนำหลักสูตรไปใช้
6. การประเมินผลการใช้หลักสูตร
7. การปรับปรุงแก้ไขหลักสูตร
จาก มณฑิชา ชนะสิทธิ์ (2539:17) ได้กล่าวถึงขั้นตอนการพัฒนาหลักสูตรไว้ดังนี้
1.การสร้างหลักสูตร
1.1 การศึกษาข้อมูลพื้นฐาน
1.2 การกำหนดจุดมุ่งหมาย
1.3 การกำหนดเนื้อหาสาระ
1.4 การกำหนดประสบการณ์การเรียนรู้
1.5 การกำหนดวิธีกาวัดผลและประเมินผล
2.การนำหลักสูตรไปใช้
3.การประเมินผลหลักสูตร
4.การปรับปรุงแก้ไขหลักสูตร
ไทเลอร์ (Ralph W. Tyler) ได้ให้หลักเกณฑ์และเหตุผลไว้ว่า ในการพัฒนาหลลักสูตรและวางแผนการสอนนั้น จะต้องตอบคำถาม 4 ประการ ดังนี้
1. มีจุดประสงค์ทางการศึกษาอะไรบ้าง ที่โรงเรียนควรแสวงหา
2. มีประสบการณ์ทางการศึกษาอะไรบ้าง ที่สามารถจัดขึ้นเพื่อช่วยให้บรรลุจุดประสงค์ที่กำหนดไว้นั้น
3. จะจัดระบบประสบการณ์ดังกล่าวนี้อย่างไร จึงจะมีประสิทธิภาพมากที่สุด
4. จะประเมินประสิทธิภาพของประสบการณ์ในการเรียนอย่างไร จึงจะตัดสินใจได้ว่าบรรลุถึงจุดประสงค์ที่กำหนดไว้
คำถามทั้ง 4 ประการนี้ ตรงกับองค์ประกอบที่สำคัญในการวางแผนหรือพัฒนาหลักสูตร 4 ด้าน ตามลำดับดังนี้ 1. การตั้งเป้าประสงค์ 2. การเลือกเนื้อหา 3. การสอน และ 4. การประเมินผล
ตามรูปแบบการพัฒนาหลักสูตรของไทเลอร์ การพัฒนาหลักสูตรจะต้องเป็นไปตามลำดับขั้น ดังต่อไปนี้
ขั้นที่ 1 การกำหนดจุดประสงค์ของหลักสูตร เริ่มด้วยการกำหนดจุดประสงค์ชั่วคราวโดยอาศัยข้อมูลจากการศึกษาสังคม ศึกษาผู้เรียน และข้อเสนอแนะของผู้เชี่ยวชาญในเนื้อหาวิชามาช่วยกำหนดจุดประสงค์อย่างคร่าวๆ ซึ่งอาจมีมากกว่าที่จะจัดเข้าไว้ในหลักสสูตรได้ทั้งหมด จึงควรกลั่นกรองให้เหลือไว้เฉพาะจุดที่สำคัญและสอดคล้องกัน เป็นจุดประสงค์ขั้นสุดท้าย หรือจุดประสงค์ที่ใช้จริง ในการพิจารณากลั่นกรองจุดมุ่งหมายชั่วคราวนั้น จะใช้หลักจิตวิทยาการเรียนรู้และหลักปรัชญญามาประกอบการกลั่นกรอง
ขั้นที่ 2 การเลือกประสบการณ์การเรียน หลังจากกำหนดจุดประสงค์ของหลักสูตรแล้ว ขั้นต่อมา ทำการเลือกประสบการณ์การเรียน อันเป็นสื่อที่จะทำให้บรรลุถึงจุดประสงค์ที่กำหนดไว้ ในการเลือกประสบการณ์การเรียนจะต้องคำนึงถึง ลำดับก่อนหลัง ความต่อเนื่องและบูรณาการ (Integraty) ของประสบการณ์เหล่านั้น
ขั้นที่ 3 การประเมินผล เป็นขั้นสุดท้ายซึ่งจะทำให้ทราบว่าประสบการณ์การเรียนที่จัดขึ้นนั้นบรรลุจุดประสงค์ตามที่กำหนดไว้เพียงใด
รูปแบบการพัฒนาหลักสูตรของเลวี
เลวี (Arich Lewy) ได้กล่าวถึงขั้นตอนและงานสำคัญในการพัฒนาหลักสูตรดังนี้
รูปแบบการพัฒนาหลักสูตรของเลวีแบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน คือ ขั้นเตรียมโครงร่างของหลักสูตร ขั้นเตรียมวัสดุ อุปกรณ์ประกอบการเรียน และขั้นดำเนินการ
1. ขั้นเตรียมโครงร่างของหลักสูตร แบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอนย่อยๆ ได้แก่ การเลือกจุดมุ่งหมาย
เลือกเนื้อหาวิชา เลือกกิจกรรมการเรียนการสอน
2. ขั้นเตรียมววัสดุ อุปกรณ์ประกอบการสอน แบ่งออกเป็น 4 ขั้นย่อยๆ ได้แก่ การสร้างวัสดุ อุปกรณ์ประกอบการสอน จัดวัสดุอุปกรณ์ตามรายวิชา ทดลองใช้วัสดุอุปกรณ์ที่สร้างขึ้นใหม่ และปรับปรุงแก้ไข
3. ขั้นดำเนินการ แบ่งออกเป็น 6 ขั้นตอนย่อยๆ ได้แก่ การเตรียมจัดระบบงาน ฝึกอบรมครู ปรับปรุงแก้ไขระบบการสอน ประสานงานกับฝ่ายวิชาการ ควบคุมคุณภาพ ปรับปรุงและนำมาใช้ใหม่
รูปแบบการพัฒนาหลักสูตรของ สสวท.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ได้ทำการพัฒนาหลักสูตรวิทายาศาสตร์ระดับมัธยมศึกษาและประกาศใช้ตั้งแต่ปี 2519 ในการพัฒนาหลักสูตรนอกจากจะปรับปรุงเนื้อหาให้เหมาะสมและสอดคล้องกับวิทยาการด้านวิทยาศาสตร์ยังพัฒนาด้านแผนการเรียนการสอนและการวัดผลอีกด้วย
จากทฤษฎีข้างต้นสรุปได้ว่า การพัฒนาหลักสูตรมี 6 ขั้นตอน ดังนี้
1.การศึกษาข้อมูลพื้นฐาน ได้แก่ ข้อมูลความต้องการ ปัญหาและความจำเป็นทางสังคม ศึกษาข้อมูลทางเศรษฐกิจ การเมืองการปกครอง ข้อมูลทางปรัชญาการศึกษา จิตวิทยา และความต้องการ ความสนใจของผู้เรียน ในการศึกษาข้อมูลเหล่านี้เพื่อนำไปกำหนดแนวทางในการพัฒนาหลักสูตรให้สอดคล้องกับตัวผู้เรียน สภาพแวดล้อมรอบตัวผู้เรียน สังคม และความจำเป็นในอนาคต
2.การร่างหลักสูตร
2.1การกำหนดจุดมุ่งหมาย ให้สอดคล้องกับข้อมูลพื้นฐาน โดยจุดมุ่งหมายของหลักสูตรจะระบุคุณสมบัติของผู้ที่จบหลักสูตรนั้นๆ มุ่งพัฒนาผู้เรียนทั้ง 3 ด้าน คือ พุทธิพิสัย จิตพิสัย ทักษะพิสัย และต้องครอบคลุม เก่ง ดี มีสุข
2.2การกำหนดเนื้อหาสาระ จะต้องสอดคล้องกับจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้ในหลักสูตร มีความสอดคล้องกับความต้องการ ความสนใจของผู้เรียน มีความยากง่ายสอดคล้องเหมาะสมกับวัย เนื้อหาต้องเป็นประโยชน์ต่อผู้เรียน และเนื้อหานั้นเป็นสิ่งที่สามารถจัดให้ผู้เรียนได้ ในแง่ของความพร้อมด้านเวลา ผู้สอน และวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ
2.3การกำหนดประสบการณ์การเรียนรู้ ต้องสามารถทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้เร็ว รวมไปถึงยุทธวิธีการสอน การเลือกใช้สื่อการสอนให้สอดคล้องกับจุดประสงค์การเรียนรู้ และการจัดสภาพแวดล้อมของโรงเรียนต้องเอื้อต่อการเรียนรู้ และกระตุ้นความสนใจของผู้เรียน
2.4การกำหนดวิธีการวัดและประเมินผล วิธีการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ จะต้องสอดคล้องกับจุดประสงค์ เนื้อหา และเวลา ต้องสามารถวัดผู้เรียนได้ในทุกๆด้าน
3.การตรวจสอบคุณภาพหลักสูตร เป็นการตรวจสอบคุณภาพของหลักสูตรและวัสดุหลักสูตร ต่าง ๆ เพื่อนำผลมาปรับปรุงข้อบกพร่องก่อนนำหลักสูตรไปทดลองใช้ โดยจะต้องมีการกำหนดเป็นแผนอย่างมีขั้นตอนและเป็นระบบ มีการประชุมพิจารณาร่วมกันหรือให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบว่าองค์ประกอบต่าง ๆ ของหลักสูตร เช่น จุดประสงค์ เนื้อหา กิจกรรมการเรียนการสอน คาบเวลาเรียนวิธีการวัดและประเมินผล มีความสอดคล้องกันหรือไม่ อย่างไร
4.การทดลองใช้หลักสูตร โดยครูผู้สอนต้องวางแผนและจัดทำแผนการสอนตามรูปแบบ ต่าง ๆครูผู้สอนเลือกวิธีการสอน สื่อ วัสดุการเรียนการสอนที่ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามที่กำหนดไว้
5.การประเมินหลักสูตร ประกอบด้วยการวางแผนการประเมินผลการใช้หลักสูตร ทั้งการประเมินย่อย การประเมินระบบหลักสูตร ระบบการบริหารและผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียน
6.การปรับปรุงแก้ไขหลักสูตร วิเคราะห์ปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่องของหลักสูตรก่อนนำไปใช้จริง
5. ผู้มีส่วนร่วมในการพัฒนาหลักสูตร สภาพปัญหาของการพัฒนาหลักสูตรและการใช้หลักสูตร
ผู้มีส่วนร่วมในการพัฒนาหลักสูตร
ผู้มีส่วนร่วมในการพัฒนาหลักสูตรต้องมีการร่วมมือกันหลายฝ่ายเพื่อให้ผลงานออกมาตรงเป้าหมาย ได้แก่
1. นักบริหารหลักสูตร ได้แก่ อธิบดีกรมวิชาการ ผู้อำนวยการศูนย์พัฒนาหลักสูตร ผู้อำนวยการศูนย์พัฒนาหนังสือฯ
2. นักวิชาการ ได้แก่ อาจารย์ในมหาลัยและสถาบันการศึกษาต่างๆ
3. ครู อาจารย์ ศึกษานิเทศก์
4. นักบริหาร ได้แก่ ผู้บริการในระดับต่างๆ
5. บุคคลภายนอก ได้แก่ บุคคลอื่นๆนอกจากที่กล่าวมาและเป็นผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับ การใช้หลักสูตร
6. หน่วยสนับสนุนการใช้หลักสูตร ได้แก่
-หน่วยผลิตชุดการสอน และวัสดุอุปกรณ์
- หน่วยผลิตสื่อสารการเรียนการสอนอื่นๆ
- หน่วยนิเทศและประสานงาน
- หน่วยทดสอบ และประเมินผลการเรียนในโรงเรียน
- หน่วยแนะแนวในโรงเรียน
ผู้มีส่วนร่วมในการพัฒนาหลักสูตรต้องมีการร่วมมือกันหลายฝ่ายเพื่อให้ผลงานออกมาตรงเป้าหมาย ได้แก่
1. นักบริหารหลักสูตร ได้แก่ อธิบดีกรมวิชาการ ผู้อำนวยการศูนย์พัฒนาหลักสูตร ผู้อำนวยการศูนย์พัฒนาหนังสือฯ
2. นักวิชาการ ได้แก่ อาจารย์ในมหาลัยและสถาบันการศึกษาต่างๆ
3. ครู อาจารย์ ศึกษานิเทศก์
4. นักบริหาร ได้แก่ ผู้บริการในระดับต่างๆ
5. บุคคลภายนอก ได้แก่ บุคคลอื่นๆนอกจากที่กล่าวมาและเป็นผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับ การใช้หลักสูตร
6. หน่วยสนับสนุนการใช้หลักสูตร ได้แก่
-หน่วยผลิตชุดการสอน และวัสดุอุปกรณ์
- หน่วยผลิตสื่อสารการเรียนการสอนอื่นๆ
- หน่วยนิเทศและประสานงาน
- หน่วยทดสอบ และประเมินผลการเรียนในโรงเรียน
- หน่วยแนะแนวในโรงเรียน
ปัญหาของการพัฒนาหลักสูตร
ปัญหาของการพัฒนาหลักสูตรคือปัญหาที่เกิดขึ้นในกระบวนการพัฒนาหลักสูตร ที่เป็นปัญหาอันเกิดจากการร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมกันสร้างหลักสูตร และร่วมกันนำหลักสูตรไปใช้ มีดังนี้
1. หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาหลักสูตรไม่เข้าใจบทบาทหน้าที่ของตน
2. ขาดการประสานงานหน้าที่ที่ดีระหว่างหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาหลักสูตร
3. ผู้บริหารระดับต่างๆเห็นว่าหลักสูตรเป็นหน้าที่ของหน่วยงานที่รับผิดชอบโดยเฉพาะ
4. ปัญหาการไม่เปลี่ยนแปลงการเรียนการสอนของครูตามแนวทางของหลักสูตร
5. ปัญหาการเผยแพร่หลักสูตร การสื่อสารทำความเข้าใจในหลักสูตรที่พัฒนาขึ้นใหม่
4. พื้นฐานการพัฒนาหลักสูตร (ต่อ)
พื้นฐานทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ความเจริญก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นปัจจัยสำคัญประการหนึ่งที่ทำให้สังคมเกิดการเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก การศึกษาจึงต้องสอดคล้องไปกับความเจริญก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี นักพัฒนาหลักสูตรจึงต้องใช้ข้อมูลทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาประกอบการกำหนดเนื้อหาของหลักสูตร และวิธีการจัดการเรียนรู้ กล่าวคือกำหนดเนื้อหาที่พอเพียง ทันสมัย ให้ผู้เรียนได้ทราบถึงผลกระทบที่เกิดจากความเจริญก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม กำหนดให้ใช้วิธีการและสื่อการเรียนอันทันสมัย เช่น การสอนแบบทางไกล การใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอน การใช้อินเทอร์เน็ต (internet) ในการจัดการเรียนรู้ เป็นต้น
พื้นฐานทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จะเกี่ยวข้องกับการจัดทำหลักสูตรใน 2 ลักษณะคือ
1.นำมาเป็นข้อมูลในการพัฒนาหลักสูตรเพื่อพัฒนาคนให้พร้อมรับกับความเปลี่ยนแปลงในสังคม
2.ใช้ในการพัฒนากระบวนการจัดการศึกษาให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
ดังนั้นการศึกษาข้อมูลทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มีผลทั้งในปัจจุบันและแนวโน้มความเจริญในอนาคต จะทำให้สามารถพัฒนาหลักสูตรที่สามารถพัฒนาคนในสังคมให้มีศักยภาพเหมาะสมกับการดำรงชีวิตอยู่ในสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปได้ตามความต้องการของสังคม
พื้นฐานทางด้านการเมือง การปกครอง
การเมืองการปกครองมีความสัมพันธ์กับการศึกษา หน้าที่ที่สำคัญของการศึกษาคือ การสร้างสมาชิกที่ดีให้กับสังคมให้อยู่ในระบบการเมืองการปกครองทางสังคมนั้น หลักสูตรจึงต้องบรรจุเนื้อหาสาระและประสบการณ์ที่จะปลูกฝังและสร้างความเข้าใจให้คนในสังคมอยู่ร่วมกันด้วยความเป็นระเบียบเรียบร้อยและสันติสุข ไม่มีการเอารัดเอาเปรียบซึ่งกันและกัน จัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับสภาพของสังคม เช่น การมุ่งเน้นพฤติกรรมด้านประชาธิปไตย เป็นต้น ข้อมูลที่เกี่ยวกับการเมืองการปกครองที่ควรจะนำมาปรับพื้นฐานประกอบการพิจารณาในการพัฒนา หลักสูตร เช่น ระบบการเมือง ระบบการปกครอง นโยบายของรัฐ เป็นต้น
พื้นฐานทางด้านเศรษฐกิจ
ในการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคมที่มีสภาพเศรษฐกิจดี จะทำให้สามารถจัดการศึกษาให้กับคนในสังคมได้อย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ
ประเด็นที่ควรพิจารณาในการพัฒนาหลักสูตรให้เหมาะสมกับพื้นฐานทางเศรษฐกิจ
1. การเตรียมกำลังคน การศึกษาผลิตกำลังคนในด้านต่าง ๆ ให้เพียงพอ พอเหมาะ สอดคล้องกับความต้องการในแต่ละสาขาอาชีพ คือมีความรู้ ทักษะ และคุณสมบัติต่าง ๆ ตรงตามที่ต้องการทั้งด้านปริมาณและคุณภาพ
2. การพัฒนาอาชีพ จัดหลักสูตรเพื่อพัฒนาอาชีพตามศักยภาพและท้องถิ่น
3. การขยายตัวทางด้านอุตสาหกรรม พัฒนาหลักสูตรให้สามารถพัฒนาคนให้มีความพร้อมสำหรับการขยายตัวทางด้านอุตสาหกรรม
4. การใช้ทรัพยากรให้หลักสูตรเป็นเครื่องปลูกฝังความสำคัญของทรัพยากร ส่งเสริมการใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด
5. การพัฒนาคุณลักษณะของบุคคลในระบบเศรษฐกิจให้สอดคล้องกับสภาพที่เป็นจริงของสังคม
6. การลงทุนทางการศึกษา คำนึงถึงคุณค่าและผลตอบแทนของการศึกษา เพื่อไม่ก่อให้เกิดความสูญเปล่าระบบการนำทรัพยากรที่มีอยู่มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
3. พื้นฐานการพัฒนาหลักสูตรด้านปรัชญา จิตวิทยา สังคม วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และด้านอื่นๆ
การพัฒนาหลักสูตรจำเป็นต้องอาศัยพื้นฐานในการพัฒนาที่สำคัญ ซึ่งพื้นฐานที่สำคัญและจำเป็นจริงในการพัฒนาหลักสูตรนั้นประกอบด้วยพื้นฐาน 3 ด้าน คือ พื้นฐานด้านปรัชญา พื้นฐานด้านจิตวิทยา และพื้นฐานด้านสังคม ในแต่ละพื้นฐานมีความสำคัญดังจะอธิบายต่อไปนี้
1. พื้นฐานการพัฒนาหลักสูตรด้านปรัชญา
ปรัชญากับการศึกษามีความสัมพันธ์กันคือ ปรัชญามุ่งศึกษาของชีวิตและจักรวาลเพื่อหาความจริงอันเป็นที่สุด ส่วนการศึกษามุ่งศึกษาเรื่องราวเกี่ยวกับมนุษย์และวิธีการที่พัฒนามนุษย์ให้มีความเจริญงอกงาม สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ด้วยความสุขประสบความสำเร็จในการประกอบอาชีพทั้งปรัชญาและการศึกษามีจุดสนใจร่วมกันอยู่อย่างหนึ่งคือ การจัดการศึกษาต้องอาศัยปรัชญาในการกำหนดจุดมุ่งหมายและหาคำตอบทางการศึกษา
ปรัชญาการศึกษาคือ แนวความคิด หลักการ และกฎเกณฑ์ ในการกำหนดแนวทางในการจัดการศึกษา ซึ่งนักการศึกษาได้ยึดเป็นหลักในการดำเนินการทางการศึกษาเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย นอกจากนี้ปรัชญาการศึกษายังพยายามทำการวิเคราะห์และทำความเข้าใจเกี่ยวกับการศึกษา ทำให้สามารถมองเห็นปัญหาของการศึกษาได้อย่างชัดเจน ปรัชญาการศึกษาจึงเปรียบเหมือนเข็มทิศนำทางให้นักการศึกษาดำเนินการทางศึกษาอย่างเป็นระบบ ชัดเจน และสมเหตุสมผล
โลกแห่งการศึกษาประกอบด้วย 3 ด้านหลัก ได้แก่ K = ด้านความรู้ (Knowledge), L = ด้านผู้เรียน (Learner), S = ด้านสังคม (Social) โดยในแต่ละด้านหลักจะกำกับด้วยปรัชญาที่ใช้เป็นหลักยึดในการจัดการศึกษาต่างๆ ดังนี้
· ด้านความรู้ (K)
o ปรัชญาการศึกษาสารัตถนิยม (Essentialism) มีความเชื่อว่า การศึกษาควรมุ่งพัฒนาความสามารถที่มนุษย์มีอยู่แล้ว เช่น ความสามารถในการจำ ความสามารถในการคิดความสามารถที่จะรู้สึก ฯลฯ การศึกษาควรมุ่งที่จะถ่ายทอดความรู้ที่สั่งสมกันมา ความเชื่อความศรัทธาต่างๆ ที่ยึดถือกันเป็นอมตะ อบรมมนุษย์ให้มีความคิดเห็น และความเป็นอยู่สมถะของการเป็นมนุษย์ หลักสูตรจะยึดเนื้อหาวิชาเป็นสำคัญ เนื้อหาที่เป็นวิชาพื้นฐาน ได้แก่ภาษา วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ประวัติศาสตร์ และเนื้อหาที่เกี่ยวกับศิลปะ ค่านิยม และวัฒนธรรม
o ปรัชญาการศึกษานิรันดรนิยม (Perenialism) มีความเชื่อว่าสิ่งที่สำคัญที่สุดของธรรมชาติมนุษย์คือ ความสามารถในการใช้เหตุผล ซึ่งความสามารถในการใช้เหตุผลนี้จะควบคุมอำนาจฝ่ายต่ำของมนุษย์ได้ เพื่อให้มนุษย์บรรลุจุดมุ่งหมายในชีวิตที่ปรารถนา ดังที่ โรเบิร์ต เอ็มฮัทชินส์ กล่าวว่า การปรับปรุงมนุษย์ หมายถึงการพัฒนาพลังงานเหตุผล ศีลธรรมและจิตใจอย่างเต็มที่ มนุษย์ทุกคนล้วนมีพลังเหล่านี้ และมนุษย์ควรพัฒนาพลังที่มีอยู่ให้ดีที่สุด การศึกษาในแนวปรัชญาการศึกษานิรันตรนิยม คือ การจัดประสบการณ์ให้ได้มาซึ่งความรู้ ความคิดที่เป็นสัจธรรม มีคุณธรรม และมีเหตุผล หลักสูตรที่เน้นวิชาทางศิลปศาสตร์ (Liberal arts) ซึ่งมีอยู่ 2 กลุ่มคือ กลุ่มศิลปะทางภาษา (Liberacy arts) ประกอบด้วยไวยากรณ์ วาทศิลป์และตรรกศาสตร์ ซึ่งเป็นเรื่องของการอ่าน การฟัง การพูด การเขียน และการใช้เหตุผล อีกกลุ่มหนึ่งคือ ศิลปะการคำนวณ (Mathematical arts) ประกอบด้วยเลขคณิต วิทยาศาสตร์ ปรัชญา ดาราศาสตร์ และดนตรี นอกจากนี้ยังให้ผู้เรียนรู้ผลงาน อันมีค่าของผู้มีอัจฉริยะในอดีตเพื่อคงความรู้เอาไว้ เช่น ผลงานอมตะทางด้านศิลปะ วรรณกรรม ดนตรีรวมทั้งผลงานทางด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ในปัจจุบันได้แก่หลักสูตรของวิชา พื้นฐานทั่วไป (General education) ในระดับอุดมศึกษา
·
ด้านผู้เรียน (L)
o ปรัชญาการศึกษาอัตถิภาวะนิยม (Existentialism) มีแนวคิดว่า การศึกษาคือชีวิต มิใช่เป็นการเตรียมตัวเพื่อชีวิต หมายความว่า การที่จะมีชีวิตอยู่อย่างมีความสุขจะต้องอาศัยการเข้าใจความหมายของประสบการณ์นิยม ฉะนั้นผู้เรียนจึงควรจะได้เรียนรู้ในสิ่งที่เหมาะแก่วัยของเขาและสิ่งที่จัดให้ผู้เรียนเรียนควรจะเป็นไปในทางที่ก่อให้เกิดประสบการณ์ที่ผู้เรียนสามารถเข้าใจปัญหาชีวิตและสังคมในปัจจุบัน และหาทางปรับตัวให้เข้ากับภาวะที่เป็นจริงในปัจจุบัน ปรัชญานี้ต้องการให้ผู้เรียนเรียนจากประสบการณ์ในชีวิตจริง เป็นประสบการณ์ที่สัมพันธ์กับสังคม หลักสูตรจึงครอบคลุมชีวิตประจำวันทุกรูปแบบที่ก่อให้เกิดการเรียนรู้ ให้ผู้เรียนได้เข้าร่วมในประสบการณ์การเรียนรู้ทุกรูปแบบ หลักสูตรจะเน้นวิชาที่เสริมสร้างประสบการณ์ทางสังคม ตลอดจนชีวิตประจำวัน เนื้อหา ได้แก่ สังคมศึกษา วิชาทางภาษา วิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์ แต่ความสำคัญของการศึกษา พิจารณาในแง่ของวิธีการที่นำมาใช้ คือ กระบวนการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ เพื่อให้ผู้เรียนมีความสามารถในการแก้ปัญหาในบทเรียน และนำเอากระบวนการแก้ปัญหาไปใช้ในชีวิตประจำวัน
·
ด้านสังคม (S)
o ปรัชญาการศึกษาปฏิรูปนิยม (Reconstructionism) ปรัชญาการศึกษาปฏิรูปนิยมมีแนวความคิดว่า ผู้เรียนมิได้เรียนเพื่อมุ่งพัฒนาตนเองเพียงอย่างเดียว แต่ต้องเรียนเพื่อนำความรู้ไปพัฒนาสังคมให้สังคมเป็นสังคมประชาธิปไตยอย่างแท้จริง เพราะว่าสังคมขณะนั้นมีปัญหาต่างๆ มากมาย ทั้งปัญหาทางด้านเศรษฐกิจ และการเมือง การศึกษาจึงมีบทบาทในการเป็นเครื่องมือสร้างสังคมและวัฒนธรรมที่ดีงามขึ้นมาใหม่ เป็นสังคมในอุดมคติ ที่มีความเพียบพร้อม และจะต้องทำอย่างรีบด่วน เนื้อหาวิชาที่นำมาบรรจุไว้ในหลักสูตร จะเกี่ยวกับปัญหาและสภาพของสังคมเป็นส่วนใหญ่จะเน้นวิชาสังคมศึกษาเช่น กระบวนการทางสังคมการดำรงชีวิตในสังคม สภาพเศรษฐกิจและการเมือง วิทยาศาสตร์ในชีวิตประจำวัน ศิลปะในชีวิตประจำวัน สิ่งเหล่านี้จะทำให้มีความเข้าใจในกลไกของสังคม และสามารถหาแนวทางในการสร้างสังคมขึ้นมาใหม่
2. พื้นฐานการพัฒนาหลักสูตรด้านจิตวิทยา
ในการจัดทำหลักสูตรนั้น นักพัฒนาหลักสูตรต้องคำนึงอยู่เสมอว่าต้องพยายามจัดหลักสูตรให้สนองความต้องการและความสนใจของผู้เรียนอย่างแท้จริง ด้วยการศึกษาข้อมูล พื้นฐานเกี่ยวกับตัวผู้เรียนว่าผู้เรียนเป็นใคร มีความต้องการและความสนใจอะไร มีพฤติกรรมอย่างไร ซึ่งเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับจิตวิทยาทั้งสิ้น ดังนั้นข้อมูลพื้นฐานทางด้านจิตวิทยาจึงเป็นส่วนสำคัญที่นักพัฒนาหลักสูตรจะละเลยมิได้ในการนำมาวางรากฐานหลักสูตร เช่น การกำหนดจุดมุ่งหมายหลักสูตร การกำหนดเนื้อหาวิชา และการจัดการเรียนการรู้ เพื่อให้ได้หลักสูตรที่เหมาะสมที่สุด จิตวิทยาการเรียนรู้จะบอกถึงธรรมชาติของการเรียนรู้ การเกิดการเรียนรู้และปัจจัยทางจิตวิทยาที่ส่งเสริมการเรียนรู้ สามารถนำไปใช้ในการจัดการเรียนรู้ให้กับผู้เรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ แนวคิดของนักจิตวิทยาที่เกี่ยวกับทฤษฎีการเรียนรู้มี 4 กลุ่มใหญ่ ๆ ด้วยกัน ได้แก่ 1) ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่ม Behaviorism 2) ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่ม Cognitivism 3) ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่ม Humanism 4) ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่ม Constructivism โดยรายละเอียดของทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มต่างๆ จะกล่าวถึงในหัวข้อทฤษฎีการเรียนรู้
3. พื้นฐานการพัฒนาหลักสูตรด้านสังคม
หลักสูตรเป็นองค์ประกอบอันสำคัญยิ่งอย่างหนึ่งของการจัดการศึกษาการจัดการศึกษาประเภทใดและระดับใดก็ ดีจะขาดหลักสูตรไม่ได้ เพราะหลักสูตรจะเป็นโครงร่างกำหนดไว้ว่า จะให้เด็กได้รับประสบการณ์อะไรบ้างจึงจะเป็นประโยชน์ต่อเด็ก และสังคม หลักสูตรเป็นแนวทางที่จะสร้างความเจริญเติบโตให้แก่ผู้เรียน นอกจากนี้ หลักสูตรยังเป็นเครื่องชี้ให้เห็นโฉมหน้าของสังคมในอนาคตว่าจะเป็นอย่างไร ข้อมูลที่สำคัญที่ควรศึกษาวิเคราะห์เพื่อเป็นพื้นฐานในการพัฒนาหลักสูตร คือ ข้อมูลที่เกี่ยวกับสภาพทั่วไปของโรงเรียน เช่น ข้อมูลเกี่ยวกับจำนวนครูในโรงเรียน จำนวนอาคารสถานที่ และห้องเรียน จำนวนอุปกรณ์และสื่อต่างๆ ข้อมูลเกี่ยวกับงบประมาณ ความต้องการของครู ปัญหาที่เกิดจากการใช้หลักสูตรและกระบวนการเรียนการสอน ข้อมูลเหล่านี้จะช่วยในการพิจารณาว่าโรงเรียนมีความพร้อมหรือไม่ ระดับไหนอย่างไร เพื่อนำข้อมูลไปใช้ในการตัดสินใจว่าจะมีแนวปฏิบัติในการจัดทำหลักสูตรหรือพัฒนาหลักสูตรอย่างไรจึงจะเหมาะสม ดับศักยภาพของโรงเรียนมากที่สุด นอกจากข้อมูลเกี่ยวกับชุมชนและสภาพสังคมที่โรงเรียนตั้งอยู่ก็เป็นข้อมูลที่ผู้จัดทำหลักสูตรหรือผู้พัฒนาหลักสูตรจะต้องศึกษา เช่น สภาพแวดล้อม สภาพภูมิศาสตร์ ที่ตั้ง หรือ สังคมโดยทั่วไปของผู้ใช้หลักสูตรหรือโรงเรียนนั้นเป็นอย่างไร การสนับสนุนหรือความร่วมมือของชุมชน สังคม ที่มีต่อโรงเรียน เป็นอย่างไร ข้อมูลดังกล่าวจะเป็นประโยชน์ในการจัดทำหลักสูตร เช่น การกำหนดวิชาเรียนต่างๆ เพราะบางรายวิชาสภาพชุมชนและสังคมไม่สามารถเอื้ออำนวยหรือส่งเสริมเท่าที่ควร การศึกษาก็ไม่บรรลุผล เพราะฉะนั้นการศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับโรงเรียน ชุมชนและสังคมที่โรงเรียนต่างๆ สามารถนำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งข้อมูลต่างๆ เหล่านี้ สามารถค้นคว้าและหาข้อมูลได้จากเอกสารรายงานต่างๆ การสำรวจ สอบถาม และการสัมภาษณ์บุคคลต่างๆ ตลอดจนข้อมูลที่เกี่ยวข้อง ซึ่งการศึกษาข้อมูลดังกล่าวจำเป็นสำหรับ การพัฒนาหลักสูตรทั้งระดับธรรมดาและระดับชาติ เพื่อให้ได้หลักสูตรที่ทุกโรงเรียนสามารถนำไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
อ้างอิง
2. หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ 2551 หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พ.ศ.2546 สาระการเรียนรู้ มาตรฐานการเรียนรู้ ตัวชี้วัด
หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย
พุทธศักราช 2546
ประกอบด้วยอะไรบ้าง
หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พ.ศ. 2546 กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ ได้แสดงถึงส่วนต่างๆ ที่เป็นองค์ประกอบของหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยไว้ดังนี้
1. ปรัชญาการศึกษาปฐมวัย เป็นแนวคิด ค่านิยม ความเชื่อที่แสดงให้เห็นถึงแนวทางหรือวิธีการในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ กระบวนการเรียนรู้ แนวทางในการปฏิบัติเพื่อนำไปสู่จุดมุ่งหมาย เป้าหมายที่กำหนดไว้ ซึ่งในเด็กปฐมวัยจุดมุ่งหมายหลักคือ การพัฒนาเด็กทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ –จิตใจ สังคม และสติปัญญา
2. หลักการ ที่เป็นส่วนที่แสดงถึงหลักการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัยที่สอดคล้องกับแนวคิดและปรัชญาการศึกษาปฐมวัย
3. จุดหมาย ซึ่งถือเป็นมาตรฐานคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ที่มุ่งให้เด็กมีพัฒนาการด้านร่างกาย อารมณ์-จิตใจ สังคม และสติปัญญา ที่เหมาะสมกับวัย ความสามารถ ความแตกต่างระหว่างบุคคล ซึ่งมีจำนวน 12 มาตรฐาน
4. คุณลักษณะตามวัย เป็นความสามารถตามวัยหรือพัฒนาการตามธรรมชาติ เมื่อเด็กมีอายุถึงวัยนั้น ๆ ซึ่งเป็นข้อมูลที่ผู้สอนต้องรู้และเข้าใจ เพื่อจะได้จัดประสบการณ์ให้เด็กแต่ละวัยได้ถูกต้อง เหมาะสม และพัฒนาเด็กให้เต็มตามความสามารถและศักยภาพ
5. ระยะเวลาเรียน เป็นการกำหนดระยะเวลาเรียนที่กำหนดไว้สำหรับสถานศึกษาใช้เป็นเกณฑ์ ซึ่งกำหนดไว้ประมาณ 1-3 ปี การศึกษาโดยประมาณ
6. สาระการเรียนรู้ กำหนดเป็น 2 ส่วน คือ ประสบการณ์สำคัญ และสาระที่ควรเรียนรู้
8. ขอบข่ายกิจกรรมประจำวัน เป็นกิจกรรมที่จะนำมาจัดในแต่ละวัน โดยในแต่ละวันต้องครอบคลุมพัฒนากล้ามเนื้อใหญ่ – เล็ก พัฒนาอารมณ์ จิตใจ ปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม พัฒนาสังคมนิสัย พัฒนาการคิด พัฒนาภาษา และส่งเสริมจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์
9. การประเมินพัฒนาการ เป็นการประเมินพัฒนาการทุกด้านอย่างเป็นกระบวนการต่อเนื่องกันในกิจกรรมที่เด็กทำตามปกติ
10. การจัดหลักสูตรสถานศึกษา เป็นคำแนะนำเกี่ยวกับจุดมุ่งหมายและการสร้างหลักสูตรสถานศึกษา
11. การจัดการศึกษาปฐมวัย (เด็กอายุ 3- 5ปี) สำหรับกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ เป็นคำแนะนำเกี่ยวกับการจัดการศึกษาปฐมวัย สำหรับเด็กพิการ เด็กด้อยโอกาส เด็กที่มีความสามารถพิเศษ
12. การเชื่อมต่อของการศึกษาระดับปฐมวัยกับระดับประถมศึกษาปีที่1 เป็นการแนะนำเกี่ยวกับบทบาทของบุคลากรทุกฝ่ายในการสร้างรอยเชื่อมต่อ โดยเฉพาะระหว่างหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย ในช่วงอายุ 3-5 ปี กับหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน ช่วงชั้นที่ 1 (ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1)
ปรัชญาการศึกษาปฐมวัย
การศึกษาปฐมวัยเป็นการพัฒนาเด็กตั้งแต่แรกเกิดถึง 5 ปี บนพื้นฐานการอบรมเลี้ยงดูและการส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ที่สนองต่อธรรมชาติและพัฒนาการของเด็กแต่ละคน ตามศักยภาพ ภายใต้บริบทสังคม-วัฒนธรรมที่เด็กอาศัยอยู่ ด้วยความรัก ความเอื้ออาทร และความเข้าใจของทุกคนเพื่อสร้างรากฐานคุณภาพชีวิตให้เด็กพัฒนาไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์เกิดคุณค่าต่อตนเองและสังคม
1.4.1 พัฒนาการด้านร่างกาย
1.4.1.1 กระโดดขาเดียวไปข้างหน้าอย่างต่อเนื่อง
1.4.1.2 รับลูกบอลที่กระดอนขึ้นจากพื้นได้ด้วยมือทั้งสองข้าง
1.4.1.3 เดินขึ้น ลงบันไดสลับเท่าได้อย่างคล่องแคล่ว
1.4.1.4 เขียนรูปสามเหลี่ยมตามแบบได้
1.4.1.5 ตัดกระดาษตามแนวเส้นโค้งที่กำหนด
1.4.1.6 ใช้กล้ามเนื้อเล็กได้ดี เช่น ติดกระดุม ผูกเชือกรองเท้า ฯลฯ
1.4.1.7 ยืดตัว คล่องแคล่ว
1.4.2 พัฒนาการด้านอารมณ์และจิตใจ
1.4.2.1 แสดงอารมณ์ได้สอดคล้องกับสถานการณ์อย่างเหมาะสม
1.4.2.2 ชื่นชมความสามารถและผลงานของตนเองและผู้อื่น
1.4.2.3 ยึดตนเองเป็นศูนย์กลางน้อยลง
1.4.3 พัฒนาการด้านสังคม
1.4.3.1 ปฏิบัติกิจวัตรประจำวันได้ด้วยตนเอง
1.4.3.2 เล่นหรือทำงานโดยมีจุดมุ่งหมายร่วมกับผู้อื่นได้
1.4.3.3 พบผู้ใหญ่ รู้จักไหว้ ทำความเคารพ
1.4.3.4 รู้จักขอบคุณ เมื่อได้รับของจากผู้ใหญ่
1.4.3.5 รับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมาย
1.4.4 พัฒนาการด้านสติปัญญา
1.4.4.1 บอกความแตกต่างของกลิ้น สี เสียง รส รูปร่าง จำแนกและจัดหมวดหมู่สิ่งของได้
1.4.4.2 บอกชื่อ นามสกุล และอายุของตนเองได้
1.4.4.3 พยายามหาวิธีแก้ปัญหาด้วยตนเอง
1.4.4.4 สนทนาโต้ตอบ/เล่าเป็นเรื่องราวได้
1.4.4.5 สร้างผลงานตามความคิดของตนเอง โดยมีรายละเอียดเพิ่มขึ้นและแปลกใหม่
1.4.4.6 รู้จักใช้คำถาม ทำไม อย่างไร
1.4.4.7 เริ่มเข้าใจสิ่งที่เป็นนามธรรม
1.4.4.8 นับปากเปล่าได้ถึง 20
หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พ.ศ. 2546 กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ ได้แสดงถึงส่วนต่างๆ ที่เป็นองค์ประกอบของหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยไว้ดังนี้
1. ปรัชญาการศึกษาปฐมวัย เป็นแนวคิด ค่านิยม ความเชื่อที่แสดงให้เห็นถึงแนวทางหรือวิธีการในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ กระบวนการเรียนรู้ แนวทางในการปฏิบัติเพื่อนำไปสู่จุดมุ่งหมาย เป้าหมายที่กำหนดไว้ ซึ่งในเด็กปฐมวัยจุดมุ่งหมายหลักคือ การพัฒนาเด็กทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ –จิตใจ สังคม และสติปัญญา
2. หลักการ ที่เป็นส่วนที่แสดงถึงหลักการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัยที่สอดคล้องกับแนวคิดและปรัชญาการศึกษาปฐมวัย
3. จุดหมาย ซึ่งถือเป็นมาตรฐานคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ที่มุ่งให้เด็กมีพัฒนาการด้านร่างกาย อารมณ์-จิตใจ สังคม และสติปัญญา ที่เหมาะสมกับวัย ความสามารถ ความแตกต่างระหว่างบุคคล ซึ่งมีจำนวน 12 มาตรฐาน
4. คุณลักษณะตามวัย เป็นความสามารถตามวัยหรือพัฒนาการตามธรรมชาติ เมื่อเด็กมีอายุถึงวัยนั้น ๆ ซึ่งเป็นข้อมูลที่ผู้สอนต้องรู้และเข้าใจ เพื่อจะได้จัดประสบการณ์ให้เด็กแต่ละวัยได้ถูกต้อง เหมาะสม และพัฒนาเด็กให้เต็มตามความสามารถและศักยภาพ
5. ระยะเวลาเรียน เป็นการกำหนดระยะเวลาเรียนที่กำหนดไว้สำหรับสถานศึกษาใช้เป็นเกณฑ์ ซึ่งกำหนดไว้ประมาณ 1-3 ปี การศึกษาโดยประมาณ
6. สาระการเรียนรู้ กำหนดเป็น 2 ส่วน คือ ประสบการณ์สำคัญ และสาระที่ควรเรียนรู้
- ประสบการณ์สำคัญ เป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับการพัฒนาเด็กทางด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา ซึ่งช่วยให้เด็กเกิดทักษะที่สำคัญสำหรับการสร้างองค์ความรู้โดยให้เด็กได้มีปฏิสัมพันธ์กับวัสดุ สิ่งของและบุคคลต่าง ๆ รอบตัว รวมทั้งปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรมไปพร้อม ๆ กัน
- สาระที่ควรเรียนรู้ เป็นเรื่องราวรอบตัวเด็กที่นำมาเป็นสื่อในการจัดกิจกรรมให้เด็กเกิดการเรียนรู้ ไม่เน้นการท่องจำเนื้อหา แต่ให้เด็กเกิดการเรียนรู้เรื่องราวต่าง ๆ โดย ให้เรียนรู้ผ่านประสบการณ์สำคัญดังกล่าวข้างต้น
8. ขอบข่ายกิจกรรมประจำวัน เป็นกิจกรรมที่จะนำมาจัดในแต่ละวัน โดยในแต่ละวันต้องครอบคลุมพัฒนากล้ามเนื้อใหญ่ – เล็ก พัฒนาอารมณ์ จิตใจ ปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม พัฒนาสังคมนิสัย พัฒนาการคิด พัฒนาภาษา และส่งเสริมจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์
9. การประเมินพัฒนาการ เป็นการประเมินพัฒนาการทุกด้านอย่างเป็นกระบวนการต่อเนื่องกันในกิจกรรมที่เด็กทำตามปกติ
10. การจัดหลักสูตรสถานศึกษา เป็นคำแนะนำเกี่ยวกับจุดมุ่งหมายและการสร้างหลักสูตรสถานศึกษา
11. การจัดการศึกษาปฐมวัย (เด็กอายุ 3- 5ปี) สำหรับกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ เป็นคำแนะนำเกี่ยวกับการจัดการศึกษาปฐมวัย สำหรับเด็กพิการ เด็กด้อยโอกาส เด็กที่มีความสามารถพิเศษ
12. การเชื่อมต่อของการศึกษาระดับปฐมวัยกับระดับประถมศึกษาปีที่1 เป็นการแนะนำเกี่ยวกับบทบาทของบุคลากรทุกฝ่ายในการสร้างรอยเชื่อมต่อ โดยเฉพาะระหว่างหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย ในช่วงอายุ 3-5 ปี กับหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน ช่วงชั้นที่ 1 (ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1)
ปรัชญาการศึกษาปฐมวัย
การศึกษาปฐมวัยเป็นการพัฒนาเด็กตั้งแต่แรกเกิดถึง 5 ปี บนพื้นฐานการอบรมเลี้ยงดูและการส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ที่สนองต่อธรรมชาติและพัฒนาการของเด็กแต่ละคน ตามศักยภาพ ภายใต้บริบทสังคม-วัฒนธรรมที่เด็กอาศัยอยู่ ด้วยความรัก ความเอื้ออาทร และความเข้าใจของทุกคนเพื่อสร้างรากฐานคุณภาพชีวิตให้เด็กพัฒนาไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์เกิดคุณค่าต่อตนเองและสังคม
หลักการ
1. ส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้และพัฒนาการที่ครอบคลุมเด็กปฐมวัยทุกประเภท
2. ยึดหลักการอบรมเลี้ยงดูและให้การศึกษาที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ โดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล และวิถีชีวิตของเด็กตามบริบทของชุมชน สังคม และวัฒนธรรมไทย
3. พัฒนาเด็กโดยองค์รวมผ่านการเล่นและกิจกรรมที่เหมาะสมกับวัย
4. จัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้สามารถดำรงชีวิตประจำวันได้อย่างมีคุณภาพและมีความสุข
5. ประสานความร่วมมือระหว่างครอบครัว ชุมชน และสถานศึกษาในการพัฒนาเด็ก
หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย
หลักสูตรการศึกษาปฐมวัยสำหรับเด็กอายุ 3 – 5 ปี เป็นการจัดการศึกษาในลักษณะของการอบรมเลี้ยงดูและให้การศึกษา เด็กจะได้รับการพัฒนาทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา ตามวัยและความสามารถของแต่ละบุคคล
จุดหมาย
หลักสูตรการศึกษาปฐมวัยสำหรับเด็กอายุ 3 – 5 ปี มุ่งให้เด็กมีพัฒนาการด้านด้าน ร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา ที่เหมาะสมกับวัย ความสามารถและความแตกต่างระหว่างบุคคล จึงกำหนดจุดหมายซึ่งถือเป็นมาตรฐานคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ดังนี้
1. ร่างกายเจริญเติบโตตามวัย และมีสุขนิสัยที่ดี
2. กล้ามเนื้อใหญ่และกล้ามเนื้อเล็กแข็งแรง ใช้ได้อย่างคล่องแคล่วและประสานสัมพันธ์กัน
3. มีสุขภาพจิตดี และมีความสุข
4. มีคุณธรรม จริยธรรม และมีจิตใจที่ดีงาม
5. ชื่นชมและแสดงออกทางศิลปะ ดนตรี การเคลื่อนไหว และรักการออกกำลังกาย
6. ช่วยเหลือตนเองได้เหมาะสมกับวัย
7. รักธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม และความเป็นไทย
8. อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุขและปฏิบัติตนเป็นสมาชิกที่ดีของสังคมในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
9. ใช้ภาษาสื่อสารได้เหมาะสมกับวัย
10. มีความสามารถในการคิดและการแก้ปัญหาได้เหมาะสมกับวัย
11. มีจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์
12. มีเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้ และมีทักษะในการแสวงความรู้
คุณลักษณะ
เด็กอายุ 5 ปี
1.4.1.1 กระโดดขาเดียวไปข้างหน้าอย่างต่อเนื่อง
1.4.1.2 รับลูกบอลที่กระดอนขึ้นจากพื้นได้ด้วยมือทั้งสองข้าง
1.4.1.3 เดินขึ้น ลงบันไดสลับเท่าได้อย่างคล่องแคล่ว
1.4.1.4 เขียนรูปสามเหลี่ยมตามแบบได้
1.4.1.5 ตัดกระดาษตามแนวเส้นโค้งที่กำหนด
1.4.1.6 ใช้กล้ามเนื้อเล็กได้ดี เช่น ติดกระดุม ผูกเชือกรองเท้า ฯลฯ
1.4.1.7 ยืดตัว คล่องแคล่ว
1.4.2 พัฒนาการด้านอารมณ์และจิตใจ
1.4.2.1 แสดงอารมณ์ได้สอดคล้องกับสถานการณ์อย่างเหมาะสม
1.4.2.2 ชื่นชมความสามารถและผลงานของตนเองและผู้อื่น
1.4.2.3 ยึดตนเองเป็นศูนย์กลางน้อยลง
1.4.3 พัฒนาการด้านสังคม
1.4.3.1 ปฏิบัติกิจวัตรประจำวันได้ด้วยตนเอง
1.4.3.2 เล่นหรือทำงานโดยมีจุดมุ่งหมายร่วมกับผู้อื่นได้
1.4.3.3 พบผู้ใหญ่ รู้จักไหว้ ทำความเคารพ
1.4.3.4 รู้จักขอบคุณ เมื่อได้รับของจากผู้ใหญ่
1.4.3.5 รับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมาย
1.4.4 พัฒนาการด้านสติปัญญา
1.4.4.1 บอกความแตกต่างของกลิ้น สี เสียง รส รูปร่าง จำแนกและจัดหมวดหมู่สิ่งของได้
1.4.4.2 บอกชื่อ นามสกุล และอายุของตนเองได้
1.4.4.3 พยายามหาวิธีแก้ปัญหาด้วยตนเอง
1.4.4.4 สนทนาโต้ตอบ/เล่าเป็นเรื่องราวได้
1.4.4.5 สร้างผลงานตามความคิดของตนเอง โดยมีรายละเอียดเพิ่มขึ้นและแปลกใหม่
1.4.4.6 รู้จักใช้คำถาม ทำไม อย่างไร
1.4.4.7 เริ่มเข้าใจสิ่งที่เป็นนามธรรม
1.4.4.8 นับปากเปล่าได้ถึง 20
สาระการเรียนรู้และประสบการณ์สำคัญ
สาระการเรียนรู้ใช้เป็นสื่อกลางในการจัดกิจกรรมให้กับเด็ก เพื่อส่งเสริมพัฒนาการทุกด้าน ทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา ซึ่งจำเป็นต่อการพัฒนาเด็กให้เป็นมนุษย์ ที่สมบูรณ์ ทั้งนี้สาระการเรียนรู้ประกอบด้วย องค์ความรู้ ทักษะหรือกระบวนการ และคุณลักษณะหรือค่านิยม คุณธรรม จริยธรรม ความรู้สำหรับเด็กอายุ 3-5 ปี จะเป็นเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับตัวเด็กบุคคลและสถานที่รอบตัวเด็ก ธรรมชาติรอบตัวเด็ก และสิ่งต่าง ๆ รอบตัวเด็ก มีโอกาสใกล้ชิดหรือมีปฏิสัมพันธ์ในชีวิตประจำวันและเป็นสิ่งที่เด็กสนใจ จะไม่เน้นเนื้อหา การท่องจำ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับทักษะหรือกระบวนการจำเป็นต้องบูรณาการทักษะที่สำคัญและจำเป็นสำหรับเด็ก เช่นทักษะการเคลื่อนไหว ทักษะทางสังคม ทักษะการคิด ทักษะการใช้ภาษา คณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ เป็นต้น ขณะเดียวกันควรปลูกฝังให้เด็กเกิดเจตคติที่ดี มีค่านิยมที่พึงประสงค์ เช่น ความรู้สึกที่ดีต่อตนเองและผู้อื่น รักการเรียนรู้ รักธรรมชาติสิ่งแวดล้อมและมีคุณธรรม จริยธรรมที่เหมาะสมกับวัย เป็นต้น
ผู้สอนหรือผู้จัดการศึกษา อาจนำสาระการเรียนรู้มาจัดในลักษณะหน่วยการสอนแบบบูรณาการหรือเลือกใช้วิธีการที่สอดคล้องกับปรัชญาและหลักการจัดการศึกษาปฐมวัย สาระการเรียนรู้กำหนดเป็น 2 ส่วนดังนี้
1.6.1 ประสบการณ์สำคัญ
ประสบการณ์สำคัญเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่งสำหรับการพัฒนาเด็กทางด้าน
ร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญาช่วยให้เด็กเกิดทักษะที่สำคัญสำหรับการสร้างองค์ความรู้ โดยให้เด็กได้มีปฏิสัมพันธ์กับวัตถุ สิ่งของบุคคลต่าง ๆ ที่อยู่รอบตัวรวมทั้งปลูกฝัง คุณธรรม จริยธรรม ไปพร้อมกันด้วย ประสบการณ์สำคัญมี ดังนี้
1.6.1.1 ประสบการณ์สำคัญที่ส่งเสริมพัฒนาการด้านร่างกายได้แก่
(1) การทรงตัวและการประสานสัมพันธ์ของกล้ามเนื้อใหญ่
(1.1) การเคลื่อนไหวอยู่กับที่และการเคลื่อนไหวเคลื่อนที่
(1.2) การเคลื่อนไหวพร้อมวัสดุอุปกรณ์
(1.3) การเล่นเครื่องเล่นสนาม
(2) การประสานสัมพันธ์ของกล้ามเนื้อเล็ก
(2.1) การเล่นเครื่องเล่นสัมผัส
(2.2) การเขียนภาพและการเล่นกับสี
(2.3) การปั้นและประดิษฐ์สิ่งต่าง ๆ ด้วยดินเหนียว ดินน้ำมัน
แท่งไม้ เศษวัสดุ ฯลฯ
(3) การรักษาสุขภาพ
(3.1) การปฏิบัติตนตามสุขอนามัย
(4) การรักษาความปลอดภัย
(4.1) การรักษาความปลอดภัยของตนเองและผู้อื่นในกิจวัตร
ประจำวัน
1.6.1.2 ประสบการณ์สำคัญที่ส่งเสริมพัฒนาการด้านอารมณ์และจิตใจ ได้แก่
(1) ดนตรี
(1.1) การแสดงปฏิกิริยาโต้ตอบเสียงดนตรี
(1.2) การเล่นเครื่องดนตรีง่าย ๆ เช่น เครื่องดนตรีประเภทเคาะ ประเภทตี ฯลฯ
(1.3) การร้องเพลง
(2) สุนทรียภาพ
(2.1) การชื่นชมและสร้างสรรค์สิ่งสวยงาม
(2.2) การแสดงออกอย่างสนุกสนานกับเรื่องตลก ขำขันและเรื่องราว/เหตุการณ์ที่สนุกสนานต่าง ๆ
(3) การเล่น
(3.1) การเล่นอิสระ
(3.2) การเล่นรายบุคคล การเล่นเป็นกลุ่ม
(3.3) การเล่นในห้องเรียนและนอกห้องเรียน
(4) คุณธรรม จริยธรรม
(4.1) การปฏิบัติตนตามหลักศาสนาที่นับถือ
1.6.1.3 ประสบการณ์สำคัญที่ส่งเสริมพัฒนาการด้านสังคม ได้แก่ การเรียนรู้ทางสังคม
(1) การปฏิบัติกิจวัตรประจำวันของตนเอง
(2) การเล่นและการทำงานร่วมกับผู้อื่น
(3) การวางแผน ตัดสินใจเลือก และลงมือปฏิบัติ
(4) การมีโอกาสได้รับรู้ความรู้สึก ความสนใจและความต้องการของตนเองและผู้อื่น
(5) การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและเคารพความคิดเห็นของผู้อื่น
(6) การแก้ปัญหาในการเล่น
(7) การปฏิบัติตามวัฒนธรรมท้องถิ่นที่อาศัยอยู่และความเป็นไทย
1.6.1.4 ประสบการณ์สำคัญที่ส่งเสริมพัฒนาการด้านสติปัญญา ได้แก่
(1) การคิด
(1.1) การรู้จักสิ่งต่าง ๆ ฟัง สัมผัส ชิมรส และดมกลิ่น
(1.2) การเลียนแบบการกระทำและเสียงต่าง ๆ
(1.3) การเชื่อมโยงภาพ ภาพถ่าย และรูปแบบต่าง ๆ กับสิ่งของหรือสถานที่จริง
(1.4) การรับรู้และแสดงความรู้สึกผ่านสื่อวัสดุ ของเล่น และผลงาน
(1.5) การแสดงความคิดสร้างสรรค์ผ่านสื่อ วัสดุ ต่าง ๆ
(2) การใช้ภาษา
(2.1) การแสดงความรู้สึกด้วยคำพูด
(2.2) การพูดกับผู้อื่นเกี่ยวกับประสบการณ์ของตนเองหรือเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับตนเอง
(2.3) การอธิบายเกี่ยวกับสิ่งของ เหตุการณ์ และความสัมพันธ์ของสิ่งต่าง ๆ
(2.4) การฟังเรื่องราว นิทาน คำคล้องจอง คำกลอน
(2.5) การเขียนในหลายรูปแบบผ่านประสบการณ์ที่สื่อความหมายต่อเด็กเขียนภาพ เขียนขีดเขี่ย เขียนคล้ายตัวอักษร เขียนเหมือน สัญลักษณ์ เขียนชื่อตนเอง
(2.6) การอ่านในหลายรูปแบบ ผ่านประสบการณ์ที่สื่อความหมายต่อเด็กอ่านภาพหรือสัญลักษณ์จากหนังสือนิทาน/เรื่องราวที่สนใจ
(3) การสังเกต การจำแนก และการเปรียบเทียบ
(3.1) การสำรวจและอธิบายความเหมือน ความต่างของสิ่งของต่าง ๆ
(3.2) การจับคู่ การจำแนก และการจัดกลุ่ม
(3.3) การเปรียบเทียบ เช่น ยาว/สั้น ขรุขระ/เรียบ ฯลฯ
(3.4) การเรียงลำดับสิ่งต่าง ๆ
(3.5) การคาดคะเนสิ่งต่าง ๆ
(3.6) การตั้งสมมติฐาน
(3.7) การทดลองสิ่งต่าง ๆ
(3.8) การสืบค้นข้อมูล
(3.9) การใช้หรืออธิบายสิ่งต่าง ๆ ด้วยวิธีการที่หลากหลาย
(4) จำนวน
(4.1) การเปรียบเทียบจำนวนมากว่า น้อยกว่า เท่ากัน
(4.2) การนับสิ่งต่าง ๆ
(4.3) การจับคู่หนึ่งต่อหนึ่ง
(4.4) การเพิ่มขึ้นหรือลดลงของจำนวนหรือปริมาณ
(5) มิติสัมพันธ์(พื้นที่/ระยะ)
(5.1) การต่อเข้าด้วยกัน การแยกออก การบรรจุและการเทออก
(5.2) การสังเกตสิ่งต่าง ๆ และสถานที่จากมุมมองที่ต่าง ๆ กัน
(5.3) การอธิบายในเรื่องตำแหน่งของสิ่งต่าง ๆ ที่ส้มพันธ์กัน
(5.4) การอธิบายในเรื่องทิศทางการเคลื่อนที่ของคนและสิ่งต่างๆ
(5.6) การสื่อความหมายของมิติสัมพันธ์ด้วยภาพวาด ภาพถ่ายและรูปภาพ
(6) เวลา
(6.1) การเริ่มต้นและการหยุดการกระทำโดยสัญญาณ
(6.2) การเปรียบเทียบเวลา เช่น ตอนเช้า ตอนเย็น เมื่อวานนี้ พรุ่งนี้ ฯลฯ
(6.3) การเรียงลำดับเหตุการณ์ต่าง ๆ
(6.4) การสังเกตความเปลี่ยนแปลงของฤดู
อ้างอิง อาจารย์ ศจีมาศ พูลทรัพย์ www.rncc.ac.th/Media/Early_Childhood_Education/...3.../unit3.ppt
และ นายสุบัน สุขวิเศษ http://sulove001.blogspot.com/2011/10/1.html
หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ 2551
อ่านได้ที่ https://kruesantutor.files.wordpress.com/2013/04/e0b8aae0b8a3e0b8b8e0b89be0b8abe0b8a5e0b8b1e0b881e0b8aae0b8b9e0b895e0b8a3e0b981e0b881e0b899e0b881e0b8a5e0b8b2e0b887e0b881e0b8b2e0b8a3.pdf
และ นายสุบัน สุขวิเศษ http://sulove001.blogspot.com/2011/10/1.html
หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ 2551
อ่านได้ที่ https://kruesantutor.files.wordpress.com/2013/04/e0b8aae0b8a3e0b8b8e0b89be0b8abe0b8a5e0b8b1e0b881e0b8aae0b8b9e0b895e0b8a3e0b981e0b881e0b899e0b881e0b8a5e0b8b2e0b887e0b881e0b8b2e0b8a3.pdf
1. ความหมาย ความสำคัญ องค์ประกอบของหลักสูตร ประเภทของหลักสูตรและพัฒนาการของหลักสูตร
ราชบัณฑิตยสถาน (2546 : 1272) กล่าวว่า หลักสูตร หมายถึงประมวลวิชาและกิจกรรมต่างๆที่กำหนดไว้ในสถานศึกษา เพื่อวัตถุประสงค์อย่างใดอย่างหนึ่ง
สำหรับ ธำรง บัวศรี (2542 : 7) ให้ความหมายว่า หลักสูตร คือ แผนซึ่งได้ออกแบบจัดทำขึ้นเพื่อแสดงถึงจุดหมายการจัดเนื้อหา กิจกรรมและมวลประสบการณ์ ในแต่ละโปรแกรมการศึกษา เพื่อผู้เรียนมีพัฒนาการในด้านต่างๆตามจุดหมายที่ได้กำหนดไว้
ความสำคัญของหลักสูตร อำภา บุญช่วย (2533 : 20 - 21) สรุปได้ดังนี้
สำหรับ ธำรง บัวศรี (2542 : 7) ให้ความหมายว่า หลักสูตร คือ แผนซึ่งได้ออกแบบจัดทำขึ้นเพื่อแสดงถึงจุดหมายการจัดเนื้อหา กิจกรรมและมวลประสบการณ์ ในแต่ละโปรแกรมการศึกษา เพื่อผู้เรียนมีพัฒนาการในด้านต่างๆตามจุดหมายที่ได้กำหนดไว้
ความสำคัญของหลักสูตร อำภา บุญช่วย (2533 : 20 - 21) สรุปได้ดังนี้
1. เป็นเอกสารของทางราชการ หรือเป็นบัญญัติของรัฐบาล เพื่อให้บุคคลที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการศึกษาปฏิบัติ ไม่ว่าเป็นสถาบันการศึกษาของรัฐบาลหรือเอกชน ดังนั้นหลักสูตรจึงเปรียบเสมือน “คำสั่ง” หรือ “ข้อบังคับ” ของทางราชการชนิดหนึ่งนั่นเอง
2. เป็นเกณฑ์มาตรฐานทางการศึกษา เพื่อควบคุมการเรียนการสอนในสถาบันการศึกษาระดับต่างๆ รวมทั้งเป็นเกณฑ์มาตรฐานอย่างหนึ่งในการที่จะจัดสรรงบประมาณ บุคลากร อาคารสถานที่และวัสดุอุปกรณ์ทางการศึกษาของรัฐบาลให้แก่โรงเรียน
3. เป็นแผนการดำเนินงานของนักบริหารการศึกษาที่จะต้องอำนวยการควบคุมดูแล และติดตามประเมินผลให้เป็นไปตามนโยบายการจัดการศึกษาของรัฐบาล
4. เป็นแผนการปฏิบัติงานหรือเครื่องชี้นำทางในการปฏิบัติงานของครู เพราะหลักสูตรจะเสนอแนะจุดมุ่งหมาย การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน และการประเมินผลการเรียนการสอนซึ่งครูควรจะปฏิบัติอย่างจริงจัง
5. เป็นเครื่องมือของรัฐในอันที่จะพัฒนาคนและพัฒนากำลังคนซึ่งจะเป็นตัวจักรสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติตามแผนของรัฐบาล
6. เป็นเครื่องชี้ถึงความเจริญของชาติ เพราะการศึกษาเป็นเครื่องมือในการพัฒนาคน ถ้าประเทศชาติใดมีหลักสูตรที่เหมาะสม ทันสมัย และมีประสิทธิภาพ ก็จะทำให้คนในประเทศของตนมีคุณภาพ
นอกจากนี้ สุนีย์ ภู่พันธ์ (2546 : 16) ได้กล่าวถึงความสำคัญของหลักสูตรสรุปได้ดังนี้
1. หลักสูตรเป็นเสมือนเบ้าหลอมพลเมืองให้มีคุณภาพ
2. หลักสูตรเป็นโครงการและแนวทางในการให้การศึกษา
3. หลักสูตรเป็นแนวทางในการส่งเสริมความเจริญงอกงามและพัฒนาการของเด็ก
ตามจุดหมายของการจัดการศึกษา
4. หลักสูตรเป็นเครื่องกำหนดแนวทางในการจัดประสบการณ์ว่าผู้เรียนและสังคมควรจะได้รับสิ่งใดบ้างที่เป็นประโยชน์แก่เด็กโดยตรง
5. หลักสูตรเป็นเครื่องมือกำหนดว่าเนื้อหาวิชาอะไรบ้างที่จะช่วยให้เด็กมีชีวิตอยู่ในสังคมอย่างราบรื่น เป็นพลเมืองที่ดีของประเทศและบำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์แก่สังคม
6. หลักสูตรเป็นเครื่องกำหนดว่าวิธีการดำเนินการดำเนินชีวิตของเด็กให้เป็นไปด้วยความราบรื่นและผาสุกเป็นอย่างไร
7. หลักสูตรย่อมกำหนดแนวทางความรู้ ความสามารถ ความประพฤติทักษะและเจตคติของผู้เรียนในอันที่อยู่ร่วมกันในสังคมและบำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ต่อชุมชนและชาติบ้านเมือง
องค์ประกอบหลักสูตร
สำหรับ ไทเลอร์ (Tyler, 1950 : 1 อ้างถึงใน ชุมศักดิ์ อินทร์รักษ์, 2551 : 48 ) ได้เสนอข้อคิดเห็นไว้ 4 ประการในการจัดทำหลักสูตรดังนี้
1. ความมุ่งหมายทางการศึกษาที่สถาบันต้องการให้บรรลุมีอะไรบ้าง
2. เพื่อให้บรรลุความมุ่งหมาย จะต้องจัดประสบการณ์อะไรบ้าง
3. ประสบการณ์ที่กำหนดไว้สามารถจัดให้มีประสิทธิภาพได้อย่างไร
4. ทราบได้อย่างไรว่าบรรลุความประสงค์แล้ว
โบแชมป์ (Beauchamp, 1975:107. อ้างถึงในชุมศักดิ์ อินทร์รักษ์, 2551 : 48)ได้กำหนดองค์ประกอบของหลักสูตรไว้ 4 ประการ
1. เนื้อหา
2. จุดมุ่งหมาย
3. การนำหลักสูตรไปใช้
4. การประเมินผล